Waiyapot ep034 The Proterozoic Eon บรมยุค Proterozoic
Fig. 34.1 The imagination landscape of Proterozoic Eon
34 The Proterozoic Eon บรมยุค Proterozoic ชื่อมาจากภาษากรีก protero- ="former, earlier", และ zoic= "of life" จัดเป็นบรมยุคที่ยาวนานที่สุด ใน geologic time scale จาก 2,500 – 538.8 My. ครอบคลุมเวลาถึง 1961 My.
แบ่งย่อยได้เป็น 3 ระยะ จากแก่สุดไปอ่อนสุด ได้แก่ Paleoproterozoic Era, Mesoproterozoic Era, และ Neoproterozoic Era, เป็นบรมยุคที่เริ่มต้นด้วยการที่มีแผ่นดินเดียวคือมหาทวีป Kenorland (Arctica) และเริ่มมีออกซิเจน (oxygen) ในบรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากโลกบรมยุค Archean ได้แก่
1. ช่วงเวลานี้โลกหมุนรอบตัวเองช้าลงกว่าในยุค Hadean (6 hr/day) และ Archean (12 hr/day) หนึ่งวันมี 20 ชั่วโมง และหมุนรอบดวงอาทิตย์ช้ากว่าปัจจุบัน หรือวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีอาจจะกว้างกว่าปัจจุบัน ทำให้หนึ่งปี มี 450 วัน
2. บรรยากาศเป็นบรรยากาศที่มี oxygen น้ำทะเลเป็นสีคราม ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า อุณหภูมิอาจจะสูงกว่าปัจจุบันเล็กน้อย (30 oC) ภูมิอากาศ และความดันอากาศไกล้เคียงกับโลกปัจจุบัน
3. มีทะเลตื้นเกิดขึ้นมากมาย (ตื้นกว่า 1 กม.) กว่าสมัย Archean ที่ทะเลส่วนใหญ่เป็นทะเลลึก (ลึกกว่า 1 กม.) เนื่องจากเกิดแผ่นดินผลุดขึ้นมามาก เป็นผลให้เกิด cyanobacteria ที่ผลิต oxygen เกิดขึ้นมากมาย เกิดหินชั้นที่เกิดในทะเลตื้น (shallow marine) และตะกอนที่เกิดบนบก (continental sediments) จำนวนมาก
4. มีแผ่นดินเกิดขึ้นมากกว่าสมัย Archean มาก ทวีปเกือบทั้งหมดในปัจจุบันเริ่มเกิดขึ้นในบรมยุคนี้ แผ่นดินทั้งหมดมีการเคลื่อนตัว ตามทฤษฎี plate tectonic เกิด subduction และorogeny ขึ้นมากมาย เกิดมหาทวีป(แผ่นดินต่อกันเป็นแผ่นดินเดียว) (supercontinent) หลายครั้ง มีแหล่งแร่ขนาดใหญ่เกิดขึ้นมากที่สุด มีการประทุของหิน granitoid เกิดขึ้นทั่วโลก
5. สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีวิวัฒนาการทำให้มีอวัยวะต่างๆ ซับซ้อนขึ้น ในช่วงแรกการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตช้ามากจนนัก paleontologists เรียกช่วงเวลา Mesoproterozoic Era ถึง Neoproterozoic Era ตอนต้น ว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าเบื่อ (The Boring Billion) หรือ the Mid Proterozoic หรือ Earth's Middle Ages, หรือ Baren Billion ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง 1.8 และ 0.8 Ga. ระยะเวลา 1,000 Ma. หลังจากนั้นมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอย่างรวดเร็ว
6. เกิดยุคน้ำแข็งขึ้นหลายครั้ง ถึงระดับเป็นน้ำแข็งทั้งโลก (snowball earth) 2 ครั้ง
Fig. 34.2 Timeline of Life, ice age, supercontinents
Fig. 34.3 Features of Proterozoic
Fig34.4 Geologic Time Scale.jpg
Fig. 34.5 Map of Paleo Proterozoic
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------