PM การชะลอเวลาหรือหน่วงเวลา (Postponement)
การชะลอเวลาหรือหน่วงเวลา (Postponement) ในทางโลจิสติกส์คือ วิธีการการที่ผู้ผลิตพยายามยืดหรือเลื่อนเวลากระบวนการเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods, FG) ออกไป โดยอาจพบได้ในหลายส่วนตามความเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นขบวนการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การจัดเก็บ การจำหน่าย หรืออื่นๆ บางครั้งอาจเจอในรูปแบบคำอื่นเช่น Delayed Differentiation ในวงการการจัดการโลจิสติกส์ Postponement เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางซัพพลายเชนที่ ต้องการที่เลื่อนกระบวนการบางส่วนให้มีความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นขบวนการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การจัดเก็บ การจำหน่าย หรืออื่นๆ โดยจะเน้นที่ในส่วนที่ใกล้ที่สุดก่อนส่งมอบสินค้าออกไปยังลูกค้า
Postponement ก็คือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์เพื่อใช้ในการถือครองสินค้าคงคลัง ให้เกิดความเหมาะสม (right inventory) ในสถานที่ที่เหมาะสม (right place) และในรูปแบบที่เหมาะสม (right form) ซึ่งจะให้ดีควรต้องมีการวางแผนเกี่ยวข้องตั้งแต่ในช่วงของการออกแบบผลิตภัณฑ์เลย โดยต้องออกแบบให้มีรูปแบบของผลิตภัณท์เบื้องต้นทีมีมาตรฐาน และออกบบให้มีบางส่วนที่สามารถปรับแต่งได้ตามที่ลูกค้าต้องการด้วยต้นทุนที่ต่ำและรวดเร็ว อาจต้องทำให้เกิดการผลิตเป็น FG ได้ทันทีที่เราทราบอุปสงค์หรือความต้องการของลูกค้าในผลิตภัณฑ์นั้นเลย
ในปัจจุบันความคาดหวังของลูกค้ามีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดมีความต้องการสินค้าที่มีความหลากหลายแตกต่างกันมากขึ้น เริ่มมีความต้องการสินค้าเฉพาะตัวเองมากขึ้นและมีระยะเวลาในการรอคอยสินค้าที่สั้นลง ผู้ผลิตต้องสามารถตอลสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีทั้งในส่วนของมีสินค้าที่หลากหลายและนำส่งได้รวดเร็ว ซึ่งเรื่องนี้จะสร้างปัญหาให้กับผู้ผลิตมากเพราะในส่วนของผู้ผลิตนั้นย่อมมีความต้องการที่จะผลิตครั้งละไม่มาก ไม่ต้องการมีการถือครองผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (finished goods, FG) มากนัก ต้องการลดปริมาณการถือครองสินค้าลงให้มากที่สุด เพราะการถือครองสินค้าคงคลังนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญในงานโลจิสติกส์ (Logistics Cost) ผู้ผลิตจะต้องหาวิธีในการที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้ลง โดยที่จะต้องพยายามรักษาระดับการให้บริการลูกค้าให้สามารถตอบสนองได้รวดเร็วทันเวลา ในสภาพการแข่งขันที่รุนแรงแข่งกันให้บริการที่รวดเร็วฉับไวในตลาดการค้ายุคใหม่
ตัวอย่าง
- อาหารในร้านอาหาร Subway จะเห็นว่ามีสินค้า FG เพียงไม่กี่อย่างเช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ เป็นต้น เนื่องจากทางร้านมีจำนวนสินค้า FG คือเมนูอาหารที่หลากหลายรายการที่เกิดจากการผสมส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ถ้า Subway ต้องทำการเตรียมทุกอย่างไว้ให้พร้อม ทางร้านต้องผลิตสินค้ามากมายไว้รอเกิดปัญหาในการแบกรับภาระในการถือสินค้าที่มาก มีจำนวน SKU ที่มาก ยังไม่รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยในการใส่ผักใส่ซอสของลูกค้า จึงเลือกใช้การผลิตแยกส่วนประกอบรอ จนเมื่อเกิดการสั่งสินค้าจึงทำการผสมให้ลูกค้าแต่ละราย
- ในอุตสาหกรรมการค้าปลีกสี ผู้ขายจะพยายามลดการผลิตสีที่สำเร็จรอขายจำนวนมามายหลายสี และลดคลังสำหรับเก็บสีที่ผสมเสร็จแล้วที่มากมายเพื่อรอลูกค้ามาเลือกซื้อ โดยบริษัทสีได้จัดทำการหาเครื่องผสมสีให้กับร้านค้าสีของตน จากนั้นก็จัดเตรียมสีหลักที่ใช้รองพื้นและแม่สีที่สำคัญ ส่งให้ตัวแทนจำหน่ายเก็บไว้รอแทนซึ่งลดจำนวนปริมาณสีที่ต้องเก็บลงไปได้มาก จากนั้นเมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อสีที่ต้องการตัวแทนจำหน่ายจึงจะทำการผสมสีให้ได้ตามสีที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งนอกจากช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในระดับสูง ลดระยะเวลาที่ลูกค้ารอสีที่สั่งในอดีตเนื่องจากไม่มีในสต็คให้ต้องรอนานเกินไปนี้ แต่ในส่วนนี้ผู้ผลิตอาจต้องลงทุนกับอุปกรณ์ผสมสีและการฝึกอบรมตัวแทนและพนักงาน ให้มีความรู็สามารถรักษามาตรฐานสีได้เหมือนกัน ซึ่งโชคดีที่ปัจจุบันใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในการผสมสีแม้มีราคาแพงแต่ก็นับว่าคุ้มค่าในการลงทุน เพราะสามารถเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้าได้มากขึ้นแต่กลับทำให้พื้นที่สำหรับสินค้าคงคลังลดน้อยลง
- เครื่องพิมพ์หรือปริ๊นเตอร์ ของ Hewlett Packard (HP) ที่ดัดแปลง Distribution Center (DC) ของตัวเองในแต่ละทวีปให้มีไลน์การประกอบสั้นๆ ในการผลิตส่วนประกอบที่มีความแตกต่างกันเช่น หม้อแปลงไฟที่สอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศที่จะส่งออกขาย หรือไลน์การติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อติดฉลากที่มีภาษาที่ต่างกันในแต่ละประเทศ แม้ว่า HP จะต้องลงทุนกับไลน์เสริมดังกล่าวให้กับแต่ละ DC แต่ก็คุ้มค่าเพราะ สามารถลดเวลานำ (lead time) ในการนำส่งปริ๊นเตอร์ที่ผลิตสำเร็จจากโรงงานผลิตหลัก สามารถลดปริมาณเซฟตี้สต็อกลงช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บในคลัง และลดความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพสินค้าที่ต้องเดินทางมาไกลหรือเก็บค้างในคลังนานเกินไป
ประโยชน์ในการทำ Postponement
ในกรณีที่ผู้ผลิตต้องการยกระดับการการแข่งขันในตลาด โดยมามุ่งในการให้บริการลูกค้าที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้ราคาจำหน่ายสินค้าที่ดีขึ้น ช่วยให้ต้นทุนด้านคลังสินค้าคงคลังลดต่ำลง สามารถสร้างมูลค่าสินค้า ลดปัญหาจากการมีสินค้าที่หลากหลาย สร้างสินค้าที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และยังจะช่วยการปรับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และไลน์การผลิต การดำเนินการนี้เหมาะกับองค์กรที่มี
- ผลิตภัณฑ์ที่อุปสงค์ไม่คงที่ ผันผวน ยากที่จะพยากรณ์ ต้องกักตุนสินค้าคงคลังเผื่อไว้มาก
- ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูง ซึ่งการกักตุนมากก็เท่ากับเงินจมอยู่มาก แถมยังเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพ
- ผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย หรือมีระดับ Customization ที่สูง จึงมี SKU มาก นำมาซึ่งปริมาณเซฟตี้สต็อกที่มากตามไปด้วย
- ไลน์การผลิตที่ยืดหยุ่นสูง รวดเร็วในการผลิตหรือการประกอบ Batch ย่อย
- มีความสามารถสูงในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศภายในซัพพลายเชน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ส่งมอบจนถึงผู้บริโภค
ปัญหาในการทำ Postponement
- การที่ผู้บริหารยังขาดความเข้าใจในประโยชน์ Postponement ความเสี่ยง และต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการในองค์กร เพื่อรองรับกลยุทธ์ Postponement
- การไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าควรเลื่อน Postponement ในเรื่องใด และส่วนไหนในกระบวนการ เลื่อนเมื่อไหร่ และเลื่อนอย่างไร เพราะองค์กรยังขาดความสามารถในการมองเห็นซัพพลายเชนของผลิตภัณฑ์ตนเองดีพอ หรือยังขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในโซ่อุปทานที่ดี
-----------------------------------------------
? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่
? Facebook: https://www.facebook.com/iok2u