iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Nares บทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak) รวมข้อมูล

 
อุบลราชธานี เมืองแสงแรกแห่งสยาม
 
ในอดีตนั้นคนไทยกำหนดเวลากันอย่างคร่าว ๆ ประมาณทุก 6 ชั่วโมง เริ่มจาก “ย่ำรุ่ง” เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า ต่อด้วย “เที่ยงวัน” “ย่ำค่ำ” และ “เที่ยงคืน” จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2395 ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นหอฬิกาหลวง ประกอบด้วยนาฬิกาขนาดใหญ่ 4 ด้าน แล้วทรงคำนวณด้านดาราศาสตร์ เพื่อกำหนดเวลาของสยามประเทศ
ต่อมาได้มีความตกลงของประเทศทั่วโลก ให้ตำบล ณ หอตรวจดาวที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นจุดแรกแห่งการกำหนด และเรียกว่า เวลามาตราฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time หรือย่อเป็น GMT) ส่วนภาคของเวลามีกำหนดด้วยเส้นแวง ภาคละ 15 องศา ซึ่งคิดเป็นเวลาเท่ากับ 1 ชั่วโมง (ปล. โลกเป็นเสมือนวงกลมจึงแบ่งเป็น 360 องศาเส้นแวง และโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นในเวลา 1 ชั่วโมง โลกจึงเคลื่อนที่ไป 15 องศา หรือองศาละ 4 นาที) ดังนั้น จุดกำหนด “เวลามาตรฐานกรุงเทพปานกลาง”(Bangkok mean time: BMT) ที่พระบรมมหาราชวัง ที่มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ 13 องศา 45 ลิปดา 38.8 ฟิลิปดา เหนือ / 100 องศา 27 ลิปดา 45 ฟิลิปดา ตะวันออก BMT จึงมีเวลาเพิ่มจาก GMT 6 ชั่วโมง 42 นาที 4 วินาที
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งเวลาเร็วขึ้น 17 นาที 56 วินาที ทำให้เวลามาตรฐานของเราไปอยู่ที่ GMT + 7.00 นั่นคือ ย้ายตำแหน่งการนับเวลาจากพระบรมมหาราชวังไปเป็นเส้นแวงที่ 105 ตะวันออก
ประเทศไทยของเราตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ ถึง 20 องศา 28 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก เนื่องจากเส้นแวงของเราต่างกัน 8 องศา เวลาของพื้นที่ตะวันออกสุดของประเทศ จึงจะไวกว่าพื้นที่ทางด้านตะวันตก 32 นาที หากเราถือเอาเส้นแวงที่ 98 (ลากผ่านแม่ฮ่องสอนจังหวัดเดียว) หรือเส้น 99 (ซึ่งลากผ่านเขตพื้นที่ของ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กาญจนบุรี ในภาคเหนือ รวมทั้ง ระนอง สุราษฎร์ธานี และกระบี่ในภาคใต้) เป็นจุดกำเนิดเวลาของประเทศ เราก็จะมีเวลามาตรฐานตรงกับเมียนมาร์
การเลือกเอาเส้นแวงที่ 105 (ลากผ่านพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเกือบทั้งหมด โดยเข้าไปในเขตของอำนาจเจริญ เพียงสั้นๆ เท่านั้น) ทำให้เวลามาตรฐานของประเทศเราตรงกับลาว กัมพูชา และเวียดนาม จึงนับเป็นความโชคดีของชาวอุบลราชธานี เพราะสามารถอวดอ้างได้ว่า จังหวัดของฉันตั้งอยู่ตะวันออกสุดของประเทศ บ้านของฉันจะเห็นแสงตะวันก่อนใคร จังหวัดของฉันมีมีความสำคัญในด้านแผนที่ และภูมิศาสตร์ ซึ่งก็น่าที่จะต่อยอดไปถึงด้านดาราศาสตร์ได้ด้วย อุบลราชธานีจึงน่าจะมีกิจกรรมในการส่งเสริมให้ยุวชนได้ตระหนักถึงความพิเศษของท้องถิ่นของตนเอง และเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว รวมทั้งการปรับแต่งบริเวณที่ตั้งของป้ายตำแหน่งที่ตั้งของเวลามาตรฐาน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือท่องเที่ยว หรือจุดเช็คอินด้วยการถ่ายรูปที่ระลึก จังซั่นสิคักบ้อหล่า อ้ายสารวัตร
 
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 


ภาพที่ 1 แผนที่ประเทศไทย แสดงพิกัดภูมิศาสตร์ทั้งเส้นรุ้งและเส้นแวง อีกทั้งระบุชื่อจังหวัดที่เส้นแวงที่ 99 และ 105 ตะวันออกตัดผ่าน

ภาพที่ 2 ภาพถ่ายป้ายแสดงตำแหน่งที่เส้นแวง 105 ตะวันออกตัดผ่านขอบถนนด้านใต้ของทางหลวงหมายเลข 217 ณ หลักกิโลเมตรที่ 15+553.8

ที่มา https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ www.iok2u.com

-------------------------------------------------

รวมบทความ นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

-------------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward