Waiyapot ep022 Banded Iron Formation (BIF) การเกิดแหล่งแร่เหล็กแบบหินชั้น
EP 22 Banded Iron Formation (BIF) การเกิดแหล่งแร่เหล็กแบบหินชั้น
เมื่อ 3 พันล้านปีมาแล้ว Photosynthesizing cyanobacteria (สาหร่ายสีน้ำเงิน) ที่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในทะเลตื้น ผลิต ก๊าซ ออกซิเจน เริ่มแรกก็ซึมอยู่ในน้ำสมุทร ต่อมาเมื่อเกิดแผ่นดินและทะเลตื้นมากขึ้น ก๊าซ ออกซิเจนเกิดขึ้นจำนวนมาก จนสามารถแทรกซึมเข้าไปในชั้นบรรยากาศโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้อนุมูลเหล็กที่ผสมอยู่ในน้ำสมุทร ตกตะกอน เป็นเหล็กออกไซด์ สีน้ำตาลแดง (hematite, Fe2O3) และถ้ามี ออกซิเจนมากก็จะเป็นแร่ สีดำ (magnetite, Fe3O4) บางครั้งพบเหล็กคาร์บอเนต (siderite และankerite) เกิดร่วมอยู่ด้วย ตกไปสะสมตัวในท้องสมุทร เปรียบเสมือน ชั้นตะกอนชั้นหนึ่งของชุดหิน เรียกว่า Banded Iron Formation (BIF) แหล่งแร่แบบนี้มีความหนาหลายร้อยเมตรและต่อเนื่องด้านข้างหลายร้อยกิโลเมตร คลุมพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร แต่ละแหล่งมีปริมาณสำรองหลายพันล้านตันที่เกรดเฉลี่ย มากกว่า 30%Fe คิดเป็น 60% ของปริมาณสำรองแร่เหล็กโลก ปรากฏอยู่ในพื้นที่หินเก่า (continental shields ) ทุกที่ และมีอายุตั้งแต่ Archean ถึง Neoproterozoic (3800-700 My) มีชื่อเรียกทางแหล่งแร่อีกแบบว่า Lake Superior Iron Formation deposits
Fig 22.1 Banded Iron Formation
(https://www.youtube.com/watch?v=NQ4CUw9RcuA
(The Whole History of the Earth and Life (Finished Edition))
Fig 22.2 Banded Iron Formation
(https://en.wikipedia.org/wiki/Banded_iron_formation)
.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล-------------------------------------------------