iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Lean การไหลของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Flow)

Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าขึ้นมา จะประกอบด้วยการเชื่อมโยงร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำหรือผู้ส่งวัตถุดิบไปจนถึงปลายน้ำที่เป็นลูกค้า ซึ่งในระหว่างนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการมากมาย เช่น การวางแผน (Planing) กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) จะเห็นว่ามีขั้นตอนมากมายตั้งแต่ก่อนการผลิตไปจนถึงภายหลังการผลิตสินค้าจนไปถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นทุกกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาต้องทำงานสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ เพราะทุกกระบวนไม่เพียงจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตแล้ว ยังส่งผลไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมายทั้งในเรื่องของเวลา คุณภาพ ความสามารถในการให้บริการและอื่นๆ อีกมากที่จะทำให้เิดผลลัพท์ที่สำคัญที่ส่งผลถึงความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้ามีความประทับใจในสินค้าหรือบริการ เจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตต้องมีระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือที่เรียกกว่า Supply Chain Management ที่ดีและมีประสิทธิภาพและทำการเชื่อมโยงขนส่งเคลื่อนย้ายด้วยกระบวนการโลจิสติกส์ที่ดี 

จุดประสงค์หลักในการจัดการโซ่อุปทานก็เพื่อมุ่งที่จะลดความสูญเปล่าที่เกิดในการผลิต (Wastes) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งที่เรารู้จัดหรือคุ้นเคยคงได้แก่ ขั้นตอนการจัดทำแบบลีน (Lean) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลดสินค้าคงคลัง การปรับปรุงการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการลีนนั้นเพื่อที่จะลดปัญหาความสูญเสีย (Losses) ที่เกิดจากการผลิตที่สูญเปล่าลงให้มากที่สุด

การดำเนินการมักจะเน้นเริ่มทำที่ภายในองค์กรก่อน (In Plant Logistics) โดยใช้ขั้นตอนกระบวนการลีนที่มี 5 ขั้นตอน และใช้เครื่องมือที่มีหลากหลายวิธีมาช่วยโดยที่นิยมและพบมากในงานลีนมี 11 เครื่องมือ ซึ่งเมื่อดำเนินการจัดการภายในดีพอแล้วจึงแล้วค่อยขยายออกไปสู่เครือข่ายในโซ่อุปทานภายนอกฝั่งของผู้ส่งวัตถุดิบ (Inbound Logistics) แลในด้านของลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Outbound Logistics) 

หน้าที่หลักที่ในการจัดการโซ่อุปทานมุ่งไปที่การจัดการการไหลในกระบวนการ โดยการไหลในกระบวนการที่พบจะมี 3 เรื่องหลักได้แก่ วัตถุดิบ สารสนเทศ และการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำกันจะเป็น 2 ส่วนคือการไหลของวัตถุในการผลิต และการไหลของข้อมูลที่ควรต้องให้อยู่ในรูปของสารสนเทศให้ได้ ส่วนในเรื่องของการไหลของเงินทุนนั้น จะมีระบบที่เขาจัดการแยกเฉพาะที่ต้องให้นักบัญชีเป็นผู้ดูแลและจัดการไป จึงไม่ค่อยนิยมนำการไหลนี้มาคิดร่วมในงานด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์กัน

 ------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

 
--------------------------------------------------------
สนใจลิงค์ที่เกี่ยวข้องคลิกดูเพิ่มเติมได้ตามลิงค์หัวข้อด้านล่าง
Lean การเปลี่ยนแปลงแบบลีน (Lean Transformation) รวมข้อมูล
--------------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward