iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ข้าราชการกับการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

จุฑาพิชญ์ สถิรวิสาลกิจ

นิติกรชำนาญการ สำนักมาตรฐานวินัย

สำนักงาน ก.พ.

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้นร้อนแรง และเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเมื่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เปิดโอกาสให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยได้มีส่วนร่วมทางการเมืองได้หลายช่องทาง อาทิเช่น เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก อาวุธ เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันเราสามารถเห็นการใช้สิทธิเสรีภาพเหล่านี้ในลักษณะที่เป็นรูปธรรมตามหน้าจอ โทรทัศน์หรือลื่อสิ่งพิมพ์ได้บ่อยครั้ง เช่น การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง การนำดอกไม้หรือสิ่งของไปให้ กำลังใจแก่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองบางกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น/วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องทางการเมือง

ในฐานะที่เป็นข้าราชการ จึงมีข้อน่าคิดว่า ข้าราชการจะสามารถใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวข้างต้น เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยคนอื่น ๆ ได้หรือไม่เพียงใด และจะถือเป็นความผิดวินัยหรือไม่

ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีบทบัญญัติที่ให้สิทธิเสรีภาพและกำหนด ขอบเขตแนวทางการปฏิบัติตัว แก่ข้าราชการพลเรือนในเรื่องทางการเมืองไว้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ

มาตรา 43 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบ ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มี วัตถุประสงค์ทางการเมือง

มาตรา 81 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธใจ

บทบัญญัติข้างต้น มีแนวคิดมาจากการที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยตาม รัฐธรรมนูญ ข้าราชการพลเรือนซื่งเป็นผู้ปฏิบัติงานของประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้เลื่อมใสและสนับสนุนการปกครองในระบบดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปไต้อย่างเรียบร้อยและจะล่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งการสนับสนุนในความหมายนี้ คือ การส่งเสริม เสริมสร้าง หรือไม่คัดค้านการกระทำที่จะเป็นความผิดฐานไม่สนับสนุนการปกครองระบอบดังกล่าว ได้แก่ การกระทำในทางคัดค้าน ต่อต้าน หรือเป็นปรปักษ์

มาตรา 82 (9) กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง มาตรานี้เป็นข้อกำหนดวินัยที่บัญญัติขึ้นมา โดยมีเจตนารมณ์ให้ข้าราชการประจำมีความเป็นกลางทางการเมือง โดยเฉพาะในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นๆ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิข้าราชการประจำในการที่จะเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

นอกจากนี้ข้าราชการ ยังต้องปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยมารยาททางการเมืองของ ข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่กำหนดไว้ว่าข้าราชการพลเรือนจะนิยม หรือเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใด ๆ ที่ทั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะไปในการประชุมของพรรคการเมืองทั้นเป็นการส่วนตัวก็ได้ แต่ในทางที่เกี่ยวกับประชาชนและในหน้าที่ราชการจะต้องกระทำตัวเป็นกลาง ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงพรรคการเมืองและต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้าม ดังต่อไปนี้

- ไม่ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองใดๆ เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 หรือ ข้าราชการการเมือง

- ไม่ใช้สถานที่ราชการในกิจการทางการเมือง

- ไม่วิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลให้ปรากฏแก่ประชาชน

- ไม่แต่งเครื่องแบบราชการไปร่วมประชุมพรรคการเมือง หรือไปร่วมประชุมในที่ สาธารณสถานใดๆ อันเป็นการประชุมที่มีลักษณะทางการเมือง

- ไม่ประดับเครื่องหมายพรรคการเมืองในเวลาสวมเครื่องแบบราชการหรือในเวลาราชการหรือ ในสถานที่ราชการ

- ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าไปในสถานที่ราชการ

- ไม่บังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือประชาชนเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใดและไม่กระทำการในทางให้คุณให้โทษ เพราะเหตุที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือประชาชนนิยมหรือเป็นสมาชิกใน พรรคการเมืองใดที่ทั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย

- ไม่ทำการขอร้องให้บุคคลใดอุทิศเงินหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง

- ไม่โฆษณาหาเสียงเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง หรือแสดงการสนับสนุนพรรคการเมือง ใดๆ ให้เป็นการเปิดเผยในที่ประชุมพรรคการเมือง และในที่ที่ปรากฏแก่ประชาชน หรือเขียน จดหมายหรือบทความไปลงหนังสือพิมพ์หรือพิมพ์หนังสือหรือใบปลิวซํ่งจะจำหน่ายแจกจ่าย ไปยังประชาชน อันเป็นข้อความที่มีลักษณะของการเมือง

- ไม่ปฏิบัติหน้าที่แทรกแซงในทางการเมือง หรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือเพื่อกระทำกิจการ ต่างๆ อาทิเช่น วึ๋งเต้นติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองเพื่อให้นำร่าง พระราชบัญญํติหรือญัตติเสนอสภาฯ หรือตั้งกระทู้ถามรัฐบาล

- ในระยะเวลาที่มีการสมัครรับเสือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดย ปริยาย ที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเสือกตั้ง และในทางกลับกัน ไม่กีดกัน ตำหนิติเตียน ทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเสือกตั้ง

ข้าราชการผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนระเบียบนี้ ถือว่ากระทำผิดวินัยฐานไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่าในเรื่องทางการเมืองนั้น ข้าราชการ ก็เหมือนสวมหมวกสองใบ ใบหนี้งก็คือในฐานะเป็นประชาชนคนไทยคนหนี้ง มีสิทธิเสริภาพในการเสือกที่จะทำสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องการเมือง ภายใต้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ให้ไว้ ส่วนหมวกอีกใบหนี้งที่สวมนั้น ก็คือในฐานะ ของข้าราชการ ซํ่งจะถูกจำกัดบทบาทหน้าที่ไว้บางประการ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะความเป็น ข้าราชการ ดังนั้นในเรื่องนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่าข้าราชการยังคงสามารถใช้สิทธิเสริภาพตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ไต้เฉกเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยทั่วไป เพียงแต่พฤติกรรมหรือการกระทำบางอย่างก็อาจต้องใคร่ครวญ ดูเสียหน่อยก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือในการปฏิบัติการ อื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ดังนั้นหากถามว่า ข้าราชการที่กระทำการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง จะมีความผิดวินัยหรือไม่ ก็จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ประชาชน ของข้าราชการผู้นั้น เป็นการกระทำในฐานะใด ประชาชนหรือข้าราชการและลักษณะการกระทำ นั้นเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว นอกจากจะถือเป็นความผิดวินัยฐาน ไม่วางตัวเป็นกลางทางการเมืองตามมาตรา 82(9) แล้ว อาจเป็นความผิดวินัยฐานไม่รักษาชื่อเสียงและ เกียรติดักดของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82(10) ไต้ด้วยเช่นกัน

 

มาตรา 82 (9) “ต้องวางคัวเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่ เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของ ข้าราชการด้วย”

 

ที่มา https://www.ect.go.th

ภาพและรวบรวมข้อมูลโดย www.iok2u.com 

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวข้องกับเลือกตั้งได้ที่ 

รวมข้อมูลเลือกตั้ง

---------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward