รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
สนใจโหลดเอกสารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คลิกที่นี่
สนใจโหลดเอกสารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คลิกที่นี่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ประกาศใช้ 10 ธันวาคม 2475
ที่มา คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการราษฎรตั้งขึ้นจัดทำเสนอสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้
สิ้นสุด 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
อายุการใช้บังคับ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน
จำนวน : 68 มาตรา
องค์ประกอบของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ
- สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งจากราษฎร และ
- สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
โดยสมาชิกทั้ง 2 ประเภทมีจำนวนเท่ากัน
คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 คน และอย่างมาก 24 คน
การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติม รวม 3 ครั้ง คือ
รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482
ประกาศใช้ วันที่ 6 ตุลาคม 2482
ประเด็นแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นคำว่า “ประเทศไทย” และบทแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน
รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 248
ประกาศใช้ วันที่ 4 ตุลาคม 2483
ประเด็นแก้ไขเพิ่มเติม ขยายระยะเวลาให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิก 2 ประเภท จากเวลา 10 ปี เป็น 20 ปี เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เหลือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งประเภทเดียว
รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2485
ประกาศใช้ วันที่ 3 ธันวาคม 2485
ประเด็นแก้ไขเพิ่มเติม การขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละไม่เกิน 2 ปี เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 ขึ้น และเป็นอุปสรรคสำคัญ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นได้ จึงขยายระยะเวลาดังกล่าว รวม 2 ครั้ง ในปี 2485 และปี 2487
---------------------------------
.
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมข้อมูล