iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model

  

รูปแบบ (Model) ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้น มีหลายรูปแบบของการดำเนินการซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการหลักการในการดำเนินการ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยง และส่วนประกอบของรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในบทนี้จะกล่าวถึงรูปแบบดังต่อไปนี้ 1) Diamond Model 2) Value Chain

นอกจากนั้นยังมีส่วนหลักการของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เช่น Market/Value Driven  Value Driven  Value Creation  

รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model

Diamond Model คือ กรอบแนวคิด หรือ ตัวแบบสำหรับการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน  หรือลักษณะชองการรวมตัวกันในรูปแบบคลัสเตอร์ โดยMichael E. Porter ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990  ได้มีการศึกษากันว่าเครื่องมือและกระบวนการอันสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้คือการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ “คลัสเตอร์” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

รูปแบบ Diamond Model เป็นการพิจารณาและประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้านที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของบริษัทที่อยู่ในในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และ

ซัพพลายเชนนั้นๆ ทั้งระบบซัพพลายเชนในที่สุด ว่าสภาวการณ์เหล่านั้นมีลักษณะที่จะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือจะเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภาพของธุรกิจในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้นๆหรือไม่ อย่างไร และมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการวิเคราะห์บทบาทของภาครัฐที่จะมีผลต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆทั้ง 4 ด้านนั้นด้วย ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย

เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต (Input Factor Conditions) ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

เงื่อนไขด้านอุปสงค์ (Demand Conditions) ได้แก่ ทัศนคติและรสนิยมของผู้บริโภค ระดับความพิถีพิถันและความเรียกร้องต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการของบริษัท ลักษณะและโครงสร้างการแบ่งส่วนการตลาดสำหรับสินค้าและบริการของบริษัท ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละส่วนการตลาดเป็นที่คาดเดาได้ในระดับใด ฯลฯ บริบทด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategy and Rivalry Context) ได้แก่ ลักษณะและบรรยากาศของการแข่งขันทางธุรกิจ กลไกการตลาด ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกัน (Related and Supporting Industries) ได้แก่ กิจกรรมทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในสายของซัพพลายเชนมีความครบถ้วนมากน้อยเพียงใด และ มีระดับของความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างกันเพียงใด เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ระหว่างกัน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/ตลาดร่วมกัน ฯลฯ

รูปกรอบแนวคิดของรูปแบบ Diamond Model

 

ตัวอย่างของรูปแบบโครงสร้างแบบ Diamond Model

ที่ผ่านมามีการประยุกต์รูปแบบของ Diamond Model ในการสร้างเครือข่ายของการจัดการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดรูปแบบโครงสร้างของการจัดการซัพพลายเชน  ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลักคือ กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน

รูปแบบ Diamond Model คลัสเตอร์จักรยานยนต์และชิ้นส่วน 

จากรูปทำให้เห็นว่าส่วนประกอบของโครงสร้างของ Diamond Model ของกลุ่มคลัสเตอร์จักรยานยนต์และชิ้นส่วน ประกอบด้วย กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน ของกลุ่มผู้ผลิตและสนับสนุนการผลิตจักรยานยนต์และชิ้นส่วน

รูปแบบ Diamond Model อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

จากรูปเป็นการวิเคราะห์ปัญหาของโครงสร้างของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยใช้โครงสร้างของ Diamond Model ซึ่งแสดงให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและการเชื่อมโยงปัญหาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน ของกลุ่มผู้ผลิตและสนับสนุนการผลิตซัพพลายเออร์

 

ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward