การจัดส่งและกระจายสินค้า (Shipping and distribution)
การจัดส่งและกระจายสินค้าเป็นส่วนสำคัญในองค์ประกอบของกาจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกำไรโดยส่วนรวมให้กับธุรกิจ เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับต้นุการจัดการโซ่อุปทานและสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับ ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามูลค่าของการกระจายสินค้าเป็นร้อยละ 10.5 และมีมูลค่าถึงร้อยละ 20 ของต้นทุนในการผลิตสินค้า สำหรับสินค้าประเภทซึ่งมาขายไปจะมีสั่นต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนสินค้า เช่น ประเทศอินเดีย การกระจายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างขาออก (Outbound) จากโรงงานไปยังลูกค้าคิดเป็นร้อยละ 30 ของต้นทุนการผลิตและขาย การออกแบบระบบการกระจายสินค้าจะขึ้นอยู่กับลักษณะและนโยบายของธุรกิจ ในธุรกิจประเภทเดียวกันอาจใช้ระบบเครือข่ายจัดส่งสินค้าที่แตกต่างกัน
รูปแบบของการกระจายสินค้า
1) บทบาทของการจัดส่งและกระจายสินค้า บทบาทของการจัดส่งและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะจัดส่งสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบวิธีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและผสมผสานเข้าด้วยกัน ลักษณะระบบงานย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่
1. การขนส่ง (Transportation) มีความเกี่ยวข้องกับวิธีการนำสินค้าออกจากโรงงานไปส่งให้กับลูกค้า โดยปกติค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าของธุรกิจเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายรวมของระบบการจัดจำหน่ายแล้วจะมีระดับสูง โดยปกติประมาณ 1 ใน 2 หรือ 2 ใน 3 เท่าของต้นทุนการจัดจำหน่าย
2. ระดับสินค้าคงคลังที่จัดจำหน่าย (Distribution Inventory) เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่อยู่ในคลังสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายแก่ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบในด้านของต้นทุนแล้วอยู่ในระดับรองลงมาจากต้นทุนการขนส่ง กล่าวคือคิดเป็นร้อยละ 25-30 ของต้นทุนการจัดจำหน่าย
3. คลังสินค้า (Warehousing) ใช้ในการจัดเก็บและจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาทำเลที่ตั้ง จำนวนคลังสินค้าในระบบ การวาแผงผังวิธีภาคปฏิบัติงานในด้านการรับ การจัดเก็บ และการเรียกสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า
4. การขนถ่ายวัสดุ (Materials Handling) มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า รูปแบบของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายวัสดุจะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งต้นทุนในการดำเนินงานของคลังสินค้า ซึ่งได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคลังสินค้า
5. การบรรจุหีบห่อป้องกันสินค้า (Protective Packaging) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุดิบหรือสินค้าในคลังสินค้าจำเป็นที่จะต้องมีการบรรจุภาชนะหรือหีบห่อ การป้องกัน และการจำแนกสินค้าลักษณะการเคลื่อนย้ายสินค้าจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย
6. การประมวลผลคำสั่งซื้อ (Order Processing) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการใบสั่งซื้อของลูกค้า ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในส่วนของการให้บริการแก่ลูกค้า
หน้าที่จัดส่งและกระจายสินค้า มีข้อพิจารณาที่สำคัญ ได้แก่
1. การหมุนเวียนของสินค้า
2. ลักษณะของการกระจายสินค้า
3. การจัดตารางการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า
4. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
5. ระยะเวลาในการจัดส่ง
6. ปริมาณการจัดส่งสินค้าแต่ละครั้ง
7. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจัดส่งสินค้า
รูประบบและหน้าที่ของคลังสินค้าและการกระจายสอนค้า
บทบาทหน้าที่สำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าจำแนกออกได้ดังนี้
1. การติดต่อ หาลูกค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้า
2. การรับใบสั่งซื้อ จัดทำเอกสารประกอบการติดต่อสั่งซื้อและขายสินค้า
3. การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าผ่านกระบวนการโลจิสติกส์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่ตกลงไว้กับลูกค้าโดยให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการขนส่งต่ำสุด
4. การจัดเก็บสินค้าเพื่อรอการส่งมอบให้กับลูกค้าในเวลาที่ต้องการหรือเมื่อถึงกำหนด เป็นการลดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าโดยไม่เสี่ยงต่อการเสียโอกาสในการขายหรือการขาดแคลนสินค้าจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
5. การจัดแยกประเภทของสินค้าที่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้า การจัดลำดับความสำคัญในการส่งมอบตลอดจนการกำหนดวิธีการส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยการจัดกาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
6. พิจารณาตัวแทนส่งมอบหรือกระจายสินค้า ตรวจสอบและควบคุมความสามารถของตัวแทนหรือคนกลาง เพื่อลดภาระหรือต้นทุนในการจัดส่งสินค้าด้วยตนเอง
7.การสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับลูกค้าในด้านการขนส่งสินค้าในกรณีที่สินค้าเกิดการสูญหายหรือการชำรุดเสียหายอันเกิดจากกระบวนการกระจายสินค้า
8.เปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวแทนหรือคนกลางที่รับผิดชอบในการกระจายสินค้า เพื่อพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด