Pol อุบลราชธานี เสาเฉลียงยักษ์ อ.โพธิ์ไทร
เสาเฉลียงยักษ์ อ.โพธิ์ไทร อุบล แท่งหินยักษ์คู่ที่สูงตะหง่าน ปฏิมากรรมจากการสึกกร่อนผุพังตามโครงสร้างรอยแตกของหินทรายปนกรวด หมวดหินภูพาน กรมทรัพย์กำหนดให้เป็นแหล่งธรณีวิทยา มีป้ายอธิบายการเกิด ในแหล่งอุทยานผาชัน-สามพันโบก เลยเอารูปมาอวดครับ ใครผ่านมาก็แวะเที่ยวกันนะครับ รับรองไม่ผิดหวัง
มีโครงสร้างหินชั้นที่น่าสนใจหลายอย่างครับทั้ง sand dike, trough x-bedding มีกรวดเรียงตามชั้นเฉียงระดับด้วย บ่งว่ากระแสน้ำที่พัดพาตะกอนมีพลังมาก!! โครงสร้างรอยแตก ที่น่าสนใจคือ paleocurrent direction ของหมวดหินภูพาน ไม่ว่าจะที่เขาพระวิหาร อุบล สกลนคร หนองคาย และอีกหลายที่ ต่างก็ไหลไปทิศ W, SW มันบอกถึงตอนเกิดมีธารน้ำเป็นร้อยๆสาย มันไม่ใช่ fluvial river system แน่นอน ฟันธง!!
กระบวนการ liquedfraction ทำให้ทรายในชั้นน้ำทะลักพุ่งทะลุขึ้นมา ก็เชื่อกันว่าเป็นผลจากแผ่นดินไหว คราวที่เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงราย ก็มีทรายปนน้ำทะลักออกจากปาดบ่
cross bedding พบได้ทั่วไปในหมวดหินภูพาน และแสดงลักษณะทางน้ำโบราณไหลไปทาง W, SW ตรงหัวฆ้อน กรวดเรียงตัวตามชั้นเฉียงระดับด้วย อู้ฮู! กระแสน้ำคงแรงน่าดู กรวดส่วนใหญ่เป็นพวก quartz ในเนื้อหินทรายก็มีแร่ quartz แยะด้วย เอารูปกรวดมาให้ดูด้วย เป็นลักษณะเด่นเหมือนกันนะเนี่ย!!
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/chaodumrong
ทั้งหมดและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ พล เชาว์ดำรง (Pol chaodumrong) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------------------------------