e-book depa coding หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต ระดับประถมศึกษา
วิชา Coding ที่เด็กไทยได้เรียน เป็นส่วนหนึ่งในวิทยาการคำนวน ที่อยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่มีในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้บรรจุสาระวิทยาการคำนวณไว้ในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง 2560 จากเดิมที่เด็กจะได้เรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ แต่ในหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่นี้จะสอนให้เป็นเด็กได้เป็น ผู้เขียน ผู้พัฒนา และได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบของงานคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยโครงสร้างหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) มีจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คิดได้เป็นขั้นตอน โดยใช้การเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือ ตามแนวทาง Computational Thinking
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มีจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้งานด้านสารสนเทศ สามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้
- ทักษะในงานดิจิทัล (Digital Literacy) มีจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และเท่าทันในงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดเป็นทักษะและมีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานบนเทคโนโลยีได้
การเขียนโปรแกรมเราสามารถส่งเสริมให้เด็กได้เริ่มเรียนรู้ได้ตั้งแต่ 5 ขวบเป็นต้นไป โดยเบื้องต้นอาจจะให้เด็กเริ่มจากการคิดและเรียนรู้เรื่องการจัดการคำสั่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และเมื่อเด็กโตขึ้นก็เริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนตามความเหมาะสมและความชอบของเด็ก โดยในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ใช้ช่วยสอนให้ได้เรียนรู้แบบออนไลน์ โดยไปที่ https://www.codingthailand.org/ หรือ https://code.org โดยเราจะพบการสอนเขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้เกมส์และตัวละครจากการ์ตูนเป็นสื่อช่วยในการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้บรรจุสาระวิทยาการคำนวณไว้ในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง 2560 ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประทศ และเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน สามารถนำไปช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบูรณาการกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่นำไปสู่การคิดดันสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อประโยนต่อการดำรงชีวิต การใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี และการสื่อสารในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ที่มาข้อมูล
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) https://www.depa.or.th
ที่มาภาพและรวบรวมโดย
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว ทักษะด้านโค้ดดิ้ง (Coding Skills) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Coding การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง (Coding Skills) รวมข้อมูล-------------------------------------------------