iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Risk การจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง (Risk Matrix)

การจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง (Risk Matrixมีส่วนที่ทำให้การบริหารจัดการความเสี่ยงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เนื่องจากทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และทำให้การแก้ปัญหาไม่มีมากเกินไป เนื่องมาจากเราได้มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในส่วนที่สำคัญเพื่อที่จะเลือกในการทำการจัดการ และเรียงตามลำดับลงมา

ในนี้ได้ยกตัวอย่าง Risk Matrix แบบ 5 x 5 มาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญ โดยแบ่งโอกาสเป็น 3 ระดับและความรุนแรง แล้วนำมาให้คะแนนในแต่ละระดับเพื่อคำนวนหาค่ามาใช้ในการจัดแบ่งกลุ่มระดับความสำคัญ เพื่อใช้ในการจัดการบริหารความเสี่ยงต่อไป

การประเมินความเสี่ยงดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงแต่ละเรื่อง และเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (Prioritization) ที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นลำดับ รวมไปถึงใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยง การจัดระดับความเสี่ยงมีหลายแบบเช่น
การจัดระดับความเสี่ยง (Risk Ratings)

- E-Extreme Risk ความเสี่ยงระดับสูงสุด ต้องมีแผนการจัดการที่แน่นอนไว้รองรับ

- H-High Risk ความเสี่ยงระดับสูง ต้องมีการเตรียมการเตรียมแผนการจัดการไว้รองรับ

- M-Moderate Risk ความเสี่ยงระดับกลาง ควรติดตามความเสี่ยงเป็นระยะ เพื่อวางแผนการจัดการ

- L-Low Risk ความเสี่ยงระดับต่ำ อาจยอมรับความเสี่ยงไว้ได้ หรือคอยติดตามระบุระดับความเสี่ยงเป็นระยะ เพราะความเสี่ยงระดับต่ำอาจเพิ่มระดับความรุนแรงกลายเป็นความเสี่ยงระดับกลางหรือสูงได้

การจัดตามความน่าจะเป็นหรือโอกาสในการเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ระดับความน่าจะเป็น จะขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร ในการกำหนดว่าโอกาสของการเกิดเหตุการณ์นั้น เช่น

1 Rare โอกาสที่เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น มากกว่า 10 ปี ถึงจะเกิดเหตุการณ์นี้สักที

2 Unlikely โอกาสที่เกิดขึ้นมีน้อย เช่น ใช้เวลา 5 - 10 ปี จึงจะเกิดเหตุการณ์นี้

3 Reasonable มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเป็นรอบ เช่น ทุก 2-5 ปี จะเกิดเหตุการณ์นี้

4 Likely มีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ในระดับที่สูง เช่น ทุก 1- 2 ปี จะเกิดเหตุการณ์นี้

5 Almost certain โอกาสของเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งในแต่ละปี

ความเสี่ยง (Risk) คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบ หรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลง หรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้

 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การบริหารความเสี่ยง เพิ่มเติมคลิกที่นี่

Risk การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward