อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 21 (COP21)
ในปี ค.ศ. 2015 การประชุมรัฐภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 21 (COP21) ที่ผู้นำ ประเทศทั่วโลก 197 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ลงนามใน “ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)” เพื่อดำเนินการต่อด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและยับยั้งวิกฤติโลก จากแนวโน้มการเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) ที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติ ที่ปล่อยมลพิ และก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลในแต่ละปีตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องจำกัดอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม และเพื่อพยายามรักษาอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความพยายามนี้ทั่วโลกจำเป็นต้องร่วมกันลดการปล่อยมลพิษในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อปี ตลอดช่วงทศวรรษนี้
อย่างไรก็ตามเมื่อกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคมยังคงต้องพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่ต้องเร่งก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย หนึ่งในแนวทางที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับรายได้ประชาชนในประเทศ และรองรับการปกป้องโลกนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปพร้อมกัน คือ โมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงเป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาทียั่งยืน (SDGs) ของ สหประชาชาติ อย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน, การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การอนุรักษ์ความหลากหลาย, ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับเป้าหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในปัจจุบัน
โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse) ปรับปรุงใหม่ (Refurbish) การแบ่งปัน (Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุุดิบที่ผ่านการผลิต และบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิิต และลดการสร้างของเสียแบบ โมเดลเศรษฐกิจเชิงเส้น (Linear Economy Model) ที่เริ่มก่อปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อโลกมากขึ้นต่อเนื่อง
ที่มา https://www.bcg.in.th
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model)
-------------------------------------------------
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่ |
โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model) |