iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
การพัฒนาแบบ DevOps
 
การพัฒนาแบบ DevOps เป็นแนวทางการพัฒนาระบบหรือโปรแกรม ที่ได้รับความนิยมในนักพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีมานาน DevOps เป็บรูปแบบการพัฒนาที่รวมการพัฒนาแก้ไขปัญหาและการทำงานจริงเพื่อปรับปรุงเพิ่มความสามารถ ให้กับงานที่ทำได้อย่างต่อเนื่องซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ในปัจจุบันมีการนำรูปแบบการพัฒนาระบบที่เรียกว่า DevOps มาใช้ช่วยให้สามารถพัฒนาระบบหรือโปรแกรม (Software) ให้สำเร็จได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนที่ต่ำลง  บริษัทที่ไม่สามารถนำแนวคิดการพัฒนาแบบ DevOps มาปรับใช้ ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียความสามารถในแข่งขันทั้งในด้านระยะเวลา คุณภาพ และงบประมาณ จนทำให้อาจพ่ายแพ้ในการแข่งขันให้คู่แข่งได้ในที่สุด หลายครั้งพบว่ามีคนสับสนหรือยังมีข้อสงสัยอีกมากมายในการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องของความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบ DevOps กับแบบ Agile ว่ามีแตกต่างกันอย่างไรอันไหนมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ทำให้ DevOps และ Agile ยังเป็นข้อถกเถียงที่ไม่สิ้นสุดในกลุ่มนักพัฒนาในอุตสาหกรรมไอที
 
การพัฒนาแบบ DevOps คือ แนวทางการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ที่รวมขั้นตอนการพัฒนาและการดำเนินงานเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะพบในงานด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจุดประสงค์เพื่อลดวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ โดยเพิ่มการนำเสนอคุณลักษณะการใช้งานการแก้ไขปัญหาที่มีและการปรัยปรุงเปลี่ยนแปลงอัปเดตงานที่บ่อยครั้งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ 
 
DevOps มีหลักการคือ การนำความคล่องตัวมาสู่งานการพัฒนาและการดำเนินงานระบบ DevOps อาจไม่สามารถทดแทน Agile ได้แต่ DevOps จะสามารถนำมาปรับปรุงต่อยอดส่วนที่ยังขาดในเรื่องของการดำเนินงานได้ดี DevOps อาจไม่ใช่การแทนที่ Agile ได้ แต่ก็อาจใช้ร่วมเพื่อให้การปฏิบัติมีระบบดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป Agile ก็ได้เพิ่มความท้าทายและ DevOps ก็กลายเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด 
- กระบวนการหรือการปฏิบัติ ของ DevOps เกี่ยวข้องกับชุดของกระบวนการทางเทคนิคเช่น การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, การรวมอย่างต่อเนื่อง (CI), การทดสอบอย่างต่อเนื่อง (CI), การปรับใช้อย่างต่อเนื่อง (CD) และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
- พื้นที่โฟกัสที่สนใจให้ความสำคัญ จะมุ่งเน้นไปที่การรับประกันซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพในเวลาที่เหมาะสม การรับประกันคุณภาพจะทำโดยการตรวจสอบซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องหลังจากการปรับใช้
- มีรอบระยะเวลาทั้งในส่วนของการเผยแพร่และการพัฒนา จะมุ่งเน้นไปที่ระยะการปล่อยที่สั้นลง มุ่งให้มีการส่งมอบงานที่เร็วขึ้นแต่ติดตามผลการตอบรับอย่างต่อเนื่องทันที 
- ผู้ให้ข้อเสนอแนะ จะมีการวัดผลจากทีมภายในพัฒนาภายใน โดยอาจใช้เครื่องมือการตรวจสอบมาช่วยอย่างต่อเนื่อง
 

 -----------------------------------------------

? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่

? Line: @iok2u.com
? Twister: iok2u.com
? E-Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
? ลงข้อมูล เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ Line: Rainubon

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward