E-Book มาตรฐานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สืบเนื่องจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ ตามที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถือว่าเป็นอีกภารกิจหนึ่งในอำนาจหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานแรกที่จัดการกับสาธารณภัยในพื้นที่ จะต้องดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงความสูญเสียและผลกระทบจากสาธารณภัย ที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ และตามภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพมีมาตรฐาน ได้ดำเนินการปรับปรุงคู่มือมาตรฐานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการกับสาธารณภัย ซึ่งในการจัดการสาธารณภัยระดับที่หนึ่ง มีผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น มีอำนาจในการสั่งการข้าราชการพลเรือน เจ้าหน้าที่ และบุคคลอื่นให้ปฏิบัติการตามคำสั่งและระดมทรัพยากร ในการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ แต่หากในกรณีที่สาธารณภัยขยายขอบเขตและข้ามพื้นที่ ผู้อำนวยการท้องถิ่นสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อำนวยการอำเภอหรือผู้อำนวยการจังหวัด ดังนั้น การปรับปรุง คู่มือมาตรฐานการปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งนี้ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทาง ปฏิบัติในการจัดการกับสาธารณภัยตามที่กฎหมายกำหนด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำคู่มือมาตรฐานการปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือมาตรฐานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้ปรับปรุงในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเพิ่มศักยภาพการบริหารและบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช 2562
ที่มา http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet
-------------------------------------------------