BI การนำเสนอข้อมูลเล่าเรื่อง (Data Storytelling)
การนำเสนอข้อมูลเล่าเรื่อง (Data Storytelling) เป็นศาสตร์ที่มีการนำมาใช้ช่วยแสดงข้อมูล นอกจากจะใช้บอกให้คนอื่นรู้ว่าข้อมูลที่มีนั้นมีดีหรือมีประโยชน์อย่างไร ช่วยให้ทำความรู้จักและเข้าใจข้อมูลว่าข้อมูลมาจากไหน การทำงานกับข้อมูลเหล่านี้ทำไปเพื่ออะไรได้ผลลัพธ์อะไรจากข้อมูล การต่อยอดการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างประโยชน์องค์กรหรือจะเอาไปใช้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรได้ต่อไป หัวใจสำคัญในงานการสื่อสารข้อมูลในระบบ BI ได้แก่ การจัดการข้อมูล การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพที่ดูง่าย (Visualization) และการเรียบเรียงเรื่องราวเพื่ออธิบายต่อไป (Narrative) มีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อมูล (Data) การเก็บและจัดการข้อมูล ในเบื้องต้นต้องมี ข้อมูล ซึ่งวิธีการจัดการในการเก็บข้อมูลที่หลายวิธี รวมถึงการค้นหาข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากหน่วยงานอื่นหรือการเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง ซึ่งจะต้องเริ่มจากการตั้งคำถามหาปัญหาและสมมติฐานที่มีให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกชุดข้อมูลที่จะต้องนำมาใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อมีรวบรวมข้อมูลมารวมไว้ได้แล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การจัดการข้อมูลที่มีให้เป็นข้อมูลที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลนั้นถูกต้องและอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ผลลัพธ์สุดท้ายมีความผิดพลาดจากการใช้ข้อมูลที่ผิด โดยควรระวังข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลที่ผิดพลาด (Bad Data) จำพวกข้อมูลที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่น ข้อมูลอายุคนแต่มีหลักพันปี เป็นต้น
- ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน (Missing Values) ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบช่องที่เว้นว่างไว้
- ข้อมูลที่ต่างไปจากกลุ่ม (Outliers) ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นไปได้ แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในช่วงปกติเหมือนกับข้อมูลอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการหาค่าทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องศึกษาและตัดสินใจในการปรับปรุงข้อมูลให้เหมาะสม
ควรระวัง เพราะข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่สมบูรณ์เหล่านี้ จะทำให้ผลการวิเคราะห์จัดทำรายงานมีความผิดพลาด เกิดปัญหาความน่าเชื่อถือที่ลดลง จึงต้องรู้และจัดการข้อมูลที่มีให้เรียบร้อยก่อนนำไปเข้ากระบวนการวิเคราะห์หาข้อสังเกตทำรายงานหรือนำไปเล่าเรื่อง
2. เปลี่ยนข้อมูลเป็นภาพเพื่อทำการสำรวจและวิเคราะห์ (Visualization) หลังจากจัดเก็บและจัดการข้อมูลแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่เรียกว่า Exploratory Data Analysis (EDA) โดยตั้งคำถามกับข้อมูลที่มีดูว่ามีประเด็นข้อสังเกตหรือสิ่งอะไรที่น่าสนใจ โดยควรมองหา
- แนวโน้มที่คาดว่าจะเกิด (Trend) ชุดข้อมูลที่มีเวลามาเกี่ยวข้อง อาจดูการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่าง ๆ ตามช่วงเวลา ลองเอามาทำเป็นกราฟเพื่อดูแนวโน้มหรือทิศทาง บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอาจมีลักษณะเป็นวัฎจักรหรือช่วงเวลา เช่น การเดินทางท่องเที่ยวจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันหยุด หรือช่วงฤดูหน้าร้อน และลดลงในช่วงหน้าฝนของทุกปี
- การกระจายตัว (Distribution) หากข้อมูลเป็นจำนวนที่นับหรือวัดได้ คุณอาจมองหาค่าทางสถิติต่างๆ เช่น จำนวนที่น้อยที่สุด มากที่สุด หรือค่ากลางของข้อมูลเหล่านั้น รวมถึงอาจเอามาพล็อตเป็นกราฟฮิสโตแกรม (Histogram) เพื่อดูความโน้มเอียงของค่าของข้อมูลได้ด้วย
- ความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่างๆ (Correlation) มักเป็นจุดที่ทำให้คุณสามารถค้นพบข้อสังเกตใหม่ๆ จากการหยิบสองตัวแปรหรือสองชุดข้อมูลมาหาความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม อาจต้องคำนึงถึงบริบทในการหาความสัมพันธ์ด้วยว่าสมเหตุสมผลในโลกของความจริงหรือไม่
3. อธิบายและลำดับเรื่องราว (Narrative) เพื่อให้เข้าใจประเด็นสำคัญ (Insights) จากชุดข้อมูล (Data) ที่ดีและการเปลี่ยนเป็นรูปภาพหรือกราฟ (Visualization) คงยังไม่อาจสื่อสารข้อมูลที่ดีมีประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรที่ต้องีมีการนำเสนอเชิงเล่าเรื่องที่ง่ายชวนสนใจ (Data Storytelling) หรือน่าติดตามสำหรับผู้ชม เพราะรายงานจะถูกนำมาใช้มากก็ต่อเมื่อผู้ใช้รู้สึกว่าสิ่งนั้นเกี่ยวข้องหรือมีประโยชน์กับเขา โดยอาจมาในรูปของ ความรู้การคาดหมาย การทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ การได้มุมมองใหม่เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น หรือการอธิบายให้เข้าใจได้ว่ากำลังทำอะไรกับข้อมูลที่มี ซึ่งการใส่คำอธิบายหรือเรื่องราว (Narrative) ลงไป จะช่วยทำให้เห็นประเด็นสำคัญ (Insights) และแนวคิดที่ต้องการสื่อสารจากข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น ประกอบด้วย
- อธิบายเพื่อความเข้าใจ การนำเสนอในรูปชุดข้อมูลให้เป็นภาพกราฟตารางหรือแผนภูมิแล้ว ยังต้องอธิบายความสำคัญของทิศทางที่จะมี เช่น การขึ้น-ลง ปริมาณมาก-น้อย หรือความสัมพันธ์ที่มี ซึ่งช่วยให้ผู้ชมเข้าใจในข้อมูลและภาพที่พยายามนำเสนอว่าจะบอกอะไร
- อธิบายเพื่อสร้างการจดจำ การใส่เนื้อหาหรือเรื่องราวประกอบ ทำให้ผู้ชมจดจำชุดข้อมูลเหล่านั้นได้ดีกว่าภาพหรือตัวเลข และยังใช้ในการเพิ่มเติมประสบการณ์สัมผัสหรืออารมณ์ความรู้สึกให้ผู้ชมจดจำ ทั้งการทำผ่านการใช้ถ้อยคำ หรือรูปแบบสื่อต่างๆ
- อธิบายเพื่อสร้างความเชื่อมโยง ผู้ชมมักมีคำถามว่าเขาจะต้องรู้เรื่องนี้ไปทำไม การใส่เนื้อหาและเรื่องราวจะช่วยให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงกับชุดข้อมูลที่คุณพยายามนำเสนอได้ ว่าเกี่ยวข้องกับความสนใจ เป้าหมาย หรือมีประโยชน์กับพวกเขาอย่างไร ช่วยให้ข้อมูลของคุณนั้นมีคุณค่าและมูลค่ากับพวกเขามากขึ้น
การทำงานกับข้อมูลในยุคนี้ จึงไม่ใช่เพียงแค่ความสามารถในการวิเคราะห์ หรือความรู้ในเชิงเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทักษะในการสื่อสารข้อมูลหรือ Data Storytelling จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบอกว่าน้ำมันนั้นมีค่าอย่างไรด้วย
www.iok2u.com
https://tuxsablog.skilllane.com/data-savvy/data-storytelling/
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
BI ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (introduction to business intelligence)
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig Data)