บทบาทเทคโนโลยี AI ต่อการส่งเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ในปัจจุบันพบว่า AI ได้มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในแทบทุกวงการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่นำ AI มาใช้ได้อย่างแพร่หลายและโดดเด่น เนื่องจาก AI สามารถตอบโจทย์ทั้งฝั่งธุรกิจและฝั่งผู้บริโภค โดยสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายมากขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่างของการใช้ AI ในภาคธุรกิจ ได้แก่
- อุตสาหกรรมการให้บริการทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวินิจฉัยโรค การตรวจจับโรคระบาด การวินิจฉัยด้วยภาพ (เช่น การฉายรังสี) การใช้ระบบประมวลหรือชุดข้อมูล ซึ่งเรียกว่า Deep Learning ที่ Machine Learning ใช้ในการทำงาน ทำให้สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้ป่วยและช่วยวินิจฉัยโรคได้เทียบเท่าแพทย์ และยังสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยและให้คำปรึกษาทางการแพทย์ได้
- การดูแลสุขภาพ (Health Care) AI กำลังเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพโดยช่วยในการวินิจฉัย การค้นพบยา และยาเฉพาะบุคคล อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องสามารถวิเคราะห์เวชระเบียน ข้อมูลทางพันธุกรรม และการทดลองทางคลินิกเพื่อระบุรูปแบบและพัฒนาแบบจำลองเชิงทำนาย ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยและแผนการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้น
- อุตสาหกรรมยานยนต์ Ride sharing ด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ รถยนต์อัจฉริยะและผู้ช่วยคนขับ การซ่อมแชมดูแลรักษารถยนต์ด้วยระบบอัตโนมัติ
- การเงิน AI ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมการเงิน ทำให้สามารถตรวจจับการฉ้อโกงได้ดีขึ้น การซื้อขายด้วยอัลกอริทึม และคำแนะนำทางการเงินส่วนบุคคล อัลกอริทึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินจำนวนมหาศาล ระบุแนวโน้ม และตัดสินใจลงทุนอย่างรอบรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการเงินในที่สุด การตรวจจับการฉ้อโกง โดยการวิเคราะห์รูปแบบของข้อมูลพฤติการณ์ที่เข้าข่ายการฉ้อโกง เพื่อให้สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อุตสาหกรรมการเงิน การวางแผนทางการเงินเฉพาะบุคคล การตรวจจับการโกงและการฟอกเงิน การทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติ สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบงบการเงินและความเสี่ยงด้านการชำระเงินของสถานประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อได้
- อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบบรรทุกของและขนส่งอัตโนมัติ การควบคุมการจราจรและลดปัญหารถติด การเพิ่มความปลอดภัยในอุตสาหกรรม
- อุตสาหกรรมเทคโนโลยี การสื่อสาร และบันเทิง การจัดเก็บสื่อและการค้นหาข้อมูล การสร้าง content เช่น content ทางการตลาด ภาพยนต์ เพลง ฯลฯ การตลาดและการโฆษณาส่วนบุคคล การจัดสรรและบริหารจัดการความถี่ ตัวอย่างด้านความบันเทิง เช่น Netflix นำมาใช้สนับสนุนด้านการแนะนำภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับข้อมูลในการเข้าชมของผู้ใช้ที่ผ่านมา
- อุตสาหกรรมค้าปลีก การออกแบบและการผลิตเฉพาะบุคคล คาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การจัดการโกดังสินค้าและการจัดส่งสินค้า ด้านการตลาดเน้นประสบการณ์ของลูกค้า แชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI และผู้ช่วยเสมือนกำลังปรับปรุงการบริการลูกค้าด้วยการตอบกลับทันทีและคำแนะนำส่วนบุคคล ระบบ AI เหล่านี้สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติ เรียนรู้จากการโต้ตอบกับลูกค้า และให้แนวทางแก้ไขหรือคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยใช้การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ แล้วทำการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของลูกค้าแต่ละคน เพื่อประสิทธิภาพในการหาความสัมพันธ์ของลูกค้าหรือการโฆษณา
- อุตสาหกรรมพลังงาน มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart metering) ข้อมูลแบบ real-time เกี่ยวกับการใช้พลังงาน Gid operation และ storage ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถคาดเดาได้ การปรับปรุงการตรวจสอบระบบและการแก้ไขจุดผิดพลาดโดยอัตโนมัติ
- อุตสาหกรรมการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานและการผลิต การผลิตตามความต้องการ (on-demand production)
- การจัดการด้านความปลอดภัย งานด้าน Search Engine การใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า การจดจำเสียง และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ซึ่งเป็นเทคนิคการทำความเข้าใจภาษามนุษย์ เพื่อนำมาช่วยให้ผลลัพธ์ในการค้นหาสิ่งต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์พฤติกรรมส่วนบุคคลมากขึ้น
- การทำงานอัตโนมัติอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่เริ่มมี AI มาช่วยมากขึ้น เช่น Smart Home การควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้านด้วยคำสั่งเสียง รถยนต์ไร้คนขับ AI มีบทบาทสำคัญในการทำให้รถยนต์ไร้คนขับสามารถนำทางและตัดสินใจตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ ยานพาหนะเหล่านี้ใช้เซ็นเซอร์ขั้นสูง คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อรับรู้สภาพแวดล้อม คาดการณ์สิ่งกีดขวาง และรับประกันความปลอดภัยของผู้โดยสาร
ที่มา
- https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Articles/AI-in-Government-Services.aspx
ข้อมูลภาพ
---------------------------------
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) รวมข้อมูลทั้งหมด.
---------------------------------