สรุปสาระสำคัญ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ “PDPA - Privacy for All”
ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นสามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ยกเว้น ข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลนิติบุคคล จะไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) มีรูปแบบข้อมูลที่มีการจัดเก็บ เช่น ชื่อ, นามสกุล, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล, หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, รูปถ่าย, ประวัติการทำงาน, อายุ (เด็กจะต้องระบุผู้ปกครองได้ และรับอนุญาตจากผู้ปกครอง)
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน (Personal Data Sensitive) ที่มีการควบคุมเข้มงวดขึ้นมาอีกขั้น เช่น เชื้อชาติ, ชาติพันธุ์, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, สุขภาพ, ความพิการ, สหภาพแรงงาน, พันธุกรรม, ชีวภาพ, ข้อมูลสุขภาพ (ใบรับรองแพทย์) หรือ ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะประกาศกำหนด