E-Book เอกสารรายละเอียดตัวชี้วัดการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 15) ปี 2564
ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)
หลักการเหตุผล ในกระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) จำเป็นต้อง สำรวจและค้นหาแหล่งข้อมูลสำคัญตามหัวข้อการวิเคราะห์และทำความเข้าใจการใช้ข้อมูลในมิติต่าง ๆ บัญชีข้อมูล ภาครัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ผู้ใช้ประโยชน์ข้อมูลสามารถสืบค้น ร้องขอ เข้าถึง ทราบแหล่งที่มา ชั้นความลับ ประเภท รูปแบบ และสามารถใช้ประโยชน์ของข้อมูลภาครัฐทั้งหมดได้ บัญชีข้อมูลจึงเป็นเสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ของข้อมูลภาครัฐที่สำคัญทั้งหมด ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาการใช้ประโยชน์ข้อมูล ภาครัฐให้มีประสิทธิผล สามารถบูรณาการ ให้บริการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนพัฒนาบัญชีข้อมูลของประเทศ (National Data Catalog) ซึ่งจะเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์ร่วมกับบัญชี ข้อมูลภาคเอกชนในระยะต่อไป
้บัญชีข้อมูล เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูลที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัด ประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ ดังนั้นในการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐจึง เริ่มต้นจากการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและศูนย์ข้อมูลที่เป็นเจ้าของข้อมูลจัดทำบัญชีข้อมูลสำคัญภายใน หน่วยงานเองในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชุดข้อมูลจะถูกจัดกลุ่มตามชั้นความลับและมีคำอธิบายข้อมูลหรือ ที่เรียกว่าเมทาดาตา (Metadata) สำหรับทุกชุดข้อมูลมาสร้างเป็นระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน จากนั้นระบบ บัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ที่พัฒนาและดูแลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช.) จะทำ หน้าที่รวบรวม ลงทะเบียน และจัดเก็บบัญชีข้อมูลเข้ามาไว้ในฐานข้อมูลกลาง ซึ่งตามมติคณะมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มอบหมายให้สำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) และระบบนามานุกรม (Directory Services) เพื่อเป็นระบบสารสนเทศที่รองรับ บรรดาชุดข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานภาครัฐและศูนย์ข้อมูลที่เป็นเจ้าของข้อมูลในสาขาต่าง ๆ มารวบรวมและ จัดเก็บบัญชีข้อมูลเข้ามาไว้ในฐานข้อมูลกลางเป็นรายการบัญชีข้อมูลกลางภาครัฐเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดย จัดเก็บเฉพาะคำอธิบายข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้จัดเก็บตัวข้อมูล ส่วนชุดข้อมูลที่ไม่มีชั้นความลับสามารถเปิดเผยได้ จะ จัดเก็บชุดข้อมูลเปิดเพื่อให้บริการ โดย “ผู้ใช้ข้อมูล” สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ เช่น ระบบ บัญชีข้อมูลภาครัฐ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) และศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง (Government Data Exchange: GDX)
ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของข้อมูลที่จัดหาหรือพัฒนาเครื่องมือเพื่อจัดเก็บ ข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ สำหรับใช้ดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน รวมทั้งกำกับดูแลข้อมูลและตรวจสอบให้อยู่ ในเกณฑ์คุณภาพสำหรับชุดข้อมูลสำคัญต่างๆ ก่อนที่จะเชื่อมโยงมายังระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐเพื่อให้บริการ ซึ่ง ควรประกอบด้วยชุดข้อมูลที่สำคัญ คือ - รายการชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ - รายการชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงบริการและเชิงนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ของหน่วยงาน ภาครัฐ เช่น ชุดข้อมูลงานบริการที่สำนักงาน ก.พ.ร. คัดเลือก ชุดข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ชุด ข้อมูลด้านสาธารณสุข ชุดข้อมูลด้านการเกษตร
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
BI ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (introduction to business intelligence)
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig Data)