Logistics&SC “การประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ILPI” โดย รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง
VDO บรรยาย “การประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ILPI” จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อให้ความรู้ด้านตัวชี้วัด logistics และ supply chain แก่สถานประกอบการที่สนใจ โดยสำนักโลจิสติกส์
วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กพร.
การบรรยาย ILPI ของ รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยทางโครงการจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อให้ความรู้ด้านตัวชี้วัด logistics และ supply chain แก่สถานประกอบการที่สนใจ ซึ่งมีการกำหนดจัดจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กพร.
.
การบรรยาย ILPI ของ รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง ตอนที่ 1/4
การบรรยาย ILPI ของ รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง ตอนที่ 1/4
การบรรยาย ILPI ของ รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง ตอนที่ 1/4
การบรรยาย ILPI ของ รศ. ดร. อภิชาติ โสภาแดง ตอนที่ 1/4
------------------------------
ที่มาของกิจกรรม
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (E-LSCM) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาคอุตสาหกรรม โดยได้ดำเนินโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลเกณฑ์เทียบวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม (Benchmarking) ผ่านเกณฑ์เทียบวัด 3 เครื่องมือ ได้แก่
(1) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI)
(2) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโซ่อุปทาน (Supply Chain Performance Index: SCPI) และ
(3) เกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Scorecard)
(1) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI)
ประกอบไปด้วยตัวชี้วัดกิจกรรมโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม 3 มิติ 27 ตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ต่อยอดขาย ระยะเวลาเฉลี่ยการตอบสนอง คําสั่งซื้อจากลูกค้า อัตราความสามารถในการ จัดส่งสินค้าของแผนกขนส่ง ฯลฯ
(2) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโซ่อุปทาน (Supply Chain Performance Index: SCPI)
ประกอบไปด้วยตัวชี้วัด 5 สมรรถนะ 10 ตัวชี้วัด เช่น ต้นทุนการบริหารซัพพลายเชน การเติมเต็มคําสั่งซื้อสมบูรณ์ รอบระยะ เวลาการปรับเปลี่ยนกระบวนการ ฯลฯ
(3) เกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Scorecard)
ประกอบไปด้วย 5 ขอบเขต 23 ดัชนี เช่น ระดับกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ด้านโลจิสติกส์ ระดับการรับรู้สถานะของสิน- ค้าคงคลังที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน ระดับการ ใช้งานระบบการตัดสินใจสนับสนุนองค์กร คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน
ประโยชน์ที่ทางผู้ประกอบการจะได้รับจากการอบรม
1. การประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมในภาพรวมและอุตสาหกรรมเดียวกัน
2. คำแนะนำในการปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------