การดําเนินงานเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
การดําเนินงานเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องดําเนินการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของราชการให้ประชาชนได้รับทราบใน 3 วิธีการดังนี้
1. การนําข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกําหนดไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๗
1.1 โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินการ
1.2 สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน
1.3 สถานที่ติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
1.4 กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
1.5 ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกําหนด
2. การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจ ดูได้ (ศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ) มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัด ให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 9 ของกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนเข้า ตรวจดูได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกําหนด (ประกาศ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู) ได้แก่ ต้องจัดให้มีสถานที่หรือ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารและข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้โดยสะดวก ต้องจัดทําดัชนีหรือรายการข้อมูลข่าวสารที่มีรายละเอียดเพียงพอสําหรับประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง ฯลฯ ในการจัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูนี้กฎหมายได้กําหนดให้ประชาชนมีสิทธิขอหรือขอสําเนาที่มีคํารับรองถูกต้องด้วย ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรวบรวมไว้ให้ประชาชนเข้า ตรวจดูได้อย่างน้อยที่สุดตามที่กฎหมายกําหนดได้แก่
2.1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชนรวมทั้งความเห็นแย้งและคําสั่งที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
2.2 นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2.3 แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจําปีของปีที่กําลังดําเนินการ
2.4 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
2.5 สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจานุเบกษา
2.6 สัญญาสัมปทานสัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ
2.7 มติคณะรัฐมนตรีหรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นํามาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย ๓
2.8 ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกําหนด
3. การเปิดเผยหรือการจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการให้กับประชาชนที่ขอข้อมูลข่าวสารเป็นการ เฉพาะราย มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ จัดหาข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนตามที่ขอ โดยกําหนดเป็นหลักปฏิบัติว่า ถ้ามีผู้มาขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคําขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควรให้หน่วยงาน ของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอในเวลาอันสมควร ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดข้อมูล ข่าวสารให้กับประชาชนตามวิธีนี้ มีลักษณะเป็นการจัดข้อมูลข่าวสารให้กับผู้ขอเป็นรายกรณี ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นกับความต้องการของแต่ละคน จึงอาจถือได้ว่าเป็นการจัดข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนเป็นการเฉพาะราย หน้าที่ในการเปิดเผยหรือการจัดหาข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนเป็นการเฉพาะรายนี้ แตกต่างจาก 2 วิธีแรก ซึ่งมีการกําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าข้อมูลข่าวสารประเภทใดที่ต้องนํามาเปิดเผยโดย นําไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาและข้อมูลข่าวสารประเภทใดที่จะต้องนํามาเปิดเผยโดยการจัดไว้ให้ ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตลอดเวลา
ที่มาข้อมูลภาพ www.iok2u.com
-------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิกตามลิงค์ที่สนใจ
พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 รวมข้อมูล
-------------------------------------------------