iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ความท้าทายสาคัญที่งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของภาครัฐที่กำลังเผชิญ

 

 

ในปัจจุบัน กลุ่มงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของหลายองค์กรในหน่วยงานภาครัฐ ต้องพบกับปัญหามากมายทั้ง ด้านการจัดเก็บข้อมูล ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ และการให้บริการแก่ผู้ใช้งาน (End-User) ที่ต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า แผนภาพและการวิเคราะห์ด้านล่างเป็นการรวบรวมความท้าทายสำคัญที่องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มี 6 มิติหลัก ได้แก่ 

1) การรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วยการรักษาความปลอดภัยข้อมูล การรักษาความปลอดภัยกายภาพของศูนย์ข้อมูล การจัดการข้อมูลที่สาคัญต่อพันธกิจ (Mission Critical

- การจัดการความปลอดภัยข้อมูล การรักษาแนวปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัย และความมั่นใจที่มีต่อการจัดการข้อมูลที่สำคัญต่อพันธกิจ (Mission Critical Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือหนึ่งในหลาย ๆ ความท้าทายสำคัญที่สุดที่หน่วยงานเผชิญร่วมกัน

- การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพของศูนย์ข้อมูลเป็นความท้าทายสำคัญที่กำลังเผชิญอยู่

- แรงกดดันในการจัดการความปลอดภัยมีมากขึ้นตามปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

- ประสบปัญหาการรักษาสมดุลระหว่าง ระดับการรักษาความปลอดภัยกับปริมาณข้อมูล

- การโจมตีระบบและความเสี่ยงจากการจัดการข้อมูลชั้นความลับที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้การจัดการความปลอดภัยกลายเป็นความท้าทายที่เพิ่มขึ้นด้วย

- การรักษาความปลอดภัยคือความท้าทายสำคัญสำหรับหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย

- การขาดการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลที่เป็นความลับของประเทศ

- โครงการการพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐ ควรเป็นส่วนช่วยให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่มีการรักษาความปลอดภัยและปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย

- โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพต้องได้รับการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น มีความสอดคล้องกับกฎระเบียบ และมีกระบวนการที่ทำให้เป็นมาตรฐานสำหรับอนาคต

- ข้อมูลต้องถูกเก็บรักษาจากทางเลือกที่หลากหลายและตรงต่อความต้องการทางด้านการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงาน

 

2) การจัดการข้อมูล ประกอบด้วยการบูรณาการ การจำแนกประเภทข้อมูล หน่วยงานผู้รับผิดชอบข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing) ความถูกต้อง และคุณภาพของข้อมูล

- การจัดการข้อมูลเป็นความท้าทายสาคัญประการหนึ่ง

- การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

- ความไม่สอดคล้องของหน่วยงานเจ้าของข้อมูล 

- ความกระจัดกระจายของฐานข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing)

- ข้อมูลไม่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

- การจำแนกประเภทข้อมูลขาดความเหมาะสม ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล

 

3) ทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยการขาดแคลนบุคลากร การขาดแคลนทักษะของบุคลากร และการมีบุคลากรที่มีทักษะไม่เพียงพอ

- ปัญหาทรัพยากรมนุษย์เป็นความท้าทายสาคัญ และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน

- หน่วยงานระบุว่า บุคลากรด้านศูนย์ข้อมูลมีจำกัดและไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่มีทักษะซึ่งได้รับเข้าบรรจุมานานหลายปี ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการให้บริการตามความต้องการข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

- เนื่องด้วยงบประมาณที่มีจำกัดและการจัดการโครงสร้างบุคลากร จึงส่งผลให้การเพิ่มจำนวนบุคลากรทำได้ยาก และเป็นการสร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่บุคลากรด้าน IT ที่มีอยู่เดิม

- การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในตลาดแรงงานส่งผลให้ภาครัฐ ไม่สามารถสรรหาบุคลากรที่มีทักษะมาดำเนินงานได้อย่างเพียงพอ

- หลายหน่วยงานระบุว่าบุคลากรมีจำกัดเนื่องจากข้อจำกัดโครงสร้างบุคลากร

- บุคลากรด้าน IT มีแนวโน้มในการเปลี่ยนงานบ่อย นอกจากนี้ ค่าตอบแทนของภาครัฐไม่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะได้หากเทียบกับภาคเอกชน

- จำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกที่หลากหลายเพื่อรับมือกับการขาดบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสม การได้รับค่าตอบแทนที่ต่ำ และการมีแนวโน้มการเปลี่ยนงานที่สูง

- หน่วยงานจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานและเพื่อรับมือกับงบประมาณที่ลดลง

- หน่วยงานต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องพิจารณารูปแบบทางเลือกดังต่อไปนี้

1) การใช้บริการจัดเก็บเครื่องแม่ข่ายไว้กับหน่วยงานภายนอก (Colocation)

2) การใช้บริการจัดเก็บข้อมูลไว้กับหน่วยงานภายนอก (3rd Party Services)

3) การใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ (G-Services) ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องแม่ข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล การเดินสายสัญญาณ การติดตั้งระบบทาความเย็นและระบบไฟฟ้า โครงสร้างพื้นอาคาร (Floor ตู้แร็ค และการออกแบบอาคาร เป็นต้น

- องค์ประกอบของศูนย์ข้อมูล เช่น เครื่องแม่ข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์อื่น ๆ ของโครงสร้างพื้นฐานเป็นการสร้างภาระให้แก่หน่วยงาน

- ความท้าทายสาคัญที่สุดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลคือ การประยุกต์ใช้มาตรฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลไปสู่ระดับเทคโนโลยีที่สูงกว่า

- การประยุกต์ใช้มาตรฐานที่ขาดความสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานหรือกระทรวงทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานร่วมกันภายหลัง

- ความท้าทายอื่น ๆ ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลประกอบด้วย

  * ระบบ IT ที่ใช้งานมานานต้องรับการดูแลเพิ่มขึ้น ส่งผลค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นสูงขึ้น

  * ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและเครื่องแม่ข่าย

  * ปัญหาการเดินสายไฟ ระบบทำความเย็น และสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมาะสม

  * พื้นที่ไม่เพียงพอ

  * ปัญหาการโยกย้ายข้อมูล

- หน่วยงานดำเนินงานโดยมีอัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร IT ที่ต่ำเนื่องจาก ขาดการวางแผนที่ดี ขาดการประเมิน ขาดการฝึกอบรม รวมถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลไม่ได้ถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

- ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมใช้งานตามความต้องการ

- สามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานได้อย่างเพียงพอ

- ประเด็นสำคัญของรูปแบบการดำเนินงานในอนาคต (Future Operating Model) คือขั้นตอนการยกระดับอัตราการใช้ประโยชน์ศูนย์ข้อมูล การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การใช้โมเดลต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล และการปรับปรุงอัตราการใช้ประโยชน์ในระดับหน่วยงาน

- อัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร IT ที่สูงขึ้นตามมาตรฐานนั้นส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่าย จัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม และสามารถวางแผนเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตได้ดีขึ้

5) งบประมาณและต้นทุน ประกอบด้วยงบประมาณที่จัดสรรสาหรับค่าใช้จ่าย ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น และการอัพเกรดระบบ

- งบประมาณและต้นทุนเป็นความท้าทายสำคัญ

- งบประมาณภาครัฐที่มีจำกัดสวนทางกับความต้องการทรัพยากรด้าน IT ที่เพิ่มขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาการรักษาคุณภาพและระดับการให้บริการ

- ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาบุคลากร ค่าไฟฟ้า การรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรม การจัดการปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ความต้องการของผู้ใช้งาน การใช้ทรัพยากร IT อย่างสิ้นเปลือง และอัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร IT ในต่ำลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- ภาครัฐมีการจัดสรรงบประมาณในเชิงรุก แต่ควรบริหารงบประมาณในระดับหน่วยงานให้ดีขึ้น

- ต้องพิจารณาหาวิธีการดำเนินงานใหม่ ๆ ให้แก่หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- การดำเนินงานที่มีมาตรฐานส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถจัดการโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้น และยังสอดคล้องกับรูปแบบการดาเนินงานในอนาคตอีกด้วย

6) นโยบายและการจัดการของหน่วยงาน ประกอบด้วยการใช้งานร่วมกัน การวางแผน การใช้งานศูนย์ข้อมูลสำรอง การสำรองข้อมูล และการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน เป็นต้น

- นโยบายและการจัดการในระดับหน่วยงานนั้น มีบทบาทสาคัญในการจัดการศูนย์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

- การสำรองข้อมูล (Backup) และการใช้งานศูนย์ข้อมูลสำรอง (Disaster Recovery) ขาดประสิทธิภาพ และการไม่ใช้ทรัพยากรร่วมกันนั้น ส่งผลให้อัตราการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นลดลง

- ปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นและการขาดการวางแผนที่ดีนั้น ส่งผลให้หน่วยงานให้บริการแก่ประชาชนและผู้ใช้งานโดยขาดประสิทธิภาพ

- ปัญหาเครือข่าย อาคารที่ต้องปรับปรุง และโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัยคือ ความท้าทายอื่น ๆ ที่หน่วยงานระบุ

.

ที่มาข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward