BA Theory ขบวนการทำงานผ่านการเล่นด้วยเลโก้ (LEGO® SERIOUS PLAY® (LSP))
LEGO® SERIOUS PLAY® (LSP) คือ เป็นกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มพูนนวัตกรรมและประสิทธิภาพทางธุรกิจ ขบวนการทำงานที่มุ่งให้ได้ผลจาการระดมสมอง ผ่านการเล่นด้วยตัวต่อเลโก้ กิจกรรมนี้ใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคิดร่วมกันในอค์กร เพื่อใช้แก้ปัญหาและยกระดับการทำงานในธุรกิจให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปอีกขั้น กิจกรรมนี้มีการผสมผสานระหว่างการจัดการทางธุรกิจ การบริหารสมอง การเรียนรู้ และการพัฒนาองค์กรร่วมกกัน เป้นการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน สร้างความเข้าใจร่วมกันในระหว่างทีม ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้ความคิดทางรูปภาพมาสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์หรือสร้างนวัตกรรมทางความคิดตอบโจทย์ที่ต้องการขององค์กร
ประวัติ
ในปี 1994 LEGO ได้รับผลกระทบจากการมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาแย่งลูกค้าในตลาดของเล่นเด็กเช่น วีดิโอเกมส์ CEO ของ LEGO ก็คือ Kjeld Kirk Kristiansen ได้เรียกทีมงานประชุมเพื่อวางแผนรับมือ แต่ว่าการประชุมก็เป็นไปด้วยบรรยากาศเดิมๆ แผนกลยุทธ์ที่คิดได้ก็เดิมๆ จน CEO ต้องให้ 2 ที่ปรึกษาจาก สวิตเซอร์แลนด์ Bart Victor และ Johan Roos ช่วยคิดว่า จะมีวิธีไหน ที่ทำให้ทีมงานมีไอเดียใหม่มาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เจออยู่ได้ ซึ่งที่ปรึกษาทั้ง 2 คนได้หยิบเอาผลิตภัณฑ์ของบริษัทก็คือ LEGO มาใช้เป็นเครื่องมือในการประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถสื่อสารความคิดมุมมองของตนเองได้ดียิ่งขึ้น และได้พัฒนากระบวนการนี้มาเรื่อยๆ โดยใช้การสังเกตการเรียนรู้ของเด็กระหว่างที่เล่น LEGO มาประยุกต์รวมกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ จนกลายเป็น LEGO® SERIOUS PLAY® โดยเชื่อว่า ถ้าเด็กเล่น LEGO เพื่อสร้างจินตนาการและความฝันให้ออกมาเป็นโมเดลที่จับต้องได้ ผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ LEGO เพื่อทำให้เกิดไอเดีย วิสัยทัศน์ แผนการต่างๆ ที่คิดไว้ ออกมาชัดเจนเป็นจริงจับต้องได้เช่นกัน
สรุปแล้ว LEGO® SERIOUS PLAY® ก็คือการเทคนิคการใช้ LEGO ให้เป็นเครื่องมือช่วยให้ทีมงานได้สื่อสารแนวคิด มุมมองภายในทีมได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ทีมงานมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่กำลังพูดถึงเป็นภาพเดียวกัน และนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหา วางแผนกลยุทธ์ หรือเพื่อสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น LSP ยังทำให้ผู้เล่นแต่ละคนเข้าใจตัวเองได้ลึกซึ้งมากขึ้นด้วย ระหว่างที่กำลังเล่น LEGO ผ่านเทคนิคของ LSP
กระบวนการ LSP จะสร้างคุณค่าต่างจากการระดมสมอง (brainstorm) หรือการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (workshop) ทั่วไป จะเป็นการคิดโดยใช้ของระบบประสาทที่มือ (Hands-on learning) ควบคู่กับการทำงานของสมอง (Minds-on learning) ร่วมกับกระบวนการที่ออกแบบให้ทุกคนได้คิดฟังและใช้ศักยภาพสมองของตนร่วมกับทีมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ LSP อาจใช้ออกแบบและนำกระบวนการให้ผู้ร่วมกิจกรรมให้ถูกดึงดูดความสนใจและจิตใจให้จดจ่ออยู่ในงาน
