iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

วัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก็บเป็นวัสดุคงคลัง (Stock Criteria Matrix)

 

ตารางวัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก็บเป็นวัสดุคงคลัง (Stock Criteria Matrix) คือ การวิเคราะห์เพื่อวางแผนการจัดเก็บสินค้าในรูปแบบตาราง ซึ่งสามารถใช้ตัวแปรมาทำการวิเคราะห์ เพื่อจัดกลุ่มในการกำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการวัสดุต่อไป ในรูปจะเป็นการวิเคราะห์จาก 4 มิติคือ

1. การวิเคราะห์ทางด้านความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis) คือ การคัดแยกประเภทของพัสดุตามความสำคัญของพัสดุนั้น การแบ่งในด้านนี้ต้องให้ฝ่ายซ่อมบำรุงหรือวิศวกรผู้ปฎิบัติงานเป็นผู้กำหนด ซึ่งหากเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะเป็นการยากมาก เนื่องจากต้องพิจารณาละเอียดลึกลงไปถึงในระดับอะไหล่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ

วัสดุสำคัญ (Vital, V) คือ วัสดุที่มีความสำคัญในการผลิตมาก หากขาดวัสดุดังกล่าวจะส่งผลให้อุปกรณ์หยุดทำงาน และมีผลสืบเนื่องทันทีมีผลให้กระบวนการผลิตการดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก และในที่นี้ร่วมถึงวัสดุที่ที่ต้องได้รับการจัดเก็บตามข้อกำหนดทางกฎหมาย.

วัสดุจำเป็น (Essential, E) คือ วัสดุที่มีความสำคัญปานกลาง หากวัสดุอะไหล่ชิ้นนี้เสียหายจะส่งผลกระทบต่อการผลิตเช่น จำนวนผลงานที่ผลิตออกมาจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น, คุณภาพงานที่ได้อาจต่ำลง, อาจต้องแก้ไขหรือทำซ้ำ หรืออาจทำให้เกิดผลสืบเนื่องทำให้กระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ.

วัสดุสนับสนุน (Desirable, D) คือ วัสดุสำหรับใช้งานทั่วไป การขาดวัสดุในกลุ่มนี้อาจจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อกระบวนการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจมากนัก                     

2. การวิเคราะห์ทางด้านความถี่ในการใช้งาน (FSN Analysis) จะเป็นการคัดแยกประเภทของวัสดุตามความถี่ในการใช้งาน ในส่วนของระยะเวลาความถี่นั้นจะมีความแตกต่างกัน ตามนโยบายหรือแนวคิดในแต่ละบริษัท การได้มาซึ่งความถี่นั้นบางครั้งอาจต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จากทางคลังสินค้าเป็นผู้เก็บข้อมูล แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดความถี่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ

วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว (Fast Moving, F) วัสดุที่มีความต้องการใช้งานในระดับความถี่ในรอบที่เร็ว มีการใช้งานบ่อย

- วัสดุที่มีการหมุนเวียนช้า (Slow Moving, S) วัสดุที่มีความต้องการใช้งานในช่วงเวลาที่มากกว่า มีความถี่การใช้น้อยแต่ก็ยังมีการใช้งานบ้าง

- วัสดุที่ไม่มีการหมุนเวียน (Non Moving, N) วัสดุที่ไม่ค่อยมีความต้องการใช้งานในช่วงเวลาที่มาก บางครั้งอาจแทบไม่ได้มีการนำมาใช้เลย

3. การวิเคราะห์ทางด้านราคา (HML Analysis) จะเป็นการคัดแยกประเภทของวัสดุตามราคา โดยในส่วนของระดับราคานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัทขึ้นอยู่กับ นโยบายของฝ่ายบริหารกำหนด, อาจใช้ที่มาข้อมูลราคาจากฝ่ายจัดซื้อ หรือการตรวจสอบราคา โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ

- วัสดุราคาแพง (High, H) พัสดุที่มีราคาสูง.    

- วัสดุราคาปานกลาง (Medium, M) พัสดุที่มีราคาในระหว่างปานกลาง  

- วัสดุราคาถูก (Low, L) พัสดุที่มีราคาต่ำ

4. การวิเคราะห์ทางด้านระยะเวลาในการส่งมอบวัสดุ (SDE Analysis) จะเป็นการคัดแยกประเภทของพัสดุตามช่วงเวลาการส่งมอบสินค้า โดยในส่วนของระดับเวลานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัทขึ้นอยู่กับ นโยบายของฝ่ายบริหารกำหนด, อาจใช้ที่มาข้อมูลจากฝ่ายจัดซื้อ, ขอข้อมูลจาก Vendor หรือ Supplier หรือการตรวจสอบระยะเวลาในการส่งมอบ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ

- วัสดุขาดแคลน (Scarce, S) เป็นวัสดุที่มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าที่นาน 

- วัสดุหายาก (Difficult, D) เป็นวัสดุที่หายาก และมีระยะเวลาการรอคอยสินค้านาน 

- วัสดุหาง่าย (Easily Available, E) เป็นวัสดุที่หาง่ายมีทั่วไป มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าไม่นาน

จากตัวอย่างอาจพบว่าในการจัดเก็บบางครั้งอาจมีการนำเอาปัจจัยอื่นมาร่วมในการพิจารณาได้ หลังจากกำหนดตัวแปรมิติที่สนใจได้แล้วก็จะคำนวนและทำการจัดแบ่งกลุ่ม ก่อนที่จะกำหนดนโยบายในการจัดการในแต่ละกลุ่มที่ต่างกันไป และความถูกต้องของข้อมูลจะเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ หากข้อมูลถูกต้องจะสามารถลดจำนวนการจัดเก็บได้ถึง 20-30 % และสามารถจัดการกับปัญหากรณีฉุกเฉินได้ทันท่วงที ข้อมูลต้องมีการปรับปรุงในทุกปีเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องอยู่เสมอ ในทางปฎิบัติจริงนั้นจะเป็นเรื่องยาก ยิ่งในกรณีที่อะไหล่ที่คลังวัสดุรับผิดชอบมีเป็นจำนวนมาก จึงควรต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเช่น โปรแกรม ERP หรือ WMS เข้ามาช่วยในการบริหารข้อมูล.  

------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward