iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ดาวน์โหลดเอกสารที่ Attachment ที่ด้านล่าง

https://drive.google.com/file/d/1EDDVsDPIzB-vXL_AXhxB3OrW8eQiTNcc/view?usp=share_link

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) หรือ อว. ได้จัดทำชุด series หนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 6 เล่มให้ download ฟรี 

หนังสือเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์เป็นแนวคิดใหม่ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยกร ผ่านกระบวนการจัดสรรทรัพยกรที่มีประสิทธิภาพ ทั้งบริการเช่ารถ เช่าที่พัก เช่าอุปกรณ์ เช่าพื้นที่ทำงาน เมกเกอร์สเปซ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น โมเดลเศรษฐกิจรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปในทิศทางไหน แนวโน้มเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างสามารถค้นหาคำตอบได้จากหนังสือเล่มนี้

เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) คืออะไร ?

ปี ค.ศ. 2011 นิตยสารไทม์ (TIME Magazine) เลือกให้ "เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (sharing economy)" เป็นหนึ่งใน 10 แนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบนี้ก็ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นระบบใหม่ที่ใช้การได้ดียิ่ง เพราะเดิบโตเร็วกว่าโชเชียลมีเดียรายใหญ่ทั้งสามคือ เฟซบุ๊ก กูเกิล และยาฮู รวมกันเสียอีก โดยข้อมูลที่ PWC (Price Waterhouse Coopers) รวบรวมไว้ชี้ให้เห็นว่า ในปี ค.ศ. 2013 กิจการใหม่ด้านนี้มีมูลค่าการตลาดรวมกันสูงถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีศักยภาพที่จะเติบโตจนมีรายได้รวมของกิจการสูงถึง 335,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2025

นิยามของ "เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน (sharing economy)" มีหลายแบบ แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันคือเป็นแบบจำลองเศรษฐกิจที่มีการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ (asset) บางอย่างร่วมกันระหว่างคนจำนวนมาก โดยอาจจะเป็นได้ทั้งสินทรัพย์แบบที่เป็นสิ่งของทางกายภาพ เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย จักรยาน หรือเครื่องใช้ภายในบ้าน รวมถึงเงินทุน และ/หรือต้นทุนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ โดยไม่มีการถ่ายโอนความป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นซึ่งมูลค่าที่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่ายม้กจะทำผ่านแพลตฟร์อม (Platform) ดิจิทัลบางรูปแบบ

อีกนิยามหนึ่งคือเป็นแบบจำลองgศรษฐกิจที่อิงยู่กับการแบ่งปันกันใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่ยังใช้ประโยชน์ไม่ต็มที่ ตั้งแต่พื้นที่ไปจนถึงทักษะต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปของเงินหรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีรูปแบบการตลาดเป็นแบบตกลงกันโดยตรงระหว่างผู้ให้บริกร (เจ้าชองที่ไม่ใช่บริษัท) กับผู้รับบริการ (ลูกค้า) หรือที่เรียกว่า peer-to-peer ตัวอย่างธุรกิจเด่นที่เกิดจาก sharing economy อาทิ Airbnb, Grab, TaskRabbit

นอกจากคำว่า sharing economy แล้ว ยังมีคำที่มีแนวคิดและรายละเอียดบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีส่วนแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น peer-to-peer economy, collaborative economy, collaborative consumption, on-demand economy, zero-marginal cost economy และ crowd-based capitalism 

เว็บไซต์ Investopedia ระบุว่า peer-to-peer economy (หรือเรียกย่อว่า p2p economy) คือ ระบบเศรษฐกิจที่ปราศจากการรวมศูนย์ เป็นการซื้อขายแลกปลี่ยนสินค้ากับใครก็ได้โดยตรง ไม่ผ่านตัวกลางหรือบุคคลที่ 3 และไม่จำเป็นต้องอาศัยบริษัทธุรกิจมาเกี่ยวข้องขณะที่เว็บไซต์ moneywecan.com ระบุว่าเป็นเศรษฐกิจแบบไร้ตัวกลาง ไม่ผ่านตัวกลาง (intermediaries) โดยผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าและบริการที่ต้องการ และติดต่อกับผู้ให้บริการได้โดยตรง

* peer หมายถึง คนที่เสมอกันทางฐานะหรือตำแหน่ง หรือคนที่อยู่ระดับเดียวกัน

เศรษฐกิจความร่วมมือกัน (collaborative economy) คือ แบบจำลองระบบเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างคนแต่ละคน หรือชุมชนแต่ละแห่งกับสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การบริโภค การเงิน รวมไปถึงการเรียนรู้ เช่น makerspace สถานที่สำหรับสร้างชิ้นงานต้นแบบ ประถอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นให้นักประดิษฐ์สามารถหยิบยืมมาใช้ได้ หรือ co-working space ห้องทำงานแบบแบ่งปัน เป็นสถานที่ที่เปิดให้ทุกคน ทุกอาชีพเข้ามาเช่าพื้นที่ทำงานร่วมกัน โดยมีอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับในออฟฟิศทั่วไป

ขณะที่ การบริโภคแบบร่วมมือกัน (collaborative consumption) เป็นแบบจำลองระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแบ่งปัน แลกปลี่ยนสินค้า หรือให้ยืมผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่าง โดยคำนึงถึงการเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์มากกว่าการเป็นเจ้าของ เช่น คลังทรัพยากร การศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources หรือ OER)

เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

นิตยสาร Lafitudes และ Shareable ซึ่งมีความโดดเด่นที่สุดเกี่ยวกับเรื่อง sharing economy ได้ร่วมกันศึกษาและสรุปไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า ปัจจัยหลักที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์นั้นมีอยู่ ปัจจัยด้วยกัน คือ

1 เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในเรื่องเทคโนโลยี จากการมีอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อมต่อโลกทั้งใบได้ง่ยผ่านอุปกรณ์ที่สะดวกต่อการพกพา เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน ได้เอื้อให้เกิดตลาดซื้อชาย ทำให้วงจรอุปสงค์และอุปทานทางเศรษฐศาสตร์ทำงานได้เป็นอย่างดี อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การให้ยืมหรือเช่า หรือการแลกเปลี่ยน ต่างก็มีอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนยุคเว็บไซต์และสมาร์ตโฟน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมเช่นนี้ทำให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ซึ่งขยายขนาด (upscaling) ได้รวดเร็ว รวมไปถึงสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

2 ความห่วงใยเรื่องสิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อมนั้น แนวคิดการร่วมใช้ประโยชน์กับความยั่งยืน เชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น จนทำให้คนจำนวนมากที่ต้องการปกป้องสิ่งแวดล้อมเลือกเศรษฐกิจแบบใหม่นี้แทนเศรษฐกิจแบบเดิม โดยเฉพาะในยามขาดแคลนทรัพยากรหรือสินทรัพย์ ซึ่งจากการคาดการณ์ในรายงาน PWC Megatrends 2017 เผยว่า ประชากรที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้มีความต้องการอาหารมากขึ้น 35% ต้องการน้ำมากขึ้น 40% และต้องการพลังงานมากขึ้น 50% ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งการแบ่งปันเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรที่จำกัดและการร่วมมือกันย่อมหมายถึงวิธีการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน

3 ความถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในเรื่องของความถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกนั้น ผลประโยชน์จากการแบ่งปันและร่วมใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ยิ่งเห็นได้ชัดเจน เพราะในยามวิกฤต ผลกระทบไม่ได้เกิดแต่กับตลาดเงินและตลาดทุน แต่ยังกระทบไปถึงรัฐบาล ซึ่งย่อมส่งผลต่อเนื่องไปยังเรื่องสวัสดิการสังคมเป็นลูกโซ่ไปด้วย ทำให้คนระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น

4 ความสำคัญของชุมชน ปัจจัยสุดท้ายเรื่องของชุมชน กระบวนทัศน์แบบเครือข่าย (network paradigm) สนับสนุนการแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกันแบบออฟไลน และเสริมสร้างกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการดูแลตัวเองมากขึ้นไปด้วย การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์จึงเป็นผลลัพธ์จากการเชื่อมต่อระหว่างตัวขับเคลื่อน (drive) ทั้งในเรื่องเทคในโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยเป็นเบื้องหลังสำคัญ และเนื่องจากปัจจัยที่มีอยู่หลายปัจจัย จึงยังทำให้สามารถแบ่งเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ออกได้เป็น 6 รูปแบบย่อย ๆ ที่แตกต่างกันไปอีก 

เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์แบ่งออกได้เป็นอะไรบ้าง ?

Pais และ Provasi (2015) แบ่งเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ออกเป็น 6 ประเภท คือ

1. เศรษฐกิจการยืม (rental economy) เช่น การให้บริการให้เช่ายืมรถยนต์ของซิปคาร์ (Zip Car) ที่เป็นบริษัทลูกของเอวิส (Avis) ซึ่งเป็นบริษัทรถเช่าที่คนไทยคุ้นเคยกันดี

2. เศรษฐกิจติดต่อตรง (peer-to-peer economy) เช่น แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มให้เช่าห้องพัก โดยเจ้าของห้องพักหรือเจ้าของบ้านเป็นผู้ประกาศให้เช่าเองโดยตรง

3. เศรษฐกิจตามอุปสงค์ (on-demand economy)

4. ระบบการธนาคารเวลาและการขายแลกเปลี่ยนท้องถิ่น (time banking and local exchange trading system)

5. ซอฟต์แวร์โอเพนชอร์ชให้เปล่า (Free/Libre Open Source Software หรือ FLOSS)

6. การให้ยืมทางสังคมและการระดมทุนจากคนจำนวนมาก (social lending and crowdfunding)

โดยมองว่าจะช่วยให้เห็นระดับผลกระทบที่เกิดจากปรากฎการณ์ของเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สนใจอ่านเพิ่มเติมในเล่ม

ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://drive.google.com/file/d/1EDDVsDPIzB-vXL_AXhxB3OrW8eQiTNcc/view?usp=share_link

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward