iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
แผนการดำเนินงานของสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2555

แผนการดำเนินงานของสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2555

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้รับภารกิจเพิ่มเติมในด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2549 จึงมีคำสั่งแต่งตั้งสำนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเป็นการภายใน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ต่อมาได้รับการยกระดับเป็นสำนักโลจิสติกส์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551 และได้เร่งดำเนินงานการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2555 จะดำเนินการตาม แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนจากการจัดทำแผนที่เส้นทางหรือ Roadmap โลจิสติกส์อุตสาหกรรม โดยความร่วมมือจากผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน ผู้แทนจากหน่วยงานราชการและสถาบันอิสระภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา   แผนแม่บทดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ในการประกอบธุรกิจ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในระดับโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายคือ

(1) ลดต้นทุนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลง (Manufacturing Logistics Cost per GDP) ลงร้อยละ 15 ภายในปี 2559

(2) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ทั้ง 3 มิติ ด้านต้นทุน เวลา และคุณภาพ ขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี 2559 โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการของภาคอุตสาหกรรม (Professional Manufacturing Logistics Management)

2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยธุรกิจในโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม (Supply Chain Collaboration and Networking)

3. ยุทธศาสตร์การสนับสนุนให้เกิดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (National Supply Chain Competitiveness Enabling Factors)

การดำเนินงานตามแผนแม่บทดังกล่าวในปีงบประมาณ 2555 ได้จำแนกออกเป็น 3 รายการ ได้แก่

(1) การสร้างความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการของภาคอุตสาหกรรม

(2) การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยธุรกิจในโซ่อุปทาน

(3) การสนับสนุนให้เกิดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย โครงการจำนวนทั้งสิ้น 25 โครงการ ดังนี้

รายการ

การดำเนินโครงการ

ลักษณะการดำเนินงาน

ค่าเป้าหมาย

1. การสร้างความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการของภาคอุตสาหกรรม

 

   1.1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
ในภาคกลาง โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีและพลาสติก

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก ในภาคกลาง โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.3 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลาง โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.4 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรม
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในภาคกลาง ในภาคกลาง โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.5 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ในภาคกลาง
โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.6 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคตะวันออก

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน
ภาคตะวันออก โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.7 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคเหนือ

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในภาคเหนือ โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.8 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.9 การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคใต้

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้า
คงคลังของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในภาคใต้ โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก
ณ สถานประกอบการ

25 ราย

   1.10 การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ERP) ในการจัดการและบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ
โลจิสติกส์สำหรับการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resources Planning; ERP) สำหรับ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ และอื่นๆ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการ

25 ราย

   1.11 การบริหารแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ดำเนินการเพื่อบริหารจัดการ กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม (พ.ศ.2555-2559) ของปี 2555 ด้วยระบบตรวจวัดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ มาตรการ แนวทางดำเนินการหรือแก้ไขปัญหา เพื่อให้การดำเนินงานโครงการตามแผนแม่บทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

1 เรื่อง

1 ระบบ

   1.12    การ Workshop สัญจรขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมเพื่อความเข้มแข็งทางธุรกิจ

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

จัดทำ Workshop สัญจร 5 ภูมิภาค ไม่รวม กรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านบุคลากรของภาคอุตสาหกรรม
ให้มีความสามารถและมีความชำนาญในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กร พร้อมศึกษาดูงานในสถานประกอบการตัวอย่างที่มีการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ในแต่ละภูมิภาค

700 คน

   1.13   การสร้างนักจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมืออาชีพระดับสากล

โดยที่ปรึกษาจากโครงการต่อเนื่อง

พัฒนาและยกระดับความรู้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความเชี่ยวชาญด้าน
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานตามมาตรฐานสากลของสถาบัน APICS The Association for Operations Management เพื่อการเตรียมความพร้อมรับการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 โดยดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตร ได้แก่
1) “การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับปฏิบัติการ (ภาษาไทย)” 2) “การจัดการ
โลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับกลาง (Certified Production and Inventory Management: CPIM)” 3) “การจัดการ
โลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับสูง (Certified Supply Chain Professional: CSCP)”  และ 4) หลักสูตร “การจัดการโลจิสติกส์และ
ซัพพลายเชนสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน และ GMS” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับสากล (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศอาเซียนและ GMS

350 ราย

   1.14   การสร้างที่ปรึกษาด้านการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม

โดยที่ปรึกษาจากโครงการต่อเนื่อง

สร้างที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นบุคลากรที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยใช้หลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน สากลให้กับผู้ที่มีพื้นฐานในการวินิจฉัยหรือให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสำหรับการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาเชิงลึกสำหรับสถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

60 คน

   1.15    การตรวจประเมินการจัดการ
โลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

ดำเนินการเอง

ตรวจประเมินสถานประกอบการเพื่อรับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการโลจิสติกส์ ประจำปี 2555

1 เรื่อง

   1.16    การจัดทำเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจขององค์กร (Self Continuous Improvement Tools)

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

1) สร้างชุดเครื่องมือพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้ (Tool Kits) ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ในรูปแบบเอกสารบรรยาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (DVD)

2) จัดทำ e-Learning แบบ Visualize Interactive Learning Classroom ที่สามารถใช้งานได้บน Online Web Application เพื่อส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง และอำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจจำนวนมากให้สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้
ที่ได้มาตรฐานระดับสากล

1 เรื่อง

3 ระบบ

   1.17 ศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ (Logistics Service Information Center: LSIC)

โดยที่ปรึกษาจากโครงการต่อเนื่อง

จัดทำข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เพื่อการเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และพัฒนาตนเอง

1 เรื่อง

1 ระบบ

   1.18 การพัฒนาระบบศูนย์บริการข้อมูล
โลจิสติกส์

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

จัดทำระบบศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ โดยการสร้าง Software เพื่อบริหารงานด้านสารสนเทศโลจิสติกส์ในการจัดเก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผล และการแสดงผลผ่าน Web service ซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1 เรื่อง

1 ระบบ

2.   การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยธุรกิจในโซ่อุปทาน

   2.1   การจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อ Green Supply Chain ของอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการส่งออก (อุตสาหกรรมยางพารา)

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

1) พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้มีความรู้และมีศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลตามบัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม
(Life Cycle Inventory) ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน

2) จัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain)

9 ราย

 3 โซ่อุปทาน

   2.2   การส่งเสริมการใช้และเชื่อมโยงระบบ Backhauling ของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อลดสัดส่วนการวิ่งรถเที่ยวเปล่า

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

สร้างระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลแบบ Web service และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้า และผู้ให้บริการขนส่ง มีต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าลดลง โดยร่วมกันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารการขนส่งเพื่อลดสัดส่วนการวิ่งรถเที่ยวเปล่า

1 ระบบ

2,000 ราย

   2.3   การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเชื่อมโยงธุรกรรมระหว่างองค์กรในโซ่อุปทานเป้าหมาย (XML)

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ให้คำปรึกษาแนะนำกลุ่มสถานประกอบการในโซ่อุปทานที่มีความประสงค์จะประยุกต์ใช้ใช้งานซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานภาษา XML ผ่านระบบ Web – Based เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลและการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน

12 ราย

2 โซ่อุปทาน

   2.4 การส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยในโซ่อุปทานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจากผู้ก่อการร้าย ภัยพิบัติ หรือโจรกรรม

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและดำเนินการตรวจประเมินสถานประกอบการของอุตสาหกรรมนำร่อง (ปิโตรเคมี พลาสติก ยา เฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอื่นๆ) ให้สามารถบริหารความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ โดยการนำมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยสำหรับโซ่อุปทานของสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป มาตรฐานการบริหารความเสี่ยง กฎหมายและมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เข่น ISO18185, ISo17712, BS25999, มอก.22301, TAPA, C-TPAT, CIS เป็นต้น ไปใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น

10 ราย

   2.5 การพัฒนาและยกระดับความน่าเชื่อถือด้านสุขอนามัยของสินค้าอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออกในตลาดเอเซียและสหภาพยุโรป

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ให้คำปรึกษาสถานประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเพื่อพัฒนาและยกระดับความน่าเชื่อถือด้านสุขอนามัยของสินค้าด้วยระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับตรวจสอบย้อนกลับโซ่อุปทานของสถานประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ (Tracing and Tracking Software) อุตสาหกรรมอาหารสำหรับสถานประกอบการนำร่องให้เหมาะสมกับลักษณะของสินค้าและโซ่อุปทาน

6 ราย

2 โซ่อุปทาน

3.   การสนับสนุนให้เกิดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

   3.1    การพัฒนาระบบออกใบอนุญาตส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรและใบอนุญาตนำแร่เข้าในราชอาณาจักรเพื่อรองรับการเชื่อมโยง National Single Window ระยะที่ 2

โดยผู้รับจ้าง

จากการคัดเลือก

ดำเนินการสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับเงื่อนไขระบบการขออนุญาตส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรและขออนุญาตนำแร่เข้าในราชอาณาจักรทุกชนิดแร่ และเชื่อมโยงกับด่านศุลกากรทั่วประเทศ

1 ระบบ

   3.2   การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ DRP, WMS

โดยที่ปรึกษาจากการคัดเลือก

ให้คำปรึกษาสถานประกอบการภาค อุตสาหกรรมการผลิตและภาคธุรกิจและบริการที่เข้าร่วมโครงการ ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการวางแผนการกระจายสินค้า (Distribution Requirement Planning) และการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ใน 3 มิติ ด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ

25 ราย

ที่มา สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพี้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม

-----------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward