iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Pol Mid-Cretaceous event ไม่ใช่ regional or major unconformity 

 
 
 
 
แผนที่ประกอบ

Mid-Cretaceous event ไม่ใช่ regional or major unconformity จึงใช้แยก Maha Sarakham and Phu Tok Fms ออกจาก Khorat Group ไม่ได้

เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงธรณีวิทยาประเทศไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ก็ใช้เวทีนี้ให้ข้อมูลครับ (เพราะโอกาสจะพูดซ้ำอีกคงน้อย 555)

ในที่ประชุมอภิปรายมาตรฐานการลำดับชั้นหินหมวดหินภูทอกและหมวดหินมหาสารคาม เมื่อบ่าย 20 สค 67 โดยมีนักธรณีวิทยาอาวุโส เช่น ดร.นเรศ สัตยารักษ์ คุณเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ร่วมประชุมด้วย ผมได้แสดงข้อมูลแย้งว่า “Mid-Cretaceous Event” หรือ unconformity ตามรูป 9.3 ของ Booth &Sattayarak (2011) ที่ใช้เป็น boundary ระหว่างหมวดหินโคกกรวดกับหมวดหินมหาสารคาม และใช้เป็นหลักฐานแยกหมวดหินมหาสารคามและหมวดหินภูทอกออกจากกลุ่มหินโคราชนั้นไม่ถูกต้องผิดพลาดและไม่ตามหลักวิชาการ

ผมมีหลักฐานสนับสนุนหลายอย่าง คือ 1) ผู้เขียนระบุเองว่าไม่พบหลักฐานที่ใช้ยืนยัน (หน้า 217) 2) ไม่เคยมีผู้ใดพบรอยชั้นไม่ต่อเนื่องดังกล่าวบนผิวดิน 3) อายุของหมวดหินโคกกรวด (Aptian) และหมวดหินมหาสารคาม (Albian) ก็ต่อเนื่องกัน ขัดแย้งชัดเจนกับการแปลเป็น major unconformity 4) ขัดกับหลักทาง Sedimentology 5) ในหนังสือธรณีวิทยาประเทศไทยก็ระบุว่า “ช่วงบนของลำดับชั้นหินจะมียิปซั่มเป็นชั้นบางๆ หรือเป็นกระเปาะในหินทรายหรือหินทรายแป้ง” ข้อความนี้เป็นหลักฐานบ่งถึงการสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง (กรมทรัพย์, 2550, p173) เมื่อพิจารณาตามหลักฐานทางวิชาการข้างต้น และตามกติกาในคู่มือการลำดับชั้นหินของประเทศไทย (หน้า 18 ข้อ 5.4.3) และมาตรฐานสากล Murphy&Salvador (1999. p260, D3) แล้ว สรุปได้ว่าหมวดหินมหาสารคามและหมวดหินภูทอกจึงยังคงเป็นหมวดหินในกลุ่มหินโคราช


-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward