กระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process)
กระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process) เป็น กระบวนการที่แลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ทัศนคติ ความคิดเห็น และประสบการณ์ต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีพ อยู่ในสังคมได้เป็นขั้นตอนการรับ–ส่ง และการตีความหมายให้เข้าใจข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล โดยมีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุด
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่างๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม แนวความคิดหรือข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร เป็นผู้ที่จัดเตรียมข่าวสารสำหรับส่งไปยังผู้รับ
2. ข่าวสาร (Message) เป็นสิ่งหรือเรื่องราวที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ ที่จะใช้ส่ง–รับ โดยผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร อาจจะเป็นคำพูด (Verbal) หรือไม่ใช่คำพูดก็ได้(Nonverbal)
3. การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการทำข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งได้
4. ช่องทางการสื่อสาร (Communication) เป็นสื่อหรือเครื่องมือที่ใช้นำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ทางกาย ทางใจ ทางการได้ยิน การดม และการลิ้มรส ทั้งเป็นทางการ (Formal Communication Channels) และไม่เป็นทางการ (Informal Communication Channels)
5. ผู้รับสาร (Receiver) เป็นคนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร จะเป็นผู้ทำให้กระบวนการส่งข่าวอย่างสมบูรณ์
6. ถอดรหัส (Decoding) เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ สัญญาณให้เป็นรูปข่าวสาร หรือเรียกว่าเป็น “กระบวนการแปลความหมายของข่าวสาร” ที่จะทำให้รับข่าวสารถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่ง
7. การแสดงพฤติกรรม (Behavior) แสดงถึงการรับรู้ข่าวสารจะมีการแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น ไม่ชอบ ชอบ เป็นต้น และจะทำให้เกิดการตอบสนองต่อข่าวสารนั้นๆ
8. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการตอบสนองของผู้รับข่าวสารไปยังผู้ส่งข่าวสาร โดยจะตอบสนองเป็นข้อมูลย้อนกลับทางบวก (Positive) และข้อมูลย้อนกลับทางลบ (Negative) ก็ได้ขึ้นอยู่กับข่าวสารที่ถอดรหัส
.
ที่มาข้อมูลและภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)-------------------------------------------------