iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Supplier Position and Preference Matrix ตารางตำแหน่งและความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์

ในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชน ฝ่ายจัดซื้อ (Source) ถูกมองว่าเป็นหน่วยงานสำคัญ โดยจะเห็นว่าได้รับการจัดแบ่งให้เป็น 1 ใน 6 กลุ่มงานหลักในระบบ SCOR (คลิกดูข้อมูล SCOR เพิ่มเติม) ในงานโลจิสติกส์ให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดซื้อจัดหามาก เพราะกิจกรรมในการจัดซื้อจะมีส่วนช่วยให้องค์กร มีความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นเช่น ในเรื่องของการลดต้นทุน การผลิตที่ต่อเนื่อง การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค 

การดำเนินการของฝ่ายจัดซื้อในยุคปัจจุบันมีหลายวิธีที่ได้ถูกนำมาใช้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเช่น รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supplier Positioning Model) หรือ รูปแบบความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Preference Model) จากที่กล่าวเมื่อเราได้ดำเนินการจัดแบ่งกลุ่มชัพพลายเออร์ใน 2 เรื่องแล้ว เรายังอาจนำเอาผลสรุปของทั้งสองกลุ่มมาทำการประเมินร่วมกันได้อีก โดยที่นิยมพบมากคือการใช้รูปแบบ ตารางเมตริกการวางตำแหน่งและความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์ (Supplier Position and Preference Matrix)

ผลจากการประเมินจัดกลุ่มชัพพลายเออร์ที่ดี จะมีประโยนช์มากเพื่อที่เราจะสามารถจัดลำดับความสำคัญชัพพลายเออร์ และวางแผนกลยุทธ์ในการติดต่อหรือดำเนินความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์ให้เกิดความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย บางครั้งจัดซื้ออาจต้องทำถึงการเข้าไปสังเกตการณ์และการให้ความช่วยเหลือกับซัพพลายเออร์ในเรื่องต่างๆ เช่น 

- การเข้าไปเป็นที่ปรึกษาแนะนำในการผลิตที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ของในราคาที่ถูกลง โดยอาจเข้าสังเกตการณ์ในบริษัทชัพพลายเออร์เพื่อช่วยวิเคราะห์กระบวนการผลิต วิธีการผลิต การใช้เทคโนโลยี วิธีการทำงาน ฯลฯ เพื่อหาข้อแนะนำชัพพลายเออร์อีกทาง เนื่องจากบางครั้งการที่มีคนนอกเข้าไปดูอาจจะมองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้น ได้ดีกว่าคนในกระบวนการที่มีความคุ้นเคยในแบบเดิม ในขั้นตอนนี้อาจช่วยให้เป็นข้อแนะนำหรือเสนอแนะปรับปรุงเพื่อให้สามารถลดต้นทุนได้ต่อไป

- การสื่อสารพูดคุยที่ดีมีการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในโซ่อุปทานการผลิต โดยอาจเริ่มจากอธิบายให้ชัพพลายเออรเข้าใจในเป้าหมายของฝ่ายจัดซื้อในแง่ที่ดี ให้ชัพพลายเออร์เข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องทำลดราคา (Cost Down) ในงานจัดซื้อ เพราะว่าหากสินค้าคู่แข่งขันของชัพพลายเออร์สามารถจำหน่ายได้ในต้นทุนที่ถูกกว่าซัพพลายเออร์ ทางจัดซื้อก็อาจจำเป็นจะต้องสั่งซื้อจากแหล่งอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่า เพื่อให้ต้นทุนของบริษัทผู้จัดซื้อต่ำลงให้สามารถแข่งขันกับคู๋แข่งของผู้ซื้อได้ในตลาด

องค์กรควรที่จะมีการทำวิจัยวัดประสิทธิภาพการจัดซื้ออย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อเวลาและสถาณการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไป การทำงานไปสักระยะหนึ่งระบบงานนั้นอาจจะไม่สามารถสนับสนุนหรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรมีการวิจัยในเรื่อง การจัดซื้อก็เพื่อสะท้อนภาพการทำงานต่อองค์กรให้เห็นถึงสภาพปัญหาของการจัดซื้อจัดหา อาจมีการสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานที่แตกต่างกันไปทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาจใช้การวิเคราะห์เอกสารย้อนหลัง 1-3 ปี การทำวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม หรือการทำวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือซัพพลายเออร์ เป็นต้น

จะเห็นว่าจากการนำเอา รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supplier Positioning Model) และ รูปแบบความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Preference Model) มาวิเคราะห์ร่วมกัน จะช่วยให้เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งนำเอารูปแบบมาใช้งานร่วมกันมากขึ้นเท่าไร เราก็จะสามารถวิเคราะห์แยกแยะกลุ่มได้ดีมากยิ่งขึ้นเช่น รูปแบบ Cubic ซึ่งจะทำได้ยาก แต่หากมีการนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจะทำให้สามารถทำได้โดยง่าย ดังที่จะเห็นว่าในปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาในเรื่อง Business Analysis เพื่อให้สามารถใช้การคำนวนที่ยุ่งยากซับซ้อนเกิดได้โดยง่าย 

-------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward