iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

ขอเชิญผู้ที่สนใจดาวน์โหลดหนังสือจัดทำโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"เศรษฐศาสตร์ ‘มัธยม’ : แง่มุมอันหลากหลายในชีวิตประจำวัน" และชื่อ ‘มัธยม’ ในหนังสือ ไม่ได้มีความหมายแค่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา แต่ยังหมายถึงขั้นกลางที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป ผู้สนใจทั่วไปจึงสามารถอ่านเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วย

หนังสือเล่มนี้ เป็นผลลัพธ์ของภารกิจในการบริการวิชาการประการหนึ่งที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน คือ การจัดอบรมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ให้แก่ครูที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา การอบรมทำให้คุณครูจำนวนหนึ่งเสนอแนะกับทางผู้จัดการอบรมว่า อยากให้ คณะเศรษฐศาสตร์ฯ จัดทำหนังสือเสริมสำหรับความรู้เศรษฐศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ฯ จึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหนังสือนี้ขึ้น เป็นการแนะนำองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และประเด็นทางเศรษฐกิจ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา บุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ได้สอนวิชาด้านเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก และสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป

สารบัญ

3 บทแรกของหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวข้องกับภาพใหญ่ของความรู้ว่าด้วยระบบเศรษฐกิจและวิชาเศรษฐศาสตร์ โดย

บทที่ 1 แนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับประเด็นหลักเรื่องระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ผ่านความรู้ในหมวดย่อยของสาขาวิชาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ (economic theory) เพราะถึงที่สุดแล้ว ทฤษฎีเหล่านี้ไม่ได้ศึกษาเพียงแค่วิธีการจัดสรรทรัพยากรอย่างจำกัดภายใต้เงื่อนไขที่ความต้องของการของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด อันเป็นนิยามพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่ในหลายครั้ง ทฤษฎีเหล่านี้ยังพยายามหาคำตอบของการทำงานของระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางสังคมและการเมืองด้วย หลังจากนั้น

บทที่ 2 เชื้อชวนผู้อ่านเข้าไปสำรวจข้อถกเถียงว่าด้วย มนุษย์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มักเริ่มต้นการวิเคราะห์ด้วยการสมมติว่ามนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (homo economicus) บทที่ 2 ใช้ข้อถกเถียงข้างต้นเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจพื้นฐานว่าด้วยหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ (quantitative economics) ที่นัก (เรียน) เศรษฐศาสตร์ใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละคร ทั้งปัจเจก ครัวเรือน บรรษัท หรือกระทั่งภาครัฐ ที่โลดแล่นในระบบเศรษฐกิจ ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำให้ตัวละครในระบบเศรษฐกิจสามารถเชื่อมโยงกันได้ จะปรากฏใน

บทที่ 3 ของหนังสือและบทนี้ยังบรรยายประเด็นพื้นฐานในหมวดย่อยของ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน (monetary economics) ที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงินกับระบบเศรษฐกิจได้

บทที่ 4 - บทที่ 7 มีแกนหลักอยู่ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันเป็นพื้นฐานของการอาศัยอยู่ในสังคมของมนุษย์ โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ การผลิต การแข่งขัน การเข้ามาแทรกแซงของภาครัฐ และการแลกเปลี่ยน โดย

บทที่ 4 ใช้ความรู้ในหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร (agricultural economics) ในการฉายภาพของกระบวนการผลิตในระบบเศรษฐกิจ เพราะความรู้ในหมวดข้างต้นช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นทั้งกิจกรรมทางการผลิตที่วางอยู่บนฐานของการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ พร้อมไปกับการพิจารณาความเสี่ยงอันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผลสำเร็จ/ความล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ผู้ผลิตเข้าไปกำหนดโดยตรงได้ยากอย่างสภาพอากาศหรือความเปลี่ยนแปลงในสภาวะตลาด ในขณะที่ประเด็นหลักว่าด้วยการแข่งขันถูกถ่ายทอดใน

บทที่ 5 ซึ่งเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับหมวดย่อยใน สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial economics) เพราะความรู้ในสาขาวิชาดังกล่าวช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงผลของโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีต่อการกำหนดรูปแบบการแข่งขันในแต่ละตลาด ขณะเดียวกัน ประเด็นของการแข่งขันยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าทำไมทางเลือกในการบริโภคหรือการใช้สอยสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละชนิดจึงแตกต่างกัน สำหรับความรู้ในวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ (public economics) ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประเมินผลลัพธ์ของการแทรกแซงโดยภาครัฐ เป็นแกนหลักของ

บทที่ 6 โดยเนื้อหาในบทนี้ช่วยฉายภาพ ให้ผู้อ่านเห็นการทำงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทางเศรษฐกิจของพวกเขา ทั้งการแสวงหารายได้ (เช่น การเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ) และการใช้จ่ายของรัฐ (เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการจ่ายค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่รัฐ) เพราะกิจกรรมเหล่านี้ของภาครัฐส่งผลต่อการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรทั้งในระดับปัจเจกและสังคม

บทที่ 7 ชวนผู้อ่านขบคิดประเด็นหลักว่าด้วยการแลกเปลี่ยนผ่านข้อถกเถียงในหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (international economics) เพราะความรู้ในสาขาวิชานี้มุ่งเป้าไปยังคำถามที่ว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะของความอุดมสมบูรณ์/ความขาดแคลนของทรัพยากรและระดับของการพัฒนาที่ต่างกัน มีรูปแบบของการแลกเปลี่ยนไปในทิศทางใดบ้าง และการแลกเปลี่ยนระหว่างระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันเกิดขึ้นได้อย่างไร

บทที่ 8  - บทที่ 10 เสนอประเด็นหลักทางวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ในหลายครั้งเข้าไปคาบเกี่ยวกับมิติอื่นในสังคม ประเด็นข้างต้น ได้แก่ เรื่องงาน กรรมสิทธิ์ และการพัฒนา โดย

บทที่ 8 แนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับความรู้ในหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน (labor economics) เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจบทบาทของงานที่เป็นทั้งกิจกรรมหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและเงื่อนไขพื้นฐานในการดำรงชีวิตทางสังคมของมนุษย์ บทที่ 8 ยังคาดหวังว่าผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงชีวิตของตนเองในอนาคต ซึ่งลักษณะพื้นฐานของงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บทที่ 9 ใช้ความรู้ในหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (natural resource and environmental economics) เพื่อนำผู้อ่านเข้าสู่การถกเถียงว่าด้วยระบบกรรมสิทธิ์ เพราะในหลายครั้ง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมช่วยให้ผู้อ่านตระหนักถึงลักษณะพื้นฐานและความสำคัญของกรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของตลาด (market failure) และหนังสือเล่มนี้ส่งท้ายส่วนของเนื้อหาหลักด้วยการอภิปรายประเด็นหลักของการพัฒนาผ่านความรู้ในหมวดย่อยของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (development economics)

บทที่ 10 เพราะความรู้ในหมวดนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างคำนิยามและการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา อันเป็นเป้าหมายสำคัญของระบบเศรษฐกิจหลายแห่ง ในปัจจุบัน ประเด็นของการพัฒนาไม่ได้เกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังผนวกรวมเป้าหมายด้านอื่น ๆ อย่างการยกระดับของสถาบันทางสังคมและการรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนอีกด้วย

เนื้อหาทั้ง 10 บท มีวัตถุประสงค์เพื่อตอกย้ำให้ผู้อ่าน เห็นความเชื่อมโยงของวิชาเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวันที่มีแง่มุมอันหลากหลายของผู้คน พร้อมกับชี้ชวนให้ผู้อ่านเดินทางศึกษาความรู้ในวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นอกเหนือจากหนังสือเล่มนี้ กระนั้น คณะผู้จัดทำอยากแจ้งผู้อ่านว่าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหมวดย่อยของ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (political economy and economic history) ปรากฏอยู่ในเนื้อหาหลักทั้ง 10 บท

ผู้จัดทำจัดวางเนื้อหาเสริมเหล่านี้ในฐานะของ สื่อที่มุ่งหมายให้ผู้อ่านตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เศรษฐกิจและเงื่อนไขทางการเมืองและสังคมที่รายล้อม ดังที่สาขาวิชาสังคมศาสตร์ทั้งหลายได้กล่าวในทำนองว่า ระบบเศรษฐกิจไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศ แต่อาศัยอยู่ในระบบการเมืองและระบบสังคมที่ต่างกัน ดังนั้นการเข้าถึงความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่เข้าใจพลวัตของระบบเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน จึงหลีกเลี่ยงการศึกษาเรียนรู้ความรู้แขนงอื่นไปไม่พ้น

 

-------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://www.econ.tu.ac.th/

ภาพและรวบรวมข้อมูล

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราวการจัดการธุรกิจเพิ่มเติมคลิกที่นี่

การตลาด (Marketing)

เศรษฐศาสตร์ (Economics)

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward