iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Waiyapot ep054 Geology of Proterozoic Eon ธรณีวิทยาของบรมยุค Proterozoic

 

Fig 54 Schematic Model of supracrustal rock associations developed in mid to late Proterozoic intracratonic basins.
EP. 54 Geology of Proterozoic Eon ธรณีวิทยาของบรมยุค Proterozoic บรมยุค Proterozoic อยู่ระหว่างช่วงเวลา 25- 0.541 Ma. ครอบคลุมห้วงเวลาที่ยาวนานถึง 19.5 พันล้านปี เกิดขึ้นตั้งแต่บรรยากาศโลกไม่มีออกซิเจน(anoxic) จนเป็นบรรยากาศที่มีออกซิเจน (oxic) ท้องฟ้าสีแสดแดงเปลี่ยนเป็นฟ้าคราม น้ำสมุทรมีสีเขียวมีธาตุเหล็กปนอยู่มาก เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน มีทวีป (continental crust) ผลุดขึ้นมามาก ทวีปมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา เกิดการรวมตัวของแผ่นดินเป็นแผ่นดินเดียว (super continents) ถึง 3 ครั้ง เกิดการประทุขึ้นมาของหิน granitoids ที่ทำให้เกิด continental crust เพิ่มขึ้นและเป็นต้นกำเนิด hydrothermal ที่เป็นรากฐานของแหล่งแร่ต่าง ๆ จำนวนมาก ในห้วงเวลานี้การวิวัฒนาการของชีวิตเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้าจน paleontologists ขนานนามให้ว่าเป็นพันล้านปีที่น่าเบื่อ (boring billion) แต่ในทางแหล่งแร่ถือเป็น exciting billion ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีอย่างมากมาย เกิดแหล่งแร่ระดับยักษ์ (giant deposits) จำนวนมาก
 
ในสมัยนั้นพื้นที่ทวีปยังมีน้อย หินพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินแปรชนิด green schists ที่ประกอบเป็น green stone belts ต่าง ๆ ที่ แปรเปลี่ยนมาจากหิน basalts มีการประทุขึ้นมาของหิน A type granite ในบริเวณ rift valleys ที่ค่อย ๆ แยกแผ่นดินออกเป็น ทะเล และมหาสมุทร มีการสะสมตัวของหินชั้นบริเวณพื้นทะเลภายใน และพื้นทะเลที่เป็นขอบทวีป จากตะกอนทะเลตื้น เป็นตะกอนลาดไหล่ทวีป จนถึงน้ำทะเลลึก เกิด subduction zone มีการหลอมตัว ของ lithosphere เป็นหินแกรนิต I type, S type, และ H type, .ในพื้นที่ที่เป็น island arc เกิดภูเขาไฟ และหินภูเขาไฟ ขึ้น ในช่วงเวลายบรมยุคนี้มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นหลายครั้ง มีหินตะกอน diamictite ที่เป็นหินตะกอนเกิดจากธารน้ำแข็งเกิดขึ้นด้วย ในห้วงเวลานั้นพื้นโลกไม่มีต้นไม้ปกคลุม การผุกร่อน และการพังทลายของหิน (weathering and erosion) เกิดขึ้นสูงเนื่องจากพายุฝนรุนแรงและเป็นฝนกรด ทำให้พัฒนาการของหินชั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว Laznicka, P (1991, 1996) ได้จินตนาการการสะสมตัวของหินชั้น ต่าง ๆ ใน intracratonic basin คือพื้นที่ที่เป็น rifting Zone
 
 
 

Fig. 54.2 Supercontinent Columbia and Rodinia of Mid-late Proterozoic Eon
 
 

 

ที่มา

https://www.facebook.com/weerasak.phomthong

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward