ประโยชน์ของ GIS ในงานการเกษตร (GIS for Agriculture)
ประโยชน์ของ GIS ในงานการเกษตร (GIS for Agriculture) ตัวอย่างเช่น
การเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture) เป็นรูปแบบการเกษตรที่นำเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูล มาใช้ในการบริหารจัดการทางการเกษตรให้มีความเหมาะสมและแม่นยำขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต (Productivity) ช่วยให้ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสภาพแวดล้อม
GIS for Agriculture เป็นการนำความสามารถของเทคโนโลยีเชิงพื้นที่ (GIS) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เช่น AI, Machine Learning และ Deep Learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทางด้านการเกษตรให้ทำงานครบทั้งวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ รองรับการทำงานทางด้านการเกษตรตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล จัดทำข้อมูล และนำมาทำการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับโปรแกรมในงาน Big data เช่น AI, Machine Learning และ Deep Learning ทำการคำนวน คาดคะเน ไปจนถึงการติดตามผล และสรุปผลข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานด้านการเกษตรที่มีการวางแผนด้วยความแม่นยำ (Precision Agriculture) เพื่อให้เกิดการทำงานที่คำนึงถึงความยั่งยืน (Sustainability) หรือเรียกว่าการเกษตรแบบยั่งยืนในอนาคต
เราสามารถใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชันด้าน GIS ในการสำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม ก่อนจะทำการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ทางด้านการเกษตร ซึ่ง GIS จะสามารถเชื่อมต่อกับงานฐานข้อมูลในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึง Deep Learning Model Package สำเร็จรูปพร้อมใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ Deep Learning เพื่อจัดทำแผนที่เกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้อง
เราสามารถใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชันด้าน GIS มารวบรวมชุดข้อมูลที่มีประโยชน์ในรูปแบบงานแผนที่ และนำไปบูรณาการในทำงานด้านการเกษตรกรรม ช่วยให้เราสามารถเพิ่มมุมมองการแสดงผลแบบแผนที่รูปภาพที่เข้าใจง่าย ช่วยให้เข้าใจในการอ่านข้อมูล และประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ได้ง่ายขึ้น GIS สามารถช่วยในงานข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลที่มีการส่งจากระบบ IoT, ข้อมูล Real-time feed, ข้อมูลสถิติประชากร หรือข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่มีมากมายในปัจจุบัน เช่น ดาวเทียม Landsat หรือ ดาวเทียม Sentinel-2 เป็นต้น
GIS for Agriculture ในรูปแบบ Visualization and Monitoring
GIS รองรับการนำข้อมูลเชิงพื้นที่และผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ มาสร้างแอปพลิเคชันสำหรับได้อย่างรวดเร็วผ่าน Ready-to-use App ที่ GIS ให้บริการ เพื่อสรุปผลและนำเสนอในมุมมองแผนที่ที่เข้าใจง่ายและตอบโจทย์การทำงานด้านการเกษตรบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบน Desktop, Tablet, iPad หรือบนโทรศัพท์มือถือ สำหรับติดตามกระบวนการทำงานต่าง ๆ ทางด้านการเกษตร ไปจนถึงการติดตามผลผลิตภาพรวมทั้งประเทศ ระดับพื้นที่ และในระดับแปลงเกษตร ทำให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตของพืช ซึ่งช่วยในการวางแผนเพาะปลูกหรือตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ ในอนาคต
.
ที่มาข้อมูล
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
---------------------------------------------
ดูข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)---------------------------------------------