ด้วยประสิทธิภาพของ LSP ที่ผ่านการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 15 ปี จะทำให้ผู้บริหารและทีมสร้าง Insight ร่วมกันเพื่อหา solution ใหม่ ๆ ทะลุกรอบแนวคิดเดิม ในแบบที่ไม่สามารถพบได้ด้วยวิธีการอื่นๆ และสามารถยกระดับคุณภาพการปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ในองค์กรได้อย่างก้าวกระโดด
เครื่องมือสำหรับสร้างผลลัพธ์
LSP เป็นเครื่องมือช่วยในการคิดและการสื่อสารที่มีหลักการชัดเจน สร้างสรรค์ และผ่านการทดลองเพื่อมีเป้าหมายในการยกระดับการทำงานในทุกธุรกิจและองค์กร โดยยึดหลักคิดที่ว่า แม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันด้วยอายุ สไตล์การทำงาน พื้นฐานความรู้ ตำแหน่งงาน ความเชื่อ และแม้กระทั่งระดับความผูกพันกับองค์กร แต่ทุกคนในทีมหรือองค์กรล้วนมีของดีที่สามารถช่วยทีมและองค์กรในการบรรลุเป้าหมายได้ หากอยู่ในกระบวนการที่เน้นการสร้าง collective insights ร่วมกันอย่างแท้จริง องค์กรจำนวนมากในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ใช้ LSP ในการเข้าถึงบุคลากร เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและทีม เนื่องจากเป็นวิธีการที่เป็นสากล ทำให้สามารถเปิดโดยความคิดหรือความรู้ของแต่ละคนให้มาแลกเปลี่ยนกันอย่างอิสระ
การใช้ LSP ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาได้มากกว่าในหนึ่งวันแทนการใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการปรึกษาหารือในแบบเดิม ๆ
กระบวนการหลัก LSP คือ ตั้งคำถาม สร้างคำตอบ แบ่งปันความคิด สะท้อนการเรียนรู้ หากหัวหน้าทีมที่ต้องการรวบรวมความคิดของสมาชิกหลายคน หรือสร้างความเป็นทีมเพื่อการแก้ไขปัญหาในทางธุรกิจ ที่เริ่มมีความยากและซับซ้อนนำมาทำการวางกลยุทธ์ หรือใช้หายุติข้อขัดแย้งในองค์กร คุณอาจลองจินตนาการว่าการจะรวบรวมความคิดเห็นของทุกคนอย่างเต็มที่อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับหลายองค์กร ลองนึกถึงการประชุมหรือการอภิปรายต่างๆที่คุณเคยผ่านมา จะดีแค่ไหนหากทุกคนเดินออกจากการระดมสมอง หรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการและเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกเหล่านี้:
– ความคิด, ข้อคิดเห็น, Idea ต่างๆของทุกคนในทีมถูกนำเสนอออกมาอย่างเต็มที่
– ข้อคิดเห็นของทุกคนได้ถูกนำมาถกเถียงและปรับใช้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
– ทุกคนในทีมรู้สึกถึงการและได้ความรู้ใหม่ๆ มีความเข้าใจที่มากขึ้น และได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
– มีความมั่นใจมากขึ้นในข้อสรุปของการสนทนา มีความเชื่อในการเริ่มต้นและสร้างความเปลี่ยนแปลง
– รู้สึกมุ่งมั่น และทุ่มเทต่องานมากขึ้น รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ขององค์กร
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
Theory แนวคิดและทฤษฎีในงานบริหารและการจัดการ (Concepts and Theories BA) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------