ข้อมูลส่วนบุคคล
นายเกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ชำนาญการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
รายละเอียดการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกับลักษณะงานในตำแหน่ง
6.1 งานที่กองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในฝ่ายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรณี โดยดำเนินงานที่รับผิดชอบจะเป็นการกำกับดูแล และให้ความช่วยเหลือในการทำเหมืองแร่ มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และจัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ของฝ่ายประกอบด้วย
-งานด้านการกำหนดนโยบาย ปฏิบัติงานวางแผนจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรณี ประกอบด้วยงานวางแผนการจัดการ งานวางระบบการทำงาน การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และพัฒนาให้เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการ
- ศึกษาความต้องการของระบบ วางแผนออกแบบฐานข้อมูล ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล และปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของฝ่ายเพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล
- งานจัดระบบและการวางแผนการประมวลผลข้อมูล โดยจัดทำฐานข้อมูลประทานบัตรและคำขอประทานบัตร เพื่อร่วมกับระบบการจัดเก็บรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
- งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในด้านการติดตามเฝ้าระวัง (Audit) ติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานโครงการจัดทำแผนการจัดการแหล่งอนุรักษ์และอ้างอิงทางด้านธรณีวิทยาของไทย
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้งานโครงการติดตามการแพร่กระจายของสารหนูรอบบริเวณเทือกเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานโครงการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการทำเหมืองแร่ตะกั่วในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้งานโครงการจัดทำแผนการจัดการกำหนดมาตรการและแผนการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วของเหมืองแร่ถ่านหิน ในประเทศไทย
- ร่วมเป็นคณะทำงานในโครงการจัดทำแผนแม่บทด้านการจัดการสารสนเทศ ของกรมทรัพยากรธรณี
- ให้คำปรึกษาแนะนำและความช่วยเหลือด้านวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และบริษัทที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับวิธีการ แนวทาง ข้อกำหนด และเทคนิคการนำระบบสารสนเทศมาใช้ประกอบกิจการเหมืองแร่ แต่งแร่ และ โลหกรรม
6.2 งานที่สำนักบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม โดยอยู่ในกลุ่มวิชาการและมาตรฐาน ดำเนินงานที่รับผิดชอบด้านวิชาการและมาตรฐาน ใช้ประกอบในการกำกับดูแลการบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และจัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ของฝ่าย มีหน้าที่ดังนี้
- งานด้านการกำหนดนโยบาย ปฏิบัติงานวางแผนจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของฝ่าย เพื่อรองรับงานด้านวิชาการและมาตรฐานในการบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย งานวางระบบ งานวางแผนการจัดการ การเตรียมเครื่องมือ-อุปกรณ์ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- งานจัดระบบและการวางแผนการประมวลผลฐานข้อมูล เพื่อรองรับงานด้านวิชาการและมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยงานศึกษาความต้องการของระบบงานวางแผนออกแบบฐานข้อมูล การจัดการเก็บข้อมูล และปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูลที่จัดทำได้แก่ ข้อมูลประทานบัตร คำขอประทานบัตร โรงโม่ โรงแต่งแร่ และพื้นที่แหล่งหิน
- งานจัดการระบบฐานข้อมูลประทานบัตรเหมืองแร่ เพื่อใช้ร่วมกับระบบการจัดเก็บรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
- งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในด้านการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่ และการเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานตรวจสอบแหล่งอนุรักษ์ในพื้นที่ใกล้เคียงคำขออาชญาบัตรพิเศษและอาชญาบัตรผูกขาด
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานโครงการกำหนดมาตรฐานมลพิษและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะกรรม ชนิดแร่สังกะสีจังหวัดตาก
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานโครงการกำหนดมาตรฐานมลพิษและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะกรรม ชนิดแร่ทองคำจังหวัดพิจิตร
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในงานโครงการกำหนดมาตรฐานมลพิษและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะกรรม ชนิดแร่โพแทซ จังหวัดอุดรธานี
- ดำเนินการและร่วมดำเนินการกับหน่วยงานสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ให้คำปรึกษาแนะนำและความช่วยเหลือด้านวิชาการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ แก่ประชาชนผู้สนใจ ผู้ประกอบการ และบริษัทที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับวิธีการ ข้อกำหนด และเทคนิคการนำสารสนเทศมาใช้
6.3 งานที่สำนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม โดยอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ ดำเนินงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ประกอบในการบริหาร การจัดระบบ และวางแผนการประมวลผลข้อมูล โดยรับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และจัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ของฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ดังนี้
- งานด้านการกำหนดนโยบายและปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โลจิสติกส์ ประกอบด้วยงานวางแผนการจัดการ งานวางระบบ การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม
- ศึกษาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีการประยุกต์ใช้ในงานโลจิสติกส์อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
6.4 งานที่ศูนย์สารสนเทศ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในศูนย์สารสนเทศของ กรพ. ประกอบด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ กพร. โดยเข้าร่วมศึกษาในโครงการต่างๆ ที่มีตามที่ได้รับมอบหมาย, ศึกษาโครงการจัดประเมินประสิทธิภาพด้านการจัดการสารสนเทศของ กพร., จัดฝึกอบรมสารสนเทศในเรื่อง “ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เบื้องต้น” และร่วมดำเนินโครงการด้านสารสนเทศร่วมกับสำนักอื่นๆ ได้แก่
- ร่วมดำเนินโครงการกับสำนักบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศในงานจัดการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
- ร่วมศึกษากับสำนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านโลจิสติกส์
- ร่วมกับกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม ในงานจัดเก็บข้อมูลบุคคลากร โดยใช้โปรแกรม DPIS ที่มีการพัฒนาจาก สำนักข้าราชการพลเรือน
- ร่วมศึกษากับกองวิศวกรรมบริการ ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในงานด้านจัดทำแผนที่ สำรวจ และรังวัด
- ร่วมดำเนินโครงการกับสำนักอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า จัดการระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมเหมืองแร่สู่ชุมชนอุตสาหกรรมนิเวศน์
6.5 งานที่สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.อุบล) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานดูแลในส่วนของสำนักปลัด อบจ. ประกอบด้วย
- งานดูแลและพัฒนาระบบเว็บไซต์ของ อบจ. อบ. (www.ubon.go.th) และของข้อมูลของสำนักปลัดเพื่อแสดงทางเว็ปไซต์เช่น ประชาสัมพันธ์
- งานดูแลและพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กโทรนิคส์(E-mail) ของ อบจ. อบ. และดูจดหมายที่มีการแจ้งถึง อบจ. อบ.
- งานพัฒนาระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ตของ อบจ. และสำนักปลัด รวมทั้งร่วมพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้กับหน่วยงานในสังกัด อบจ. เช่น สถานีขนส่ง และสนามกีฬาทุ่งบูรพา
- งานควบคุมข้อมูลด้านไอทีและงานออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้ในงานของ อบจ. และของสำนักปลัดฯ รวมทั้งช่วยติดตามผลการทำงานของโปรแกรมระบบงาน อบจ.
- งานควบคุมและดูแลฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบของสำนักปลัดฯ
- ประสานงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
- รับผิดชอบในการลงข้อมูลระบบเว็บไซต์เลือกตั้งของ อบจ. และดูแลพัฒนาข้อมูลเพื่อนำลงในข้อมูลสำหรับ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
- ดำเนินงานตามนโยบาย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
- พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) และข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานของ อบจ.
- งานวางแผนดำเนินการขยาย และปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดอบรมและให้ความรู้ด้านสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่ใน อบจ.
- งานติดต่อผู้ให้บริการระบบเครือข่ายภายนอก ในการพัฒนาระบบให้กับหน่วยงานใน อบจ.
- งานแก้ไขปัญหาขัดข้องให้กับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ด้านซอฟท์แวร์ และให้บริการจัดซ่อมอุปกรณ์ให้กับองค์กร
6.6 งานที่กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานดูแลในส่วนของงานบริการระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
- งานดูแลและพัฒนาระบบเว็บไซต์ของ เทศบาลเมืองวารินชำราบ (www.warincity.go.th) และของข้อมูลของกองวิชาการและแผนงาน เพื่อแสดงทางเว็ปไซต์เช่น งานประชาสัมพันธ์
- งานดูแลและพัฒนาระบบจดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) ของเทศบาลเมืองวารินชำราบ และดูจดหมายที่มีการแจ้งถึง
- งานควบคุมและดูแลฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ประสานงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
- พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) และข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานของ เทศบาลเมืองวารินชำราบ
- งานติดต่อผู้ให้บริการระบบเครือข่ายภายนอก ในการพัฒนาระบบให้กับหน่วยงานใน เทศบาลเมืองวารินชำราบ
- งานแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องให้กับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ และด้านซอฟท์แวร์ และให้บริการจัดซ่อมอุปกรณ์ให้กับองค์กร
- ดำเนินงานตามนโยบาย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
6.7 งานที่สำนักโลจิสติกส์ (สลจ.) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการโดยอยู่ใน กลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าโครงการ นักวิชาการด้านสารสนเทศ และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ดำเนินงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (MIS) และการบริหารจัดการระบบและวางแผนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ที่มีของ สลจ. กำกับแนะนำตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์ที่สูง และความชำนาญงานเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ กำกับดูแลงานที่เป็นหน้าที่หลักของกลุ่ม หรืองานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะของหน่วยงาน พัฒนาทบทวนและกำหนดแนวทางแผนงานโครงการที่รับผิดชอบ พิจารณาความต้องการทรัพยากรและวางแผนจัดสรรทรัพยากรสำหรับโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ติดตามประเมินผลประสานงานปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
- งานด้านการกำหนดนโยบายและปฏิบัติงานด้านการวางแผนจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ประกอบด้วย งานวางแผนการจัดการงานวางระบบ การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม
- ศึกษาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีการประยุกต์ใช้ในงานโลจิสติกส์อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- งานกำกับดูแลโครงการฯ ของ สลจ. ในส่วนที่กลุ่มสารสนเทศได้ดูแล โดยทุกโครงการจะเน้นในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยโดยเฉพาะได้แก่
* โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ERP) ในการจัดการและบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล
* โครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ (Logistics Service Information Center : LSIC)
* โครงการส่งเสริมการใช้และเชื่อมโยงระบบ Backhauling เพื่อลดสัดส่วนการวิ่งรถเที่ยวเปล่า
* โครงการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ DRP, WMS
* โครงการพัฒนาระบบการออกหนังสือรับรองการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษ สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการเชื่อมโยงผ่านระบบ National Single Window
* โครงการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเชื่อมโยงธุรกรรมระหว่างองค์กรในโซ่อุปทานเป้าหมาย (XML)
* โครงการบูรณาการงานระหว่างกระทรวง ด้านการจัด Zoning พื้นที่เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
* โครงการพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider: LSP) เพื่อยกระดับสู่สากลแบบครบวงจร
- ร่วมเป็นกรรมการตรวจรับงานโครงการ ให้คำแนะนำร่วมกับกลุ่มอื่นอีกหลายโครงการ โดยเน้นให้คำปรึกษาในโครงการที่มีการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก
- งานดูแลและพัฒนาระบบเว็บไซต์ของสำนักฯ (www.logistics.go.th) และระบบต่างๆ ที่มีของสำนัก รวมถึงระบบในโครงการต่างๆ ของ สลจ. เน้นการจัดการข้อมูลของกลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์งานผ่านระบบเครือข่าย
- งานดูแลและพัฒนาระบบช่องทางติดต่อสื่อสารของ สลจ. และขั้นตอนการดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายของ เน้นการจัดการสื่อสารเพื่อติดต่อกับหน่วยงานภายนอกเช่น Facebook Fan page, YouTube, E-Book, Line และสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ที่มี
- งานดูแลและพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กโทรนิคส์ (E-mail) ในส่วนที่ใช้งานของ สลจ. ได้แก่ เมลล์
- งานควบคุมและดูแลฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบของ สลจ. เป็นตัวแทนประสานงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ และพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) และข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานของ สลจ.
- งานติดต่อผู้ให้บริการระบบเครือข่ายภายนอกในการพัฒนาระบบให้กับหน่วยงานในสลจ. รวมถึงงานแก้ไขปัญหาขัดข้องให้กับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านฮาร์ดแวร์และด้านซอฟท์แวร์
- งานรัฐพิธีราชพิธีและพิธีการต่างๆ และดำเนินงานตามนโยบายและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
6.8 งานที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ศส.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ โดยอยู่ใน กลุ่มระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ปฏิบัติงานในฐานะผู้อำนวยการกลุ่ม หัวหน้าโครงการ นักวิชาการด้านสารสนเทศ และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ดำเนินงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (MIS) และการบริหารจัดการระบบและวางแผนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ที่มีของ สลจ. กำกับแนะนำตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์ที่สูง และความชำนาญงานเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ กำกับดูแลงานที่เป็นหน้าที่หลักของกลุ่ม หรืองานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะของหน่วยงาน พัฒนาทบทวนและกำหนดแนวทางแผนงานโครงการที่รับผิดชอบ พิจารณาความต้องการทรัพยากรและวางแผนจัดสรรทรัพยากรสำหรับโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ติดตามประเมินผลประสานงานปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