E-Book เอกสาร โลกเปลี่ยนคนปรับเราจะอยู่ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นปกติสุขได้อย่างไร
เอกสาร โลกเปลี่ยนคนปรับเราจะอยู่ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นปกติสุขได้อย่างไร โดย สุวิทย์ เมษินทรีย์ จาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Ministry of Higher Educa tion, Science, Research and Innovation) กล่าวถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตภายหลังวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้กล่าวถึง 7 รอยปริปั่นป่วนโลก, 7 ตราบาป หลังโควิด-19 และ 7 ขยับปรับเปลี่ยนโลก ประกอบด้วย
เรื่อง 7 รอยปริปั่นป่วนโลก ประกอบด้วย
1. ความไร้สมดุลระหว่าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม ความยั่งยืนของธรรมชาติ และภูมิปัญญาของมนุษย์
2. ความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดของมนุษย์ กับทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโลกใบนี้
3. เศรษฐกิจการเงินที่ครอบงำเศรษฐกิจที่แท้จริง
4 ผู้ครอบครองทรัพยากร กับผู้ต้องการใช้ทรัพยากร ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน
5. ความเหลื่อมล้ำของ รายได้ สินทรัพย์ และโอกาส ระหว่าง “คนมีและคนได้” กับ “คนไร้และคนด้อย”
6. ดาบสองคมของเทคโนโลยีในการตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์
7. ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันสามเส้าระหว่าง รัฐ เอกชน กับประชาสังคม
เรื่อง 7 ตราบาป หลังโควิด-19 ประกอบด้วย
1. ไม่มีสันติภาพในโลกอย่างถาวร หากผู้คนยังไร้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. ไม่มีทุนนิยมที่ยั่งยืน หากไม่มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม
3. ความร่ำรวยทางวัตถุจะไร้ประโยชน์ หากปราศจากซึ่งความรุ่มรวยทางจิตใจ
4. งานที่ทำจะไร้ประโยชน์ หากขาดซึ่งนัยแห่งความหมาย
5. มีผลประกอบการที่ดีก็ไร้ค่า หากไม่สามารถเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้
6. จะเพรียกหาเจตจำนงร่วมจากที่ใด หากไม่คิดเปิดพื้นที่ให้ร่วมอย่างจริงใจ
7 อย่าหวังการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง หากปราศจากการเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ
เรื่อง 7 ขยับปรับเปลี่ยนโลก ประกอบด้วย
1. โมเดลตลาดเสรี (Free Market Model) ปรับเปลี่ยนไปสู่ โมเดลร่วมรังสรรค์ (Co-Creative Model)
2. การผลิตและการบริโภคที่มุ่งเน้นการแข่งขันให้กับตน (Competitive Mode of Production & Consumption) ปรับเปลี่ยนไปสู่ การผลิตและการบริโภค ที่มุ่งเน้นการผนึกกาลังความร่วมมือ (Collaborative Mode of Production & Consumption)
3. มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ปรับเปลี่ยนไปสู่ มุ่งเน้นการพัฒนาที่สมดุล (Thriving in Balance)
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (People for Growth) ปรับเปลี่ยนไปสู่ สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของมนุษย์ (Growth for People)
5. ชีวิตที่ร่ารวยทางวัตถุ (Economic Life) ปรับเปลี่ยนไปสู่ ชีวิตที่รุ่มรวยความสุข (BalancedLife)
6. เศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ปรับเปลี่ยนไปสู่ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
7. การตักตวงผลประโยชน์จากส่วนรวม (Exploitation of the Commons) ปรับเปลี่ยนไปสู่ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม(Remedy of the Commons)
โดยเอกสารที่ยังเสนอมีทั้งที่เป็นเวอร์ชั้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Attachment ด้านล่าง
#เราจะสู้โควิดไปด้วยกัน #เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #ไทยชนะ