iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมระบบ ICT เพื่อมุ่งสู่ Smart Thailand

 

แผนภาพตัวอย่างแนวคิดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมระบบ ICT เพื่อมุ่งสู่ Smart Thailand ในปี ๒๕๖๓

 

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมระบบ ICT เพื่อมุ่งสู่ Smart Thailand

การพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา มีแนวคิดบนพื้นฐานของการพัฒนาด้าน ICT ลงสู่ระดับหมู่บ้าน ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลสามารถดำเนินการให้เป็นผล โดยการต่อยอดการพัฒนาจังหวัดอัจฉริยะ หรือ Smart Province ทั้งในแนวตั้งและแนวราบ เพื่อมุ่งสู่ความสมบูรณ์ของเป้าหมายการพัฒนาสู่สังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) ในปี ๒๕๖๓ โดยตัวอย่างแนวคิดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมระบบ ICT ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังแสดงไว้ในแผนภาพตัวอย่างแนวคิดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมระบบ ICT เพื่อมุ่งสู่ Smart Thailand ได้แก่

1. เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศสู่ Smart Thailand

เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศสู่ Smart Country Technology: SCT ประกอบด้วย ระบบซอฟต์แวร์ ระบบงานหลัก และโซลูชั่น ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Smart Province เพื่อมุ่งสู่ Smart Thailand ที่อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน ทั้งด้านการบริหาร (Back Office) และการให้บริการ (Front Office) รวมทั้งระบบต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของ อุตสาหกรรม ICT ที่พัฒนาขึ้นในประเทศ

2. ระบบฮาร์ดแวร์หลัก (Hardware)

ระบบฮาร์ดแวร์หลักในการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนแม่บท ICT ในการก้าวสู่ Smart Thailand ประกอบด้วย

2.1 ระบบโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ (Government Smart Communication Network: GSCN) ระบบโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่สำคัญที่เชื่อมโยงกันจนถึงระยะสุดท้าย (Last Mile) ในทุกชุมชนและท้องถิ่นในระดับหมู่บ้าน ทั้งนี้ในส่วนของโครงข่ายหลัก (Backbone Network) รัฐควรจะเป็นเจ้าภาพ และผู้ลงทุน โดยการยกระดับโครงข่าย (Government Information Network: GIN) และในส่วนการเชื่อมโยงถึงโครงข่ายระยะสุดท้าย ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนและหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาและให้บริการ โดยอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาบริการ อิเล็กทรอนิกส์อันเป็นที่ต้องการของประชาชน

2.2 ระบบบริการ Cloud ภาครัฐ (Government Cloud: G-Cloud) ระบบบริการ Cloud ภาครัฐ จะเป็นการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการบริหารจัดการ ICT ยุคใหม่ ที่นำไปสู่การใช้ทรัพยากร ICT ร่วมกันทั้งในรูปแบบของบริการซอฟต์แวร์ (SaaS) บริการฮาร์ดแวร์ (HaaS) บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) และบริการแพล็ตฟอร์ม (PaaS) และบริการด้านอื่น (XaaS) ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และประหยัดงบประมาณด้าน ICT ของภาครัฐ และเพื่อให้การพัฒนาในด้านนี้มีความยั่งยืน ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยการส่งเสริมให้มีการนำเอาเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ประโยชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทย การกำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการ Cloud Computing ในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่อง การจัดทำแนวทาง และมาตรฐาน/คุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการให้บริการและการใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 ระบบ Fiber-optic & Tower แห่งชาติ (National Fiber-optic & Tower: NFAT) ระบบโครงข่าย Fiber-optic & Tower แห่งชาตินำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศอย่างเป็นระบบ พร้อมด้วยการบรูณาการกันทั้งในแง่ของการใช้งานและการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเอกภาพในการให้บริการ

2.4 อุปกรณ์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Mobile Device: SMD) อุปกรณ์เคลื่อนที่อัจฉริยะหรือ SMD คือ อุปกรณ์ใช้งานเคลื่อนที่ที่เหมาะสมในการเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารและบริการของภาครัฐ ในหลายรูปแบบที่รวมถึง PC, Tablet, Smart Phone และอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ ซึ่งมีราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการใช้งานเพื่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในแต่ละชุมชนและท้องถิ่น

2.5 จุดบริการประชาชน (Smart–KIOSK: S-KIOSK) จุดบริการประชาชนในรูปแบบ Smart–KIOSK จะเป็นแนวทางสำคัญประการหนึ่งใน การขยายบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง เพื่อการลดช่องว่างในสังคมดิจิทัลลงมา

2.6 อุปกรณ์กล่อง SMART BOX อุปกรณ์ในรูปแบบกล่อง SMART BOX จะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมประสานในการ เข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงระบบทีวีดิจิทัลด้วย

2.7 บัตรอเนกประสงค์ (Multi-Purpose Card: MPC) บัตรอเนกประสงค์ หรือ MPC เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมโยงกับระบบทะเบียน อิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสำหรับแสดงและยืนยันตนในการใช้บริการอิเ ล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ

2.8 ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐ (Government Data Center: GDC) ดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐเพื่อบรูณาการข้อมูลหลัก ในการให้บริการและประกอบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยประกอบด้วย ระบบฐานข้อมูลทะเบียนหลักและฐานข้อมูลสารสนเทศในระดับต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ (National Data Base: NDB)

3. ซอฟต์แวร์

ระบบซอฟต์แวร์หลักในการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนแม่บท ICT (ฉบับที่ 3) ในการก้าวสู่ Smart Thailand ประกอบด้วย

