SMART THAILAND และ ICT 2020 Framework
SMART THAILAND เป็นแนวคิด ที่จะทำให้ประชาชนคนไทยในประะเทศสามารถที่จะเข้าถึงไอซีที และใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือทำให้การดำรงค์ชีวิตในอนาคตของทุกคนสามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายขึ้น โดยโครงการ SMART THAILAND จะสอดรับกับ นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติและนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ. 2554-2563 หรือ ICT 2020 รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่มีการประกาศอีกหลายด้าน
แนวคิดโครงการเริ่มจากการมองว่าคนในเมืองสามารถเข้าถึงไอซีทีที่เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของรัฐได้มาก แต่ประชาชนภายนอกเมืองหลายแห่งที่ยังอยู่ห่างไกลยังมีปัญหาอุปสรรคในด้านนี้อยู่ อาจเนื่องจากปัญหาที่โครงสร้างของเครือข่ายหรือโครงข่ายยังไม่สามารถกระจายไปได้ทั่วถึง ทำให้คนที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือได้ดีพอ จึงมีเป้าหมายกำหนดที่จะทำภายใน 4 ปีว่ารัฐบาลจะเร่งดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับไอซีทีให้ประชาชน โดยเริ่มจากการส่งเสริมให้มีอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทั่วถึงทุกชุมชนในประเทศ ทั้งในเมืองและชนบทที่อยู่ห่างไกล ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้สามารถได้ใช้ไอซีทีมาเป็นเครื่องมือในด้านต่าง ๆ ได้ดี หลังจากนั้นเมื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงไอซีทีได้ครอบคลุมมากขึ้นแล้ว ในส่วนของรัฐบาลก็จะเตรียมการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) เพื่อเตรียมบริการให้กับประชาชนเพิ่มในทุกด้านด้วย เช่น การใช้บัตรประชาชนเป็นบัตรสมาร์ทการ์ด แทนที่จะถ่ายเอกสารแล้วเซ็นสำเนาส่งเจ้าหน้าที่
ประโยชน์ที่ได้จากโครงการ SMART THAILAND คือประชาชนจะสามารถติดต่อใช้บริการหรือทำธุรกรรมกับหน่วยงานภาครัฐได้ง่ายสะดวกสบายสามารถติดต่อได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกต่อไป
SMART THAILAND จะทำให้ประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชน หรือเครื่องมืออื่นโดยใช้ไอซีทีในการให้บริการประชาชนได้รวดเร็วสะดวกประหยัดเวลามากขึ้น
เป้าหมาย Green Digital Society ในการพัฒนาด้าน ICT ตามกระแสหลักสากลในบริบทประเทศไทย ตัวอย่างแนวคิดการพัฒนาด้าน ICT ตามกระแสหลักสากลในบริบทประเทศไทย เพื่อก้าวสู่สังคมอุดมปัญญา หรือ Smart Thailand บนพื้นฐานของการพัฒนาท้องถิ่นควบคู่กันไปในรูปแบบของจังหวัดอัจฉริยะ หรือ Smart Province ได้แก่ แนวคิด Green Digital Society หรือ GDS คือ แนวคิดที่สอดคล้องกับกระแสหลักสากลในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่สังคมดิจิทัลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแนวคิดดังกล่าวนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิดชุมชนและท้องถิ่นดิจิทัลด้วยระบบนิเวศน์ (Eco-system) ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมลงตัวในแต่ละชุมชนและท้องถิ่น ด้วยหลักการส าคัญ ๘ ประการ ประกอบด้วย
(๑) การพึ่งพาและอนุรักษ์ “ธรรมชาติ” (Nature) ด้วยแนวคิด “การด ารงชีวิตร่วมกับธรรมชาติ” ที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องการเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมสีเขียว (GG: Green Growth)
(๒) การส่งเสริมและพัฒนา ICT ในแนวทางให้เกิด “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) ด้วยแนวคิด “พัฒนา”อย่างต่อเนื่องในแนวทาง “บูรณาการ” โดยมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนในระดับชุมชนและท้องถิ่น พร้อมด้วย “ตัวชี้วัด” ที่สะท้อนความต้องการของชุมชน และมีการบริหารจัดการเพื่อ “ลดความเสี่ยง” ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องการเจริญเติบโตและขีดความสามารถในการแข่งขัน (GC: Growth and Competitiveness)
(๓) การ “ประหยัด” (Economy) ด้วยแนวคิด “ความคุ้มค่า” และ “ลดค่าใช้จ่าย” เพื่อให้การลงทุน โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณในการบริหารจัดการของภาครัฐเป็นไปในแนวทางประหยัดและก่อให้เกิดประโยชน์ลงไปถึงการพัฒนาในระดับชุมชนและท้องถิ่น ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักด้าน ICT ในรูปแบบ “ศูนย์กลางการสื่อสารของรัฐ” (GCC: Government Communication Center)
(๔) ความ “โปร่งใส” (Transparency) ด้วยแนวคิดของความ “ถูกต้อง” อันเป็นผลลัพธ์ส าคัญในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ที่มีองค์ประกอบประการสำคัญในเรื่องความโปร่งใส ในการบริหารจัดการด้าน ICT เพื่อการให้บริการที่ดีสู่ประชาชนในระดับชุมชนและท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องการเจริญเติบโตด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ดี(GGG: Good Governance Growth)
(๕) ระบอบ “ประชาธิปไตย” (Democracy) ด้วยแนวคิด ในการยึด “เหตุผล” พร้อมด้วยระบบ “ยุติธรรม” และ “ลดความเหลื่อมล้ำ” ในสังคมโดยทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องการเจริญเติบโตด้วยความเท่าเทียมและทั่วถึงในทุกภาคส่วน (IG: Inclusive Growth)
(๖) “ประชาชน” เป็นศูนย์กลาง (Citizen) ด้วยแนวคิด การพัฒนา “คุณภาพชีวิต” สู่ประชาชนในทุกชุมชนและท้องถิ่น ด้วยเป้าหมายตัวชี้วัดมาตรฐานในระดับจังหวัดทั่วประเทศประกอบด้วย “PIDHE: P: Gross Provincial Product, I: Per Capita Income, D: Distribution of Income, H: Gross Happiness Index, E: Government Expense” ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศทั้ง ๔ ด้าน (4G) ได้แก่ GC: Growth and Competitiveness, GGG: Good Governance Growth, GG: Green Growth และ IG: Inclusive Growth
(๗) การพัฒนาทั่วถึงเท่าเทียมทั่ว “ประเทศ” (Country) ด้วยแนวคิด การพัฒนาสู่ “สังคมอุดมปัญญา” หรือ Smart Thailand โดยการพัฒนาสังคมให้เพียบพร้อมด้วย “PARKS: P: Peace (ความสงบ) A: Adjustment (การปรับตัว), R: Reason (ความมีเหตุผล), K: Knowledge (องค์ความรู้) S: Sufficiency (ความพอเพียง)” ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศทั้ง ๔ ด้าน (4G) ได้แก่ GC: Growth and Competitiveness, GGG: Good Governance Growth, GG: Green Growth และ IG: Inclusive Growth
(๘) การเข้าสู่“ประชาคมโลก” (World Citizen) ด้วยแนวคิด การพัฒนาตามมาตรฐานสากลในยุคโลกาภิวัตน์ “Globalization” สู่ทุกชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพที่มีมาตรฐานทัดเทียมระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศทั้ง ๔ ด้าน (4G) ได้แก่ GC: Growth and Competitiveness, GGG: Good Governance Growth, GG: Green Growth และ IG: Inclusive Growth
ทั้งนี้ เพื่อมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญาในปี ๒๕๖๓ (Smart Thailand 2020) ซึ่งมุ่งผลสัมฤทธิ์ในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความเติบโตแบบยั่งยืน ชุมชนดิจิทัลที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน และมีการใช้ ICT ในรูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ ICT หลักของประเทศ ๔ ด้านประกอบด้วย
(๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์ให้เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยเข้าถึงและรู้เท่าทัน ICT เพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพอย่างพอเพียง ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากบริการ ICT (Participatory People)
(๒) ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พอเพียง(Sufficient) และคุ้มค่า (Optimal Infrastructure)
(๓) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในแนวทางนวัตกรรมบริการ และมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคสากล (Smart Government)
(๔) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ICT ให้เติบโตสดใส มีขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในตลาดระดับภูมิภาคและระดับสากลโดยเฉพาะอุตสาหกรรม ICT เชิงสร้างสรรค์ และการใช้ ICT ในธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Vibrant Business)
ที่มา
.
ที่มาข้อมูลและภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)-------------------------------------------------