iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
โครงสร้างพื้นฐานและการจัดการข้อมูลของหน่วยงาน
 
 
 
โครงสร้างพื้นฐานและการจัดการข้อมูลของหน่วยงาน
โครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงาน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลให้ภาครัฐปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนั้นครอบคลุมศูนย์ข้อมูลเครื่องแม่ข่าย เครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ระบบ Virtual Private Network (VPN) และเครือข่ายบริการโทรคมนาคมอื่น ๆ หน่วยงานภาครัฐต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันของหน่วยงานมีดังนี้ ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐของไทยบริหารจัดการข้อมูล โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลใน 4 รูปแบบต่อไปนี้
1) ศูนย์ข้อมูลประจำหน่วยงาน (Agency Own Data Center) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด โดยข้อมูลถูกจัดเก็บภายในหน่วยงานเอง และหน่วยงานบริหารการรักษาความปลอดภัยเอง ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่นิยมที่สุดของหน่วยงาน แต่หน่วยงานต้องคำนึงถึงทางเลือกอื่น ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลด้วย เช่น G-Services เป็นต้น โครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบัน นิยมใช้ศูนย์ข้อมูลประจำหน่วยงาน (Agency Own Data Center) จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ ประมาณ 92 % ของหน่วยงาน มีการปฏิบัติงานโดยมีศูนย์ข้อมูลของตนเอง หลายหน่วยงานมีความเห็นว่าการมีศูนย์ข้อมูลประจำหน่วยงานนั้นทำให้หน่วยงานมีความสามารถในการรองรับการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นและสามารถรักษาความปลอดภัยไปพร้อมกันได้ หน่วยงานที่จัดการข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลที่เป็นความลับมักนิยมใช้ศูนย์ข้อมูลประจำหน่วยงาน หลายหน่วยงานที่มีศูนย์ข้อมูลเป็นของตนเองจึงยังไม่เห็นถึงความไม่จำเป็น ในการใช้บริการศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานอื่นเพื่อเก็บข้อมูล และแอปพลิเคชันบางชนิดไม่สามารถจัดเก็บบนระบบคลาวด์ภาครัฐ G-Cloud ได้อีกด้วย
- ศูนย์ข้อมูลประจาหน่วยงาน (Agency Own Data Center) เพิ่มความสะดวกในการจัดการความปลอดภัยของหน่วยงานเอง แต่ศูนย์ข้อมูลแบบดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาด้านงบประมาณ การบารุงรักษา การหยุดชะงักของการให้บริการ ความพร้อมใช้งาน และประสิทธิภาพของการให้บริการ
- ในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน
- ศูนย์ข้อมูล เครื่องแม่ข่าย และโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัยอาจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และอาจไม่คุ้มค่าเนื่องจากมีค่าบำรุงรักษาที่สูง
- การลงทุนเพื่อปรับปรุงศูนย์ข้อมูลจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย CAPEX ที่สูง
- กล่าวโดยสรุป ทิศทางในอนาคตเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานควรคานึงถึงมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ข้อมูลสูญหายหรือรั่วไหล เป็นต้น
2) การใช้บริการคลาวด์ของหน่วยงานภายนอก (3rd Party Cloud) โครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบันมีการใช้บริการคลาวด์ของหน่วยงานภายนอก (3rd Party Cloud) ที่ให้บริการโดยบริษัทเอกชนหลายแห่งในประเทศไทย เพื่อรองรับแอปพลิเคชันของหน่วยงาน
- ควรมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การให้บริการที่มีคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการ
- หน่วยงานต่าง ๆ ควรใช้ระบบที่มีความยืดหยุ่น ที่มีความสามารถรองรับข้อมูลและผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น มีการรักษาความปลอดภัยในระดับสูง
- การให้บริการคลาวด์โดยหน่วยงานภายนอกอาจไม่น่าเชื่อถือด้านการจัดการความปลอดภัย การให้บริการดังกล่าวได้รับความเชื่อมั่นว่ามีพัฒนาการในการบริการ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี และการรักษาความความปลอดภัยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ข้อดีของการทา Virtualization คือ ความยืดหยุ่นในการเพิ่มทรัพยากรและขยายบริการ การประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่าย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์จากการนาระบบคลาวด์มาใช้
- การให้บริการคลาวด์โดยหน่วยงานภายนอกนั้นช่วยให้หน่วยงานสามารถลดความยุ่งยากต่าง ๆ ได้ เช่น การกู้คืนภัยพิบัติ การอัพเดต การจัดซื้อซอฟต์แวร์ ความสามารถในการขยายการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน การควบคุมเอกสาร และการจัดการความปลอดภัย เป็นต้น
- ถึงแม้ความปลอดภัยของการบริการคลาวด์อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดเก็บข้อมูลสาคัญและข้อมูลด้านความมั่นคงของประเทศ แต่ข้อมูลทั่วไปสามารถใช้วิธีการจัดเก็บแบบดังกล่าวได้ ระบบคลาวด์สามารถจัดการข้อมูลด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ากว่า มีความพร้อมใช้งาน และมีเสถียรภาพสูง
- ข้อดีของการให้บริการคลาวด์โดยหน่วยงานภายนอกคือ การลดภาระทรัพยากรบุคคลและการดาเนินงานรายวัน ซึ่งเป็นปัญหาสาคัญของหน่วยงานภาครัฐไทยในปัจจุบัน
3) การใช้บริการพื้นที่วางเครื่องแม่ข่ายของหน่วยงานภายนอก (3rd Party Colocation) ถือเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญโดยหน่วยงานจัดจ้างหน่วยงานภายนอกเพื่อดูแลรักษาและจัดการความปลอดภัย หน่วยงานไทยมีการใช้บริการพื้นที่วางเครื่องแม่ข่ายของหน่วยงานภายนอก (3rd Party Colocation) เครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องของภาครัฐ (ข้อมูลสถานะปี ค.ศ. 2014) ถูกจัดเก็บไว้กับหน่วยงานภายนอก การใช้บริการวางเครื่องแม่ข่ายถือเป็นแนวทางขั้นพื้นฐานที่สาคัญสาหรับหน่วยงาน หลายหน่วยงานมีความประสงค์ที่จะใช้บริการพื้นที่วางเครื่องแม่ข่ายของหน่วยงานภายนอกอย่างชัดเจน เพราะความสะดวกในหลายด้าน เช่น การรักษาความปลอดภัยที่สูงกว่า การลดข้อจากัดในการจัดการ และทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
- 3rd Party Colocation เป็นทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมสาหรับหลายหน่วยงาน
- หน่วยงานควรพิจารณาเลือกแอปพลิเคชัน เครื่องแม่ข่าย และประเภทข้อมูลที่มีความเหมาะสมในการจัดเก็บไว้กับผู้ให้บริการ 3rd Party Colocation
- หน่วยงานจาเป็นที่ต้องเข้าใจในข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ที่ผู้ให้บริการ 3rd Party Colocation ใช้ปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
- 3rd Party Colocation อาจไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการในเรื่องการจัดการความปลอดภัยข้อมูล แต่พบว่ามีปัญหาน้อยกว่าที่หน่วยงานได้รับจากบริการ 3rd Party Cloud
- บริการ Colocation เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสาหรับหน่วยงานที่มีห้องเครื่องแม่ข่ายขนาดเล็กหรือมีโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กกว่าหน่วยงานอื่น แต่มีความต้องการที่จะเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วนหรือจาเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับข้อมูลหรือแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยหรือมีความสาคัญต่อพันธกิจสูงขึ้น
4) การใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) ให้บริการแก่แอปพลิเคชันถึง 109 แอปพลิเคชัน (ข้อมูลสถานะปี ค.ศ. 2014) สานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) เป็นผู้ให้บริการคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ที่สามารถใช้งานจากระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) จะได้รับระดับการรักษาความปลอดภัยที่สูงกว่า แต่มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรต่ำกว่า
- G-Cloud ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสาคัญที่หน่วยงานต่างๆ กาลังพิจารณาย้ายแอปพลิเคชันไปใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ
- ความปลอดภัยของข้อมูล ความเสถียร และความพร้อมใช้งาน เป็นประเด็นสาคัญที่ G-Cloud จาเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- G-Cloud จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีบทบาทสาคัญในอนาคตเนื่องจากเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสาหรับการลดค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษา การจัดซื้ออุปกรณ์ อีกทั้งหน่วยงานสามารถใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- G-Cloud ควรคานึงถึงการจาแนกประเภทและการบูรณาการข้อมูล
- G-Cloud ควรให้บริการตามมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลทั่วไป และสามารถยกระดับมาตรฐานการจัดการข้อมูลให้สูงขึ้นในระยะยาวได้
- G-Cloud ควรรักษามาตรฐานในระยะยาว ความพร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ มีระบบช่วยเหลือผู้ใช้งาน และคุณลักษณะทั้งหมดที่ 3rd Party Cloud ให้บริการ โดยมีระดับการจัดการความปลอดภัยสูงที่ขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง

.

ที่มาข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward