เกษตรกรยุคใหม่ เพื่ออนาคตประเทศไทย
1. เกษตรกรยุคใหม่กับการพัฒนาประเทศในอนาคต
1.1 แนวคิดการพัฒนาประเทศในอนาคต บริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนที่มีการแข่งขันที่รุนแรงในทุกภาคการผลิตทำให้ทิศทางการพัฒนาประเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาคการผลิตเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น และรักษาระดับการเจริญเติบโตให้มีเสถียรภาพรวมทั้งมีโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลกโดยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดทิศทางที่จะพัฒนาประเทศให้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องยกระดับเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง รวมทั้งมีความสามารถในการแข่งขันสูงสามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ และสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต 1.2 ความสำคัญของภาคเกษตรในอนาคต ปัจจุบันภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตหนึ่งที่มีความสำคัญ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 ของ GDP ของประเทศ ประชากรของประเทศที่อยู่ในภาคเกษตรมีถึง 25.07 ล้านคนในปี 2558 หรือคิดเป็นร้อยละ 38.14 ของประชากรทั้งประเทศ (65.73 ล้านคน) ซึ่งต้องมีการปรับตัวรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งจากบริบทภายนอกและภายในประเทศด้วยเช่นกัน และต้องเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงมากขึ้น อย่างไรก็ตามภาคเกษตรไทยยังมีปัญหาที่สำคัญหลายประการที่ต้องดำเนินการปรับปรุงทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ยังไม่เพียงพอ และการขาดปัจจัยการผลิตและ โครงสร้างพื้นฐานอย่างเพียงพอ เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์แหล่งน้ำและเงินทุน เป็นต้น
นอกจากนี้ประเด็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ อายุขัยเฉลี่ยของเกษตรกรที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเทคโนโลยีด้านการเกษตร รวมถึงการดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร และคุณภาพชีวิตและรายได้ของเกษตรกรในที่สุด ประชากรในภาคเกษตรที่มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นทุกปี ถือว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและต้องมีการวางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยข้อมูลแรงงานภาคเกษตรพบว่า สมาชิกในครัวเรือนเกษตรที่อายุมากกว่า 64 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นร้อยละ 11 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ซึ่งอายุเฉลี่ยของเกษตรกรไทย อยู่ที่ประมาณ 58 ปีขณะที่เกษตรกรของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มีอายุเฉลี่ยเพียงประมาณ 39 ปี (ข้อมูลจากสำรวจบางพื้นที่ในประเทศเวียดนามของ World Bank ปี 2004) เมื่อพิจารณาจำนวนแรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงจาก 19.32 ล้านคน ในปี 2544 เหลือ 17.99 ล้านคน ในปี 2558 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากลูกหลานในภาคเกษตรไม่สนใจประกอบอาชีพเกษตรกรมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยเฉพาะภาคบริการ เช่น การขายส่งการขายปลีกโรงแรมและ ภัตตาคาร การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับคนให้ความสนใจศึกษาในสาขาเกษตรน้อยลง และเมื่อจบการศึกษาไปประกอบอาชีพอื่น
เมื่อแรงงานภาคเกษตรของไทยมีอายุมากขึ้นปัญหาที่ตามมา คือ ประสิทธิภาพการผลิตในอนาคตลดลงอันเนื่องจากปัญหาสุขภาพของแรงงานและข้อจำกัดในการที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมถึงความสามารถในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ที่จะยกระดับการผลิตให้ได้ มาตรฐานและการเป็นครัวโลกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต และในปัจจุบันต้องหันไปพึ่งพาแรงงานต่างชาติมากขึ้นเพื่อ ทดแทนแรงงานไทยในภาคเกษตรที่ขาดหายไป ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วยได้ในที่สุดนอกจากนี้ภาครัฐยังต้องมีภาระในการจัดหาสวัสดิการการคุ้มครองทางสังคม และการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุในภาคเกษตรอีกด้วยดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการวางแผนพัฒนาแรงงานภาคเกษตรให้เหมาะสมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งสร้างเกษตรกรยุคใหม่ให้เข้ามาสู่ ภาคเกษตรเพิ่มขึ้นทดแทนแรงงาน เพื่อสร้างศักยภาพใน การแข ่งขันภาคเกษตรของประเทศ และเป็นประเด็นท้าทาย การพัฒนาภาคเกษตรของประเทศในอนาคตต่อไป
สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเล่ม
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่ https://iok2u.com/index.php/news/e-booka/1269-e-book-2560
ที่มา https://www.nesdc.go.th
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com