Jade 210423 วิธีการแปลธรณีวิทยาหลุมเจาะ bore hole electrical logging
ผมเป็นนักธรณีวิทยา วันนี้เสนอตอน วิธีการแปลธรณีวิทยาหลุมเจาะ bore hole electrical logging
คิดว่าหลายท่านไม่รู้จักชื่อเรื่องตามหัวข้อนี้ ให้ดูกร๊าฟด้านล่างนี้ไปก่อน นะครับ
เป็นกร๊าฟที่บันทึกได้จากเครื่องหยั่งธรณี logging machine ที่เมืองไทยยังผลิตเองไม่ได้ คือเมื่อเขาเจาะหลุมดินลงไปในชั้นน้ำบาดาล/แบบเปลือยๆ/ที่เรียกว่า pilot hole ผ่านชั้นกรวด ทราย ดินเหนียว หรือ ชั้นหิน บางชั้นมีน้ำรสจืด กร่อย และ เค็ม จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดชนิดนี้เป็นตัวช่วยตรวจวัดเพื่อเลือกชั้นน้ำที่ต้องการ หลายครั้งเลือกเอาชั้นน้ำเค็ม เช่น บ่อเกลือ ทำนาเกลือ แต่บ่อยครั้งเลือกหาชั้นน้ำจืด หรือ น้ำแร่
Bore hole electrical logging มีประโยชน์มากสำหรับการออกแบบก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลใน กทม.และ ปริมณฑล เพราะมีชั้นน้ำจืดและชั้นน้ำเค็ม/สลับกันอยู่หลายๆชั้น ตั้งแต่ระดับผิวดินไปถึงความลึกร่วม 1,000 เมตร ชั้นน้ำบาดาล มีทั้งจืด กร่อย เค็ม หรือ คุณภาพดีระดับน้ำแร่ จึงมีความจำเป็นต้องเลือกให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ พลาดไม่ได้ นะครับ พลาด คือ พัง
Bore hole electrical logging ยังเป็นตัวช่วย /มีประโยชน์ในการคัดเลือกชั้นดิน ชั้นกรวด ชั้นทราย และชั้นหินแข็ง เพื่อ ออกแบบความลึกของเสาเข็มได้ด้วย
กร๊าฟที่ท่านเห็นด้านล่าง เรามักเรียกกันติดปากว่า logging - บ่อบาดาล ซึ่งต่อไปนี้ผมก็จะเรียกสั้นๆตามนี้ นะครับ / มีเส้นกร๊าฟ 5 เส้น 5 สีด้านบนคือระดับผิวดิน ด้านล่างคือระดับความลึก หน่วยเป็น เมตร หรือ ฟุต ตรงกลาง สมมุติว่า คือ หลุมเจาะ กร๊าฟแต่ละเส้นแยกสีกัน มี scale รายละเอียดของแต่ละเส้นสี ช่วยให้นักอุทกธรณีวิทยา อธิบายแยกแยะคุณสมบัติของชั้นดิน ชั้น กรวด ทรา และชั้นน้ำบาดาล ชึ่งผมจะเล่าสู่ฟังในตอนต่อๆไป
ผม ขอบูชาครูในเรื่องนี้/ให้กับท่านอาจารย์เจริญ เพียรเจริญ อดีตผู้อำนวยการกองน้ำบาดาล และ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เพราะกร๊าฟจากหลุมเจาะบ่อน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เจาะโดยทางราชการ ต้องนำมาให้ท่านแปลและออกแบบก่อสร้างเป็นบ่อน้ำบาดาล
ท่านผู้นี้สร้างคุณความดีไว้ในวงการน้ำบาดาลไทย นานนับประการ ท่านเขียน พ.ร.บ. น้ำบาดาล ฉบับแรก พ.ศ. 251? เขียนร่างต้นแบบ/มากับมือ คนในวงการน้ำบาดาล นับถือท่านผู้นี้ สูงมาก
ที่สำคัญ ขอเสริมนิด นะครับว่า กระดาษ logging เกือบทุกบ่อที่เจาะใน กทม.และปริมณทล ท่านแปลฯผมอยู่ด้วย ส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นม้าไว ผมจึงได้ซึมซับเทคนิควิชาการแปล logging จากท่านเป็นครั้งแรกในชีวิต
ท่านที่สอง คือ Mr. Mitsuo Yamada แห่งบริษัท Siam Tone ที่นี่มีอุปกรณ์ด้านงานเจาะและพัฒนาบ่อน้ำดาล ครบทุกสาระบบ รวมทั้ง E logging นี้ด้วย ผมได้รับมอบหมายจาก คุณยามาดา ให้มีทำหน้าที่ เป็นทั้ง operator และ ผู้แปล ร่วมกัน / เพราะเรามี logging machine เป็นของเราเอง กว่า 20 ปีที่คลุกคลีอยู่กับงาน สำรวจและเจาะน้ำบาดาลฯบ่อใหญ่ๆ มีจำนวน เกินกว่า 500 บ่อ ทั้งไทย/เทศ
ท่านที่สามคือ นายณัฐวุฒิ อยู่สมบูรณ์ อดีต ผู้อำนวยการสำนักงานน้ำบาดาล กรมโยธาธิการ ผมชอบท่าน/เพราะท่านใจถึงจริงๆที่ชื้อเครื่อง logger ยี่ห้อ Auslog และผมได้มีโอกาสร่วมงานกับท่านเยอะมาก ที่สำคัญท่านผลักดันให้มี งานเจาะบ่อน้ำบาดาลเกิดขึ้นครั้งแรกในกรมฯโยธาธิการ/ เจริญรุดหน้าเร็วมากด้วย
ทั้งสามท่านที่กล่าวมา เสียดายไม่มีรูป รับปากไว้ก่อนว่า/คราวต่อไป จะนำรูปท่านเหล่านี้มาให้ได้รับชม
พบกันใหม่ ในตอนต่อไป อย่าเพิ่งเบื่อกัน นะครับ
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/jade.julawong.5
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ เจตต์ จุลวงษ์ (Jade Julawong) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------