web วิวัฒนาการของเว็บไซต์ web 3.0 อินเทอร์เน็ตในยุคอนาคต
หากเราย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 1980-1990 หรือประมาณ 40 ปีก่อน การเกิดขึ้นของโลกอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งของโลกการสื่อสาร เป็นการเริ่มต้นที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกเทคโนโลยี การเกิดนวัตกรรมตัวนี้ได้เข้ามาทำให้ชีวิตของมนุษย์ในโลกเราถูอย่อเล็กลงในทันที เกิดมีการสร้างสิ่งที่ไม่คาดคิดหรือคาดฝันหลายอย่างให้มีเกิดขึ้นมรในโลก ซึ่งจากวันนั้นมาจนวันนี้อินเตอร์เน็ตก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านมาอย่างต่อเนื่อง และมีพัฒนาการด้านความสามารถและประสิทธิภาพที่สูงรวดเร็ว เว็บไซต์ยุคที่ 3 (Web 3.0) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการอินเทอร์เน็ตที่จะมีต่อไปในยุคอนาคต (The Next Era) ซึ่งจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในงานด้านอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ และเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุคของโลกจักรวาลเสมือน (Metaverse) ต่อไป การที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ก็เป็นส่วนส่งเสริมให้มีการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตถูกพัฒนาไป อาจกล่าวได้ว่าโลกกำลังจะก้าวเข้าสู่เว็บไซต์ยุคที่ 3 (Web 3.0) แล้ว
วิวัฒนาการของเว็บไซต์ในแต่ละยุคตั้งแต่ Web 1, Web 2 และ Web 3.0 มีความแตกต่างกันไปตามความสามารถและและเทคโนโลยีในแต่ละยุค โดยอาจกล่าวย้อนวิวัฒนาการของ Web ในแต่ละยุคได้ดังนี้
Web 1.0 เว็บไซต์แสดงข้อมูล (Static Web) เป็นเว็บไซต์ที่เกิดมาพร้อมกับระบบอินเทอร์เน็ตในยุคแรก การสื่อสารเว็บในยุคนี้จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมในช่วงยุค 80-90 โดยการสื่อสารอินเทอร์เน็ตในยุคนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสามารถในการสื่อสารทางเดียว ยังไม่สามารถตอบสนองสื่อสารกลับไปมาด้วยกันได้ เว็บที่มีก็ยังไม่ซับซ้อนไม่สามารถเชื่อมโยงสื่อสารได้ดีมากนัก หรือที่เรียกกันว่า Static Web เป็นหน้าเว็บแสดงข้อมูลข่าวสารเฉพาะเรื่อง ไม่มีการเชื่อมต่อกับ Database และยังไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้เข้าชมได้ การใช้งานเว็บในยุคนี้จึงเป็นเหมือนการเข้าไปอ่านหนังสือดิจิทัล โดยเราจะสามารถเข้าไปอ่านได้เท่านั้นและไม่มีการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียมากมาย ในช่วงนี้การสร้างเว็บเพจต่างๆ ยังทำได้ยากทรัพยากรที่ใช้มีรคาสูงหายาก ทำให้มีเว็บไซต์ในยุคนี้ยังมีน้อยอยู่ การแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บหรือเนื้อหาคอนเทนต์ยังไม่สามารถทำได้ เว็บในยุคนี้ยังไม่มีอัลกอริทึมหรือระบบในการเปลี่ยนไปหน้าต่าง ๆ หรือเพจอื่น ๆ ที่ดีพอ ทำให้เป็นเรื่องยากมากที่จะพัฒนาอำนวยความสะดวกให้แก่คนจะเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตามในยุคนี้ก็เริ่มแตกตื่นในเทคฌนโลยีที่เชื่อมโลกให้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น จนเกิดมีคำว่าโลกานุวัตน์ขึ้นมา
Web 2.0 เว็บไซต์สื่อโชเชี่ยล (Social Web) เป็นยุคที่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในงานเว็บต่อเนื่องมามากขึ้น เกิดมีการทำธุรกิจในด้านนี้มากมาย เช่น Google, Facebook, Youtube, Wikipedia และสื่อโชเชี่ยลอีกมากมาย ทำให้เกิดมีบริษัทที่ร่ำรวยในการทำธุรกิจด้านนี้หรือที่เรียกว่า Startup สามารถเกิดขึ้นมาจำนวนมาก ซึ่งการเติบโตจะมีการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กันไปมาได้บนเว็บไซต์ และยังสามารถเชื่อมโยงเชื่อมต่อไปยัง Database ที่มีการเก็บบนคลาวด์ที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มากมาย การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีในยุคนี้จะทำให้เกิดขึ้นเป็นสังคมโลกออนไลน์ หรือที่รู้จักกันในชื่อโลกสื่อโชเชี่ยล (Social media) เป็นโลกดิจิทัลที่ทุกคนในทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารโต้ตอบกันไปมา มีการแสดงความคิดเห็น สร้างคอนเทนต์ และสามารถส่งแชร์ข้อมูลไปมาหากันข้ามแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันได้
Web 3.0 เว็บไซต์แบบโลกเสมือนจริง มีการคาดการณ์ไว้ว่าระบบนี้จะเป็นยุคใหม่ของโลกอินเตอร์เน็ต (The Next Era of the Internet) ที่จะมีความเป็นระบบอัจฉริยะมากขึ้น สามารถทำงานวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น สามารถทำงานได้เองแบบอัตโนมัติที่ดีและมีมากขึ้น และมีการผสมผสานนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกันมากขึ้น เช่น Machine Learning (ML), Big Data, AI, Blockchain หรือเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะมีการนำมาใช้งานร่วมกันมากขึ้นและวิวัฒนาการงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดย Tim Berners-Lee ผู้คิดค้น World Wide Web ได้กล่าวไว้ว่า Web 3.0 จะเป็น Semantic Web หรือเว็บที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างระบบ คน และอุปกรณ์ IoT ได้แบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การสร้างคอนเทนต์ และการตัดสินใจ จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างคน และเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้การสร้างคอนเทนต์บนโลกอินเทอร์เน็ตมีความพิเศษมากขึ้น โดยจะสามารถสร้างสิ่งที่ตรงตามความต้องการของแต่ละผู้ใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตได้เลย
คำอธิบายของ Web 3.0 ยังบอกเพิ่มเติมอีกว่า จะเป็นแหล่งกักเก็บ Data แบบ Decentralized หรือแบบกระจายออกจากศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจาก Web 2.0 ที่ Data ส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บไว้แบบ Centralized หรือที่ศูนย์กลางมากกว่า และการรันข้อมูลบน Protocol แบบ Decentralized จะเหมือนกับเทคโนโลยีอย่าง Blockchain และ Cryptocurrency ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ในอนาคตจะเห็นการทำงานร่วมกันของ 3 เทคโนโลยีนี้แบบไร้รอยต่อ บน Smart Contract ที่จะทำให้ทุกอย่างก้าวหน้าไปอีกขั้น ตั้งแต่ การทำ Microtransaction, Peer-to-Peer การกักเก็บข้อมูล การทำงานข้ามแอปพลิเคชัน ไปจนถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจของหลาย ๆ องค์กร และในอนาคตจะเห็นว่า DeFi Protocol ที่เราเห็นกันตอนนี้นั้น จะเป็นแค่สิ่งเล็ก ๆ เมื่อยุคของ Web 3.0 มาถึง
ที่มาข้อมูลภาพ www.iok2u.com
---------------------------------
web รวมบทความความรู้ด้านงานเว็บไซต์ (Website)
---------------------------------