โลจิสติสก์ 4.0 (Logistics 4.0)
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
สำนักโลจิสติกส์
จากที่ผ่านมาได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมสู่ยุคใหม่หรือที่เรียกว่าอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และเมื่อรัฐบาลไทยได้นำเอาคำว่า 4.0 มาใช้ในการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ โดยประกาศจะนำพาประเเทศและเศรษฐกิจก้าวไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้คำต่างๆ ที่ต่อท้ายด้วย 4.0 เต็มไปหมด จนเกิดปัญหาว่าความเข้าใจในนิยามหรือเป้าหมายในคำว่า 4.0 ที่มีนั้นเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คำว่า โลจิสติกส์ 4.0 ก็ยังมีการพูดถึงบ่อยขึ้นและมีการกำหนดนิยามที่แต่กต่างกันมากมาย ในครั้งนี้เราจึงจะมาขอพูดถึง โลจิสติสก์ 4.0 (Logistics 4.0) โดยใช้รูปแบบการนิยามจาก อุตสาหกรรม 4.0 ของเยอรมันนี ที่เป็นต้นตำหรับในคำว่า Industry 4.0 เพื่อใช้เทียบและสร้างนิยาม ซึ่งขอบอกว่าอาจไม่ใช่ขอกำหนดที่ชัดเจน แต่หากใครที่กำลังพูดถึงโลจิสติกส์ 4.0 แล้วยังสับสนไม่ที่ที่อ้างอิงนิยาม อาจสามารถดูเพื่อนำไปปรับใช้ได้ เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะทำให้มีความเข้าใจตรงกันจึงจะทำให้มองปัญหาและแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกัน
นิยาม อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) มีแนวคิดที่สำคัญคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริการ หรือการขายสินค้า โดยการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีดิจิทัลเช่น การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักร และระบบเครื่องจักรสามารถสื่อสารกันได้เอง หรือการผลิตสินค้าแบบอัตโนมัติตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะเน้นการตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและตลาด ทำให้อาจสามารถตอบสนองถึงระดับรายบุคคลได้โดยยังรักษาคุณภาพการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ความคาดหวังหรือความท้าทายในอุตสาหกรรม 4.0 ได้แก่ การผลิตสินค้าตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคได้มากขึ้น มีวงจรในการเกิดนวัตกรรมสินค้าที่สั้นลง สินค้าที่ผลิตมีความซับซ้อนมากขึ้นระยะเวลาในการผลิตสั้นลง และรองรับความต้องการตลาดที่ผันผวนมากขึ้น สามารถแข่งขันในการผลิตได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกว่าจะมาเป็นอุตสาหกรรม 4.0 แต่ละยุคสมัยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
อุตสาหกรรมยุคที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1784 มีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรก เป็นยุคการผลิตแบบโรงงานที่ใช้เครื่องจักรช่วยในการผลิต ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยุคที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1870 มีการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำมาใช้พลังงานไฟฟ้า ต้นทุนการผลิตลดลง เป็นยุคของการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก (Mass Production)
อุตสาหกรรมยุคที่ 3 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 มีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิตแทนที่แรงงานคน เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
อุตสาหกรรมยุคที่ 4 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2013 จากนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมันเน้นการนำหุ่นยนต์ เครื่องจักร เทคโนโลยีดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มาใช้ช่วยในกระบวนการผลิตสินค้าแบบครบวงจร เป็นยุคของกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ “Smart Factory”
จากนิยามอุตสาหกรรม 4.0 หากเรานำมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับงานโลจิสติกส์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในงานอุตสาหกรรม อาจสามารถกำหนดนิยาม โลจิสติกส์ 4.0 โดยสนับสนุนตามกิจกรรมการผลิตในแต่ละช่วงได้เป็น
นิยาม โลจิสติกส์ 4.0 (Logistics 4.0) โดยใช้แนวคิดตาม อุตสาหกรรม 4.0 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริการ หรือการส่งสินค้า โดยการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่ง การที่ระบบเครื่องจักรสามารถสื่อสารกันได้เอง การผลิตสินค้าและจัดส่งแบบอัตโนมัติตามความต้องการของผู้บริโภค ทำให้อาจสามารถตอบสนองถึงระดับรายบุคคลได้โดยยังรักษาคุณภาพการขนส่งที่รวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ความคาดหวังหรือความท้าทายในโลจิสติกส์ 4.0 เทียบตามยุคอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
โลจิสติกส์ยุคที่ 1 ยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำขึ้นมาใช้งานในยุคนี้ก็เริ่มมีการนำเครื่องจักรมาช่วยในการขนส่งเช่น รถไฟ เรือยนต์ และรถบรรทุก ทำให้เริ่มมีความสามารถและขอบเขตในการขนส่งที่ไปได้ไกลมากขึ้น สามารถขนส่งผลผลิตที่มีจากโรงงานที่เริ่มมีมากขึ้นไปสู้ลูกค้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้น
โลจิสติกส์ยุคที่ 2 ยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแนวคิดการผลิตสินค้า ที่มีลักษณะการผลิตชนิดเดียวกันจำนวนมาก (Mass Production) เพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตลดลง ในยุคนี้การผลิตสินค้าจึงเกิดมีปริมาณที่มากขึ้น ในยุคนี้ก็เริ่มมีการจัดการโลจิสติกส์ก็เริ่มมีการพัฒนาระบบในสามารถตอบสนองการขนสินค้าที่มีมากขึ้น ทั้งในโรงงานและการขนส่งภายนอก เริ่มมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งที่หลากหลายเพิ่มขึ้นจากเดิม ที่มีการใช้ในระยะไกลเท่านั้น ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เกิดในยุคนี้เช่น รถโฟลค์ลิฟต์ เครื่องยกตู้คอนเทรนเนอร์ สายพานลำเลียง
โลจิสติกส์ยุคที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ในยุคนี้งานด้านโลจิสติกส์ก็มีการพัฒนาทั้งในส่วนการนำระบบไอทีมาช่วยในการทำงานและการพัฒนาเครื่องมือขนส่งเช่น ระบบในการบริหารจัดการขนส่ง (TMS) เครื่องติดตามตำแหน่ง (GPS) หรือระบบ RFID เป็นต้น
โลจิสติกส์ยุคที่ 4 เกิดขึ้นจากนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมัน ที่จะเน้นการผลิตที่เป็นอัตโนมัติมากที่สุด โดยนำหุ่นยนต์ เครื่องจักร เทคโนโลยีดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มาใช้ช่วยในกระบวนการผลิตสินค้าแบบครบวงจร ในยุคนี้ก็เริ่มมีแนวคิดที่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติมาช่วยในงานขนส่งมากขึ้นเช่น ระบบคัดเลือกเส้นทาง รถบรรทุกไร้คนข้บ รถยนต์อัตโนมัติ ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ การผลิตเคลือนย้ายโดยใช้หุ่นยนต์
การพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมเข้าสู่ยุค โลจิสติกส์ 4.0 สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีจุดแข็งในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยควบคุมการขนส่งให้มากที่สุดโดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับภาคการผลิต ดังนั้นองค์กรด้านโลจิสติกส์ หากต้องการมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ต้องเริ่มกำหนดนโยบายและแผนการทำงานด้านสารสนเทศที่ชัดเจน เน้นการพัฒนางานด้านการปรับปรุงโลจิสติกส์ให้เป็นมาตรฐาน กระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรให้ทันต่อสถานการณ์ตลอดเวลา
----------------------------------------
@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
@ ที่มาข้อมูล
- Web: www.iok2u.com
- FB: https://www.facebook.com/iok2u
- Line: @iok2u.com
- Mail: