iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

การประเมินผลการวิจัย (Evaluation research)

การดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยควรต้องศึกษาทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะให้นำแนวคิดวิธีการและผลการวิจัยนั้นมาช่วยให้เกิดประโยชน์ในงานวิจัย งานวิจัยที่จะนำมาใช้ควรเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพดี มีความน่าเชื่อถือ โดยผู้ศึกษาต้องทำการประเมินผลงานวิจัยชิ้นที่สนใจนั้นก่อน ในการประเมินผลการวิจัยมีการพิจารณา 2 ด้านคือ

1. ด้านคุณค่า พิจารณาจากประโยชน์หรือความสำคัญของงานวิจัย เกณฑ์พิจารณาเช่น

- ความสำคัญของปัญหา การช่วยแก้ ปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่มี ปัญหาจำเป็นเร่งด่วน

- สามารถพัฒนาองค์ความรู้หรือผลิตสิ่งของ เครื่องมือใหม่ขึ้นมา

- เป็นประโยชน์ต่องานในสาขาวิชาการนั้นเช่น ทดสอบทฤษฎีที่สนใจ หรือการสร้างสูตรใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหา

2. ด้านคุณภาพ พิจารณาจากผลและขั้นตอนการดำเนินงาน ว่าถูกต้องเหมาะสมตามหลักการของงานการวิจัยที่ดี เกณฑ์พิจารณาเช่น

2.1 ชื่อเรื่อง มีความชัดเจน ชี้ให้เห็นถึงขอบข่ายปัญหา ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

2.2 ความเป็นมาของปัญหา ปัญหามีความสำคัญชัดเจน มีเหตุผลที่ต้องทำการวิจัย มีองค์ประกอบในปัญหาและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหา มีหลักเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอในการเลือกตัวแปรหรือองค์ประกอบที่จะศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์กับปัญหาที่วิจัย การกำหนดขอบเขตของปัญหาชัดเจน

2.3 นิยามศัพท์เฉพาะ ให้นิยามตัวแปรและศัพท์เฉพาะที่สำคัญอย่างชัดเจน โดยเขียนให้เป็นเชิงปฏิบัติการคำศัพท์ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องให้นิยาม และในรายงานการวิจัยควรใช้คำศัพท์ตรงตามที่ได้นิยามไว้

2.4 สมมุติฐาน สร้างจากหลักของเหตุผลและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีความสอดคล้องกับข้อความที่ทราบกันดีหรือกับทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ มีความชัดเจนสามารถทดสอบได้และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

2.5 ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบแนวคิด (Theoretical Framework) มีการจัดลำดับเรื่องเป็นไปอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอ้างอิงมายังปัญหาที่วิจัย การกล่าวอ้างแหล่งอ้างอิงมีปรากฏแหล่งอ้างอิงในบรรณานุกรม บรรณานุกรมจะต้องไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ได้ระบุในรายงานการวิจัย

2.6 วิธีดำเนินการวิจัย มีกระบวนการดำเนินการวิจัยละเอียด กำหนดหลักเหตุผลโครงสร้างและวิธีการศึกษาที่เป็นระบบมาตรฐานการทำงานชัดเจน

- มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีรายละเอียดและวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างชัดเจน มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม

- เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยมีมาตรฐาน มีความถูกต้อง (Validity) มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ (Reliability) สูง

- วิธีการตรวจให้คะแนนเป็นมาตรฐาน สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการศึกษาได้ครบถ้วน ข้อมูลที่รวบรวมมีความเชื่อถือได้ กรณีที่มีการใช้หลักสถิติทดสอบ ต้องไม่ฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติ

2.7 ผลการวิจัย  เสนอผลการศึกษาที่มีทั้งหมดนำเสนอในแบบอย่างเป็นปรนัยมากกว่าอัตนัย โดยข้อมูลที่เสนอจะยังเป็นผลที่ได้ที่ปราศจากอคติ หรือการเพิ่มเติมสิ่งที่ แปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่อ้างสรุปเกินข้อมูลหรือใช้ข้อความที่ครอบคลุมกว้างเกินไปจากข้อมูลที่มีอยู่

2.8 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นปรนัยปราศจากอคติ กรณีใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับสมมุติฐานในการวิจัย และสมมุติฐานหลัก (Null Hypothesis) ใช้วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิจัยที่เหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำได้ถูกต้อง

2.9 การสรุปผลการวิจัย กล่าวถึงปัญหาวิธีการศึกษา ผลการศึกษา โดยใช้ข้อความที่กระชับ ไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องอื่นๆ สรุปผลการศึกษาภายในขอบเขต และระดับของการอ้างอิงเหตุผลตามข้อมูลและผลการวิเคราะห์ไม่มีความลำเอียงหรือคติส่วนตัวเจือปน สามารถเข้าใจและศึกษาเพื่อตรวจสอบต่อไปได้ เสนออย่างเป็นปรนัยมากกว่าอัตนัยปราศจากอคติ แปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่อ้างสรุปเกินข้อมูลหรือใช้ข้อความที่ครอบคลุมกว้างเกินไปจากข้อมูลที่มีอยู่

2.10 การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ อภิปรายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือได้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลการศึกษากับผลการวิจัยที่แล้วมาอย่างชัดเจน อภิปรายจุดอ่อนของข้อมูล วิธีวิเคราะห์ องค์ประกอบที่ไม่ได้ควบคุมที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษา กล่าวถึงขอบเขต ข้อควรระวังในผลการศึกษา อภิปรายความสำคัญของผลการศึกษา ความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม เสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ และมีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติมที่สมเหตุสมผลปฏิบัติได้

2.11 การอ้างอิง ใช้แบบแผนการอ้างอิงที่เหมาะสม และเป็นแบบเดียวโดยตลอด อ้างอิงได้ตรงความเป็นจริง และมีความสมบูรณ์ มีความหมายชัดเจน ถูกหลักไวยากรณ์

----------------------------------------

@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ

@ ที่มาข้อมูล

- Web: www.iok2u.com

- FB: https://www.facebook.com/iok2u

- Line: @iok2u.com

- Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward