แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน
พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่ รับรองให้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้มีผลตามกฎหมาย โดยเฉพาะประเต็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ สิ่งบ่งชี้ของเจตนาของบุคคลในการแสดงความตกลงในการเข้าทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใด้ ซึ่งถือเป็นประการสำคัญที่จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมติจิทัสได้อย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตีเพียงแค่การรับรองตามกฎหมายตังกล่าว ไม่อาจขับเคลื่อนให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปเป็นสังคมติจิทัลได้ แม้เราจะมีกฎหมายตังกล่าวมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วก็ตาม
ปัจจุบันการพิสูจน์และยืนยันตัวตนยังเป็นกระบวนการที่เพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้สามารถยืนยันอัตลักษณ์ของบุคคลนั้น ๆ ได้ โตยอาศัยคุณลักษณะของบุคคลสามารถใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไต้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีนัยสำคัญต่อสิทธิ์ในทางอัตลักษณ์ของบุคคล (Identity Right) ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันทางวิชาการอย่างกว้างขวางจากประสบการณ์ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เคยร่วมขับเคลื่อนงานต้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติ TDPG3.0 (Thailand Data Protection Guidelines) ที่ต้านรับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง ทำให้เราเส็งเห็นความสำคัญในประเต็นนี้ และสนับสนุนให้เกิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนเล่มนี้ โตยหวังว่าจะเป็นแหล่งอ้างอิงและข้อมูลสำคัญเพื่อการขับเคลื่อนสังคมติจิทัสของประเทศต่อไปสุดท้ายนี้ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณ สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และผู้สนับสนุนจำนวนมาก ที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยตื