iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

อุทยานธรณีโลก ประวัติการทำงาน UNESCO

ประวัติการทำงานUNESCO กับงานด้านอุทยานธรณี

ความเป็นมาของอุทยานธรณีโลก

อุทยานธรณี (Geoparks) เกิดมาภายใต้ปรัชญาการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะในส่วนที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยาอันเป็นมรดกของโลก แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และมีพัฒนาการเป็นการประกาศความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ผ่านทางการป้องกันมรดกทางธรณีวิทยา และการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา (Geotourism) ของแหล่งสำคัญทางธรณีวิทยาในยุโรป พร้อมทั้งมีการก่อตั้ง European Geoparks Ketwork (EGN) และมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการในความร่วมมือกับองค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

การทำงานของ UNESCO กับงานด้านอุทยานธรณีในปี พ.ศ. 2544 และต่อมาในปี 2547 ได้มีการนำอุทยานธรณีในประเทศยุโรป 14 แห่ง ร่วมกับอุทยานธรณีระดับชาติของจีน 8 แห่ง ร่วมกันจัดตั้ง เครือข่ายอุทยานธรณีของโลก (Global Geoparks Network: GGN) ที่ดำเนินการโดย UNESCO เป็นเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญของโลก รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อชุมชนในระดับประเทศ โดยเป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์แหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่น สวยงามหรือมีความสำคัญ ทางธรณีประวัติของแต่ละประเทศ ให้กลายเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ทางธรรมชาติระดับโลกโดยการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่น” ที่มีลักษณะเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก และสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวธรรมชาติในระดับโลกไปพร้อมกัน

อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียว และเป็นสถานที่ซึ่งอาจมีเพียงที่เดียว และมีลักษณะทางภูมิทัศน์ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาในระดับโลก ที่นานาชาติได้รับทราบและมีส่วนร่วมในเป็นผู้ร่วมจัดการ ด้วยแนวคิดแบบองค์รวมในด้านการคุ้มครอง การศึกษา และการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้แนวคิดวิธีการพัฒนาจากล่างขึ้นบน ทำการผสมผสานการอนุรักษ์เข้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและดูแลที่มากขึ้น โดยแนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยมมากในการพัฒนาของยูเนสโก

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิก 195 ประเทศของ UNESCO ได้ให้สัตยาบันในการสร้างป้ายกำกับใหม่ UNESCO Global Geoparks ในระหว่างการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 38 ขององค์กร

ปัจจุบัน UNESCO Global Geoparks มีทั้งหมด 180 แห่งใน 46 ประเทศ (Geoparks อุทยานธรณีโลก รายชื่อ (UNESCO Global Geoparks)) ซึ่งความก้าวหน้าต่อเนื่องมาเป็นการแสดงออกถึงการยอมรับของรัฐบาลต่างๆ ในโลก ที่เริ่มเห็นถึงความสำคัญของการจัดการแหล่งธรณีวิทยา (geological sites) และภูมิทัศน์ที่โดดเด่นในลักษณะองค์รวม (landscapes in a holistic manner) มีหลายองค์กรที่เข้ามาสนับสนุนความพยายามของประเทศสมาชิกในการจัดตั้ง UNESCO Global Geoparks ให้มีกระจายไปทั่วโลก โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเป็นกลุ่มเครือข่าย Global Geoparks Network

 

 

ที่มา https://en.unesco.org/

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่

Geoparks อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward