แนวปฏิบัติในการทำโครงการ Corporate Social Responsibility (CSR) หรือกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Program)
แนวปฏิบัติในการนำโครงการ Corporate Social Responsibility (CSR) หรือกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Program) มาใช้ในการสร้างตราสินค้านั้น ต้องพิจารณาคือ กิจกรรมที่ทำ ควรสร้างคุณค่าให้แก่ตราสินค้าได้ นอกจากนี้กิจกรรมที่องค์กรดำเนินการต้อง เป็นความสามารถขององค์กรที่สาธารณชนนึกถึงและอยู่บนพื้นฐานความรู้รวมทั้งความชำนาญขององค์กร การทำ CSR มีสิ่งที่ต้องพิจารณา 3 ด้านคือ องค์กร สังคม และประชาชน เพื่อให้ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากกิจกรรมและสร้างการรับรู้ในใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่องค์กรจะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการสร้างตราสินค้า
ในการนี้ควรดำเนินการกิจกรรม CSR โดยเน้นความยั่งยืนและต่อเนื่อง เพราะจะช่วยผูกมัดคุณค่าระหว่างองค์กรกับชุมชนหรือลูกค้าได้แม้การดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคมจะมีผลต่อการสร้างตราสินค้าและสร้างรายได้ให้แก่องค์กร โดยอาจจะเป็นผลทางอ้อมที่ทำ ให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีและทำให้ผู้มาซื้อสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่การทำโครงการ CSR ควรอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจต่อสังคม ไม่ใช่เพียงหวังผลในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรเท่านั้น กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่สัมพันธ์กับการจัดการชื่อเสียงขององค์กร (Corporate Reputation) หรือความสัมพันธ์กับการจัดการความผูกพันกับตราสินค้า (Brand Engagement) หรือลูกค้า (Customer Engagement) ได้
Philip Kotler ได้จำแนก CSR ไว้เป็น 7 กิจกรรมได้แก่
1 การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม (Cause Promotion)
2 การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม (Cause-Related Marketing)
3 การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing)
4 การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy)
5 การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering)
6 การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices)
7 การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ ตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก (Developing and Delivering Affordable Products and Services)
ดูเพิ่มเติมที่ แนวคิดและทฤษฎีของ Philip Kotler CSR ไว้เป็น 7 กิจกรรม
----------------------------------------