Lean และ Agile ในกลยุทธ์ซัพพลายเชน (Lean and Agile in supply chain strategy)
Lean และ Agile ในกลยุทธ์ซัพพลายเชน (Lean and Agile in supply chain strategy) เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากห่วงโซ่อุปทาน ในกรณีที่มีการผลิตตามความต้องการที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงแปรผันมากนัก ฝ่ายวางแผนสามารถพยากรณ์คาดการณ์ตลาดได้ บริษัทควรใช้กลยุทธ์แบบ Lean และระบบ Kanban เพื่อทำให้ได้สินค้าหรือบริการที่ได้เป็นไปตามแผนที่วางและคาดการณ์ไว้ แต่ในกรณีที่ความต้องการในตลาดนั้มีความแปรผันสูงมากบางครั้งไม่อาจคาดการณ์ได้ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์แบบ Agile ที่เน้นความคล่องตัว และทำให้ได้สินค้าส่งลูกค้าได้ตามสั่งและตรงความต้องการ
1. การเลื่อนและการออกแบบช่องทาง (Postponement and Funnel Design) คือ จุดการชลอการผลิตเพื่อรอ และการจัดแยกย่อยกลุ่มของลูกค้า จะใช้สำหรับรายการที่มีระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานกว่าที่ลูกค้าต้องการจะรอ รายการจะจัดหาโดยใช้กลยุทธ์แบบ Lean เพื่อรักษามาตรฐานในการผลิตไว้ให้มากที่สุดในงานโซ่อุปทาน จะมุ่งมั่นเฉพาะกับการกำหนดค่าเฉพาะเมื่อทราบข้อกำหนดของลูกค้าที่แน่นอน โดยจะผลิตในส่วนความต้องการพื้นฐานรอไว้ (Production, P) เนื่องจากมีปริมาณที่แน่นอนและระยะเวลาในการผลิตช่วงนี้ที่ยาวมาก เมื่อมีคำสั่งซื้อหรือมีความต้องการเพิ่ม (Demand, D) ก็จะเริ่มดำเนินการต่อ ซึ่งการดำเนินการแบบนี้ได้เนื่องจากช่วงที่ใช้ในการตอบสนองความต้องการลูกค้ามีระยะเวลาที่สั้น
2. การแยกความต้องการพื้นฐานและความต้องการเพิ่ม (Base and Surge Demand Separation) คือ การพยายามแยกความต้องการพื้นฐานและความต้องการที่ไม่แน่ชัด โดยอาจได้จากการศึกษาประวัติการขายที่มีการเก็บมา สังเกตบางองค์ประกอบของความต้องการที่คาดการณ์ได้ชัดเจน เรียกว่าความต้องการพื้นฐาน ดำเนินการจัดเตรียมในส่วนนี้ไว้ได้ และเรียกส่วนที่มีมาเกินที่คาดเดาไว้ ไม่ได้เตรียมการเรียกว่า ความต้องการเพิ่มขึ้น ควรศึกษาเพื่อหาจุดปลอดภัยที่จะใช้ในการผลิตที่จะช่วยตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ดีที่สุด ส่วนในจุดที่เพิ่มควรใช้รูปแบบ agility มาช่วยในการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องความต้องการที่มีเพิ่มเกินปริมาณที่จัดเตรียมไว้ เพื่อให้มีการผลิตสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด
3. การวิเคราะห์แบบ Pareto จากกฎของ Pareto ที่ใช้หลัก 20/80 ที่พยายามชี้ให้เห็นว่า 20% ของสินค้าของบริษัท นั้นจะมีความสำคัญและมีส่วนช่วยทำรายได้จากการขายได้ถึง 80% ของรายได้ทั้งหมดในองค์กร เราจึงควรหาสินค้าเหล่านี้ให้พบเนื่องจากเป็นสินค้าปริมาณสูงทำให้ง่ายต่อการคาดการณ์ความต้องการสินค้า 20% จากนั้นใช้วิธีการแบบ Lean มาใช้ผลิตตามที่คาดการณ์ไว้ได้ แต่ในอีก 80% ที่ทำรายได้น้อยแต่กลับมีความต้องการมีความผันผวนมากนั้น ควรใช้การผลิตแบบ Agile ที่จะมีความว่องไวในการผลิตและปรับเปลี่ยนในการสั่งทำสินค้า
------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com