E-book การใช้เทคโนโลยีบล็อกเซนสำหรับภาครัฐ เวอร์ชั่น 1.1 2562
สนใจดาวน์โหลดเอกสาร คลิกที่นี่
https://drive.google.com/file/d/1EHZNYsNcTEKztRYyFps3zDS7ZWyjMXYm/view?usp=sharing
ชื่อหนังสือ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเซนสำหรับภาครัฐ เวอร์ชั่น 1.1 2562
จาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
เทคโนโลยี Blockchain คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ "Distributed Ledger Technology (DLT)" โดยเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่รับประกันความปลอดภัยว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้ ซึ่งทุกผู้ใช้งานจะได้เห็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด โดยใช้หลักการ Cryptography และความสามารถของ Distributed Computing เพื่อสร้างกลไกความนเชื่อถือ (Yermack, 2017) จุดเริ่มตันของเทคโนโลยี Blockchain เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2008 โดยการนำเสนอของ "Satoshi Nakamoto" จากเอกสาร Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System เป็นการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้าง Platform ที่สามารถสร้างความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลที่มีชื่อว่า "Bitcoin" โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการทำ Cryptography และ Distributed Computing
ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายเงิน โดยได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย รวมทั้งได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจอื่น ๆ ได้ไม่จำเพาะแค่ภาคธุรกิจการเงินและการธนาคารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาครัฐก็ได้มีการตื่นตัวและศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน การทำงานของเทคโนโลยี Blockchain อาศัยการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology) โดยทุกข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ และเมื่อมีรายการธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะต้องมีการประกาศบอกทุกเครื่องในระบบให้รับรู้
นอกจากนี้รายการธุรกรรมดังกล่วจะต้องผ่านการตรวจสอบ (Consensus) จากทั้งเครือข่ายเสียก่อน จึงจะสามารถบันทึกข้อมูลเข้า Block ได้ ดังนั้นเทคโนโลยี Blockchain จึงไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางคอยทำหน้าที่ในการจัดเก็บรายการธุรกรรม แต่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บอยู่ภายใต้โครงสร้างของเทคโนโลยี Blockchain และถูกกระจายไปยังเครื่องของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย และถ้ามีคนพยายามสร้างรายการรุกรรมปลอมขึ้นมา ข้อมูลก็จะขัดแย้งกับข้อมูลในเครื่องของสมาชิกอื่น ๆในเครือข่าย เนื่องจากทุกเครื่องจะต้องมีข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นระบบจะไม่อนุญาตให้สร้างรายการดังกล่าว โดยจะมีแต่รายการที่ทุกคนในเครือข่ายยอมรับเท่านั้นที่จะสามารถบันทึกเข้าสู่ระบบ Blockchain ได้ และข้อมูลที่ถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ Blockchain ไปแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขย้อนหลังได้ จึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
.
ที่มาข้อมูลและภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)-------------------------------------------------