3.1 ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ (Data Warehouse Industry Park: DWIP) ระบบคลังข้อมูลธรุกิจเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันการณ์ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

3.2 ระบบการกู้กลับคืนจากภัยพิบัติ (National Disaster Recovery System: NDRS) ระบบการกู้กลับคืนจากภัยพิบัติ เป็นระบบที่จำเป็นในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้งภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติและที่เกิดจากมนุษย์

3.3 ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligence Operation Center: IOC) ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ หรือ IOC ซึ่งเป็นศูนย์ประมวลผลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ เชิงยุทธศาสตร์และเชิงสถานการณ์ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในระหว่างศูนย์ปฏิบัติการที่มีอยู่ และที่จะจัดตั้งขึ้นทั้งในระดับจังหวัด กรม กระทรวง และประเทศ และการเตรียมความพร้อมที่จะขยายการเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคสากล

3.4 ระบบการจดทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (National E-Registration System: NERS) ระบบการจดทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบพื้นฐานในการให้บริการประชาชน ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงกับ ระบบทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และบัตรเอนกประสงค์แบบครบวงจร

3.5 ระบบฐานข้อมลูแห่งชาติ (NDBS: National Data Base System) ที่มีการบริหารจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Base Management System: RDBMS) ที่มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของภาคส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อการให้บริการประชาชนและการบริหารงาน

3.6 ระบบใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NCA: National Certification Authentication) เป็นการออกใบรับรองเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคง ปลอดภัยในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์

3.7 ช่องทางบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NPGW: National Payment GateWay) เป็นช่องทางบริการชำระเงินที่มีความมั่นคงปลอดภัย อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในด้านความเชื่อมั่นในการใช้บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าใช้จ่าย

4. ข้อมูลและบริการ (Data & Services)

4.1 ระบบข้อมูลหลักของประเทศ จะประกอบไปด้วย ข้อมูลทะเบียนหลักของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน ประกอบไปด้วย ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สาธารณสุข การศึกษา การมีงานท า และข้อมลู อื่นๆที่ส าคัญของประเทศ เช่น การใช้จ่ายงบประมาณ การเตือนภัยพิบัติ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าเกษตรหลักของประเทศ เป็นต้น

4.2 ระบบบริการประชาชนและเอกชน จะประกอบไปด้วยระบบต่างๆ ที่จะอำนวยให้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างฉลาด อาทิเช่น

- Smart Life: Citizenship, House, Jobs, Health, Social Security, Education, Voting

- Smart Industry: Tourism, Agriculture

- Smart Utility: Water, Transportation, Environment, Energy

5. บุคลากร (Peopleware)

บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 ในการก้าวสู่ Smart Thailand ประกอบด้วยนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO) ตามลำดับชั้น ได้แก่ ระดับประเทศ (Country CIO: CCIO) ระดับ กระทรวง(Ministerial CIO: MCIO) ระดับกรม (Departmental CIO: DCIO) ระดับจังหวัด (Provincial CIO: PCIO) และระดับสากล (International CIO: ICIO) รวมไปถึงข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับระบบงานและกระบวนการต่างๆ และผู้ใช้งานซึ่งประกอบไปด้วย ประชาชนทั่วไป นักเรียนนักศึกษา และผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งบุคลากรในสายอาชีพด้าน ICT ในทักษะโดยรวม คือ การรู้เท่าทัน ICT ใน กลุ่มผู้ใช้งาน และการยกระดับมาตรฐานในกลุ่มสายอาชีพด้าน ICT รวมทั้งการยกระดับสมรรถนะหลักของ CIO ตามแนวทางมาตรฐานสากล

6. นโยบายและองค์กรหลัก (Policies and Organizations)

นโยบายและองค์กรหลักในการพัฒนาด้าน ICT ของประเทศ ในการก้าวสู่ประเทศอัจฉริยะ ประกอบด้วยองค์กรในโครงสร้างการจัดองค์กรของ Smart Thailand Board (STB) ได้แก่ STO: Smart Thailand Office, SPO: Smart Province Office, SCIT: Smart Country Institute of Technology, IOC: Intelligence Operation Center, SSW: Smart Single Windows รวมไปถึงศูนย์บริการประชาชนที่มีคุณภาพ หรือ QSC: Quality Service Center, VIC: Village Information Center, SOV: Smart Offices and Volunteers ที่จัดตั้งขึ้นใหม่และปรับปรุงศูนย์บริการเดิมที่มีอยู่ให้มีขีดความสามารถในการให้บริการเบ็ดเสร็จหรือ One Stop Service ให้ทั่วถึงทุกชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยเฉพาะ ณ ศูนย์ข้อมูลและบริการชุมชนฯ (ศขบ.) รวมทั้งบริการออนไลน์ผ่านทางเว็บท่า หรือ Web Portal ซึ่งเป็นศูนย์รวมบริการข้อมูลข่าวสาร และบริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐในระดับประเทศ และรวมถึงองค์กร/คณะกรรมการหลัก ได้แก่ NCIT, MICT ตลอดจน CIO ในหลาย ระดับ: CCIO, MCIO, DCIO, PCIO, ICIO

7. กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Laws and Regulations) กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายด้วยระเบียบและวิธีการปฏิบัติให้มีความสัมฤทธิ์ผล (Legal Enforcement) และหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการความเสี่ยง และกฎ ระเบียบ วิธีการ ข้อปฏิบัติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้าน ICT (GRC: Governance, Risk Management and Compliance)  

 

ที่มาข้อมูล

https://www.mdes.go.th/ 

ที่มาภาพและรวบรวม

---------------------------------------------

สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ระบบการดำเนินงานอัจฉริยะ (Smart Operation)

---------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward