คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มา จาก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 บัญญัติให้การบริหารราชการของส่วนราชการ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็นมีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดแนวทางการปฏิบัติของส่วนราชการ ซึ่งในมาตรา 52 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 โดยให้ กระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และได้แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทาง ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ แผนแม่บท ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล และกำหนดเรื่องการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางในการให้บริการประชาชนและติดต่อระหว่างส่วนราชการ รวมถึงในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงบริบทของ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ปรับปรุงคู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทางและตัวอย่างการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทันสมัยสอดคล้องกับระเบียบกฎหมายและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้จัดทำ คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หวังว่า คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นี้จะสามารถเป็นคู่มือที่ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนและใช้ช่วยในการนำไปปฏิบัติงาน ช่วยให้การทำงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นำมาซึ่งการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนที่มีประสิทธิผล คุ้มค่า เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนในท้องถิ่นต่อไป กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สารบัญ
คำนำ
บทที่ 1 ความเป็นมาของ “ธรรมาภิบาล” และ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
บทที่ 2 หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ 3 แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
2. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5. การปรับปรุงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
7. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
รายชื่อผู้ประสานงาน/ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ภาคผนวก 2 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ภาคผนวก 3 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ภาคผนวก 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ภาคผนวก 5 การจำแนกข้อมูลข่าวสารของราชการ
ภาคผนวก 6 ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้น ก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ
ที่มา http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet
-------------------------------------------------