Waiyapot ep036 Huronian Ice Age and The Snowball Earth การเกิดยุคน้ำแข็ง Huronian และโลกเป็นลูกบอลหิมะ
Fig. 36.1 Timeline of Huronian Ice Age
EP 36 Huronian Ice Age and The Snowball Earth การเกิดยุคน้ำแข็ง Huronian และโลกเป็นลูกบอลหิมะ
เกิดขึ้นระหว่าง 2.5-2.2 Ga. ใช้เวลา 300 ล้านปี ตั้งชื่อ Huronian ice age โดย Arthur Philemon Coleman เมื่อปี 1907 ตามชื่อของชุดหินชั้นที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง (diamictites) ทางตอนเหนือของทะเลสาบ Huron ในแคนาดา
ชุด Huronian Supergroup พบชั้นหิน diamictites 3 ชุดได้แก่ Ramsay, Bruce, and Gowganda Formations แสดงว่า มีการเกิด glaciation หลายครั้ง แสดงว่าการเกิดยุคน้ำแข็งไม่ได้เกิดอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเกิด 3 ครั้งในห้วงเวลา 300 Ma.
นอกจากนี้ยังพบชุดหินชั้นที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง (diamictites) ในหิน Paleo Proterozoic Eon อีกหลายบริเวณได้แก่ The Gondwana Formation (2.3 Gya), Michigan (2.23–2.15 Gya), the Black Hills (2.6–1.6 Gya), Chibougamau, Canadian Northern Territories (2.1 Gya) and Wyoming (2.1 Gya) the Griquatown Basin (2.3 Gya), India (1.8 Gya) and Australia (2.5—2.0 Gya) แสดงว่าพบ glaciation ในเกือบทุกทวีปที่เกิดในห้วงเวลานี้
จากข้อมูล paleo magnetic พบว่ามีความแปรปรวนของสนามแม่เหล็กโลกในห้วงเวลานั้น และพบว่าหินธารน้ำแข็งปรากฏในพื้นที่ low latitude ใกล้ศูนย์สูตรแสดงว่าเป็นธารน้ำแข็งทั้งโลก จึงเรียกยุคนี้ว่า The Snowball Earth
สาเหตุของการเกิด Snowball Earth มีหลายทฤษฎี ดังนี้
1. การเกิด Great Oxidation Event (GOE) ทำให้ บรรยากาศมีออกซิเจน O2 จะทำปฎิกริยากับ มีเทน ได้ CO2 และน้ำ ละอองน้ำจำนวนมากในบรรยากาศก่อเป็นเมฆ หมอกปกคลุมโลกทั้งหมด แสงแดดส่องถึงพื้นได้น้อย ทำให้เกิดสภาวะ icehouse effect อุณหภูมิของผิวโลกลดต่ำจนกลายเป็นน้ำแข็ง
2. เกิดการแปรปรวนของรังสี cosmic จากจักรวาล ที่อาจจะเกิด supernova ที่ใดที่หนึ่ง ทำให้ รังสี cosmic บนผิวโลกมีความเข้มข้นมากขึ้น รังสี cosmic ประพฤติตัวเหมือน microwave ที่ทำให้น้ำร้อนแต่อากาศไม่ร้อน ทำให้น้ำสมุทรจำนวนมากระเหยขึ้นสู่บรรยากาศกลายเป็นหมอก เมฆ บดบังแสงแดดที่จะส่องถึงผิวโลก เกิดสภาวะ icehouse effect อุณหภูมิของผิวโลกลดต่ำจนกลายเป็นน้ำแข็ง
3. เกิดความแปรปรวนของสนามแม่เหล็กเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของเหลวใน outer core ทำให้ขั้วแม่เหล็กโลกมี 4 ขั้ว สนามแม่เหล็กโลกกำลังอ่อนลงมีความสามารถป้องกันรังสี cosmic จากอวกาศ น้อยลง ทำให้ให้ รังสี cosmic บนผิวโลกมีความเข้มข้นมากขึ้น ทำให้น้ำสมุทรจำนวนมากระเหยขึ้นสู่บรรยากาศกลายเป็นหมอก เมฆ บดบังแสงแดดที่จะส่องถึงผิวโลก จนเกิดสภาวะ icehouse effect อุณหภูมิของผิวโลกลดต่ำจนกลายเป็นน้ำแข็ง
สาเหตุของการสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง
อาจะเกิดจากการแตกตัวของ supercontinent Kenorland ทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟตามแนว subduction zone จำนวนมาก มีก๊าซจากภูเขาไฟจำนวนมากประทุขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ เป็น greenhouse gas ทำให้ผิวโลกอุ่นขึ้นจนน้ำแข็งละลาย
Fig. 36.2 Quadrupole Geo Magnetic Fields of Proterozoic Eon
Fig. 36.3 Huronian Snowball
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล-------------------------------------------------