Wave Revolution / คลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
คลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (Wave Revolution) จากอดีตจนมาถึงปัจจุบันได้มีการแบ่งการการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อโลก จากแนวคิดของ Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงที่สำคัญ ดังนี้
คลื่นลูกที่ 1 การปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีผ่านมาแล้ว นับตั้งแต่ในช่วงปลายยุคหินใหม่ มนุษย์ในยุคนั้นได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่ร่อน ล่าสัตว์ และเก็บพืชผลไม้ป่าเป็นอาหารมาเป็นการเริ่มเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทีการตั้งบ้านอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งมีรูปแบบเป็นอารยธรรม ปัจจัยแห่งยุคนี้คือ ที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร เพื่อปกป้องทรัพยากรและหาแหล่งทรัพยากรใหม่ให้สังคมของตน ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้านักธุรกิจ จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าเพื่อเลี้ยงดูตนและกองทัพ อารยธรรมโลกยุคแรกเกิดขึ้นในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ในบริเวณที่ปัจจุบันคือ ประเทศปากีสถาน และที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโหในประเทศจีน เมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาลการชลประทานและการค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ
คลื่นลูกที่ 2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เกิดขึ้นจากปัญญาชนในยุคนี้ปฏิเสธความคิดความเชื่อที่เกิดจากศรัทธาในศาสนาของยุคกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 นำไปสู่การให้ความสำคัญในเรื่องผลิตผลและประสิทธิภาพ การหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความเจริญก้าวหน้าแก่มนุษย์ นิยมการค้นหาความจริงโดยหลักของเหตุและผล มองโลกในแง่ดีเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์ นำความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ไปอธิบายปัญหาสังคม โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นผู้นำ การปฏิวัติอุตสาหกรรม แบบแผนการทำงานในโรงงานยังเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งต้องนำงานมาส่งให้แรงงาน อันทำให้รูปแบบของสินค้า แรงงาน และสถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ถ่านหิน และไอน้ำในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก มาเป็นพลังงานไฟฟ้า เคมี และน้ำมันในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้น วิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ แม้กระทั่งระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงต่อระบบการทำงานส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์แทบทุกด้าน ปัจจัยของยุคนี้คือทุนเครื่องมือได้แก่ เครื่องจักร เครื่องกล โดยมีไอน้ำและไฟฟ้าเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ โลกเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมีการสร้างถนนและสาธารณูปโภค การเดินทางไปมาหาสู่กันมีมากขึ้นเนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ
คลื่นลูกที่ 3 การปฏิวัติสารสนเทศ (Information Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศและกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเกิดจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่มุ่งแปรสภาพจากสังคมเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrial Economy) ไปเป็นสังคมเศรษฐกิจบริการ (Service Economy) โดยเป็นการผลิตที่ใช้สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น และมีการใช้นโยบายกีดกันการค้าเข้าแทนที่นโยบายการค้าเสรีที่เคยใช้มาก่อน รวมทั้งใช้นโยบายเสรีนิยมทางการเงิน (Financial Liberalize) ทำให้ทุนและเงินตรากลายเป็นปัจจัยการผลิตที่ไร้เชื้อชาติและสัญชาติ และสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศโดยเสรีโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศมีความสำคัญแซงหน้าการลงทุนโดยตรง ปัจจัยแห่งยุคคือ ข้อมูลมีเครื่องมือคือ IT (Information Technology) สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ
คลื่นลูกที่ 4 การปฏิวัติความรู้ (Knowledge Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งการสร้างสังคมแห่งองค์ความรู้ โดยเน้นในปัจจัยคือ ความรู้ (Knowledge) เครื่องมือคือ ศาสตร์วิทยาการในแขนงต่างๆ เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น ยุคนี้จะมีการใช้ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกเฉพาะตนที่มากขึ้น มีการบูรณาการความรู้และใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดความแตกต่างหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง
จากภาพแนวคิดที่โลกหมุนเวียน การพััฒนาปฎิวิติสร้างความเจริญก็มีการหมุนเวียนไปตามทิศทางของโลก จึงมีคำถามว่าคลื่นลูกที่ 4 จะหมุนเวียนกลับมาที่แถบโซนเอเซียได้หรือไม่ นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะ ปัจจุบันทั้งจีนและอินเดีย ต่างก็มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่แถบนี้มีปริมาณประชากรที่มากเกินครึ่งของประชากรทั้งโลก
? Web: www.iok2u.com
? Facebook: https://www.facebook.com/iok2u.